Docchula Community

จุฬาฯ กับ ศิริราช ต่างกันยังไง ขอความเห็นจากพี่ที่จุฬาฯ(ไม่ต้องการล่อเป้านะครับ)

Offline fame mdcu64

  • *
  • 106
  • 24
    • facebook
จุฬา ไม่ต้องเรียนแคล ไม่ต้องเรียนไทยสังคม ไม่ต้องตัวดำ เดินทางสะดวก เจอเพื่อนคณะอื่น แหล่งบันเทิงมากมาย 55

แค่ปี1 ละน้อง

Offline fame mdcu64

  • *
  • 106
  • 24
    • facebook
ถ้าการเรียนเป็นเรื่องที่เปรียบเทียบกันได้ยาก เนื่องจากไม่มีใครเคยเรียนทั้งสองสถาบัน

ลองเปรียบเทียบ ความน่าอยู่น่าเรียนก็ได้นะครับ  เช่นลองเปรียบเทียบหอพักนิสิตแพทย์ของจุฬา ห้องสมุด สนามกีฬาต่างๆ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ

เทียบกับหอพักของศิริราชดู

จะเห็นภาพรวมว่าคณะแคร์ความเป็นอยู่ ความรู้สึกของนักเรียนยังไง และน่าจะสะท้อนไปถึงคุณภาพด้านอื่นได้เป็นอย่างดี

เรื่องพวกนี้ พี่แนะนำให้ ต้องไปดูด้วยตัวเองถึงจะรู้ครับ
ลองเดินนานๆเลย ให้เวลาทั้งวันไปเลย จะได้รู้ความรู้สึก ซึมซับบรรยากาศจริงๆของนักเรียนไปเลย

ทำเหมือนที่อเมริกาเลย ฮ่าๆ    ก่อนที่นักเรียนจะเข้ามหาลัยก็ต้องลองเข้าไปเดินดูบรรยากาศภายในมหาลัยก่อนว่าชอบไหม
รับได้กับ facility ต่างๆไหม ลองถามนักเรียนที่เรียนที่นั้นว่ารู้สึกยังไง


ปล. ผมอิจฉาหอพัก+ห้องสมุดที่ศิริราช, Life style ที่รามา แต่ก็ชอบ Academic intense ของจุฬาหลังปรับตัวได้

Offline DanTrolene~*

  • สมาชิกอัครอมตะอภิมหาบรมดุษฎีกิตติมศักดิ์ทั่วหล้าประจักษ์ทุกแห่งหนสาธุชนเลื่องลือนามระ
  • *
  • 4671
  • 123
เดินทางสะดวก ขึ้นรถไฟฟ้าหนีรถติดได้ มีแหล่งบันเทิง พารากอน สยาม สีลม ฯลฯ เยอะ

ตอนแรกก่อนเข้า ได้ยินมาว่าไม่ต้องเรียนไทย สังคม และมีระบบวิชาเลือก ให้เรียนอะไรก็ได้ในคณะตามที่ชอบ เลยสนใจครับ

เข้ามาแล้ว บรรยากาศ บุคลากร ทั้งรุ่นพี่ อาจารย์ ก็อบอุ่นดีครับ

แต่ที่ไม่ประทับใจคือหลักสูตรเช่นกัน

และเรียนที่นี่ มีงานบังคับว่าต้องทำ PortFolio ไปตลอด 6 ปี (ซึ่งเป็นงานที่เสียเวลา และไร้สาระอย่างมาก)

อยากให้น้องได้ลองถามจากรุ่นพี่ที่รู้จักก่อน ว่าสิ่งนี้มันเป็นยังไง ก่อนที่จะเข้าคณะนี้ครับ

Offline Nutmed

  • *
  • 184
  • 9
พี่ว่าต่างกันที่บรรยากาศในการเรียนบวกกับสถานที่
ส่วนตัวพี่ว่าชื่อเสียงแนวแพทย์เค้าดูดีกว่านะ จุฬาติดฟังดูหมอไฮโซ แต่ไม่เกี่ยวกับความสามารถนะ
แต่พี่ชอบบรรยากาศที่จุฬากว่าเยอะเลย
อย่างน้อยมันก็มีต้นไม้บ้าง มีคณะอื่น มีอาหารตาอาหารใจ555
ศิริราชพี่ไปเดินมาพี่รู้สึกอึดอัดน่ะ ตึกกับคนแน่นไปหมด

บรรยากาศสำคัญนะน้อง เรียนหนักอย่างน้อยก็มีที่พักสมอง

Offline R.Jate

  • *
  • 97
  • 41
ขอชมผู้ตั้งกระทู้นะครับ ตั้งแต่หัวข้อกระทู้ที่พิมพ์ จุฬาฯ มี "ฯ" ด้วย ถ้า จขกท มีความต้องการเข้าจุฬาฯ ก็ขอให้สมปรารถนานะครับ แพทย์จุฬาฯมีอะไรที่ดี ที่จะทำให้เป็นแพทย์มากกว่าจะเป็น ผู้รักษาคนหนึ่งๆครับ

ประเด็นเรื่องหลักสูตร ผมว่ามันแล้วแต่ที่นะครับว่าจะมีจุดประสงค์อย่างไร และที่สำคัญว่า ไม่มีที่ไหนเรียนหนักหรือเรียนสบายกว่าอีกที่หรอกครับ การเรียนหมอ "หนัก"เหมือนกันทุกที่แต่แล้วแต่จุดเน้นของสถาบันมากกว่า อย่างเช่น ของจุฬาฯเรานั้นจะเน้น ที่ให้นิสิตได้คิด ค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อเป็น life long learner ซึ่งในวิชาชีพแพทย์จะต้องเรียนรู้แบบนี้ไปตลอด หรือหลักสูตรเรามีวิชาเลือตอนปี 1 ที่เปิดโอกาสให้เรียนอะไรที่ชอบซึ่งจะได้เรียนรู้อะไรที่อยากเรียนและหลากหลาย และ ตอนปี3 มีselective ให้ได้ไปศึกษาอะไรก็ได้ที่สนใจที่เกี่ยวกับการแพทย์ จะในหรือนอกคณะหรือต่างประเทศก็ได้แล้วแต่จะติดต่อได้ หลายคนก็เรียนเกี่ยวกับ นวัตกรรมใหม่ๆทางการแพทย์เพื่อเสริมในสิ่งที่อาจจะไม่ได้เรียนในวิชาหลัก เช่นการแปลผลในห้องปฏิบัติการ วิชาการทำวิจัยทางการแพทย์ (ลองนึกดูเป็นโอกาสดีแค่ไหนที่ได้ลองทำวิจัยหรือสังเสตการตั้งแต่ตอนอายุแค่ 20) อย่างผมเองก็เลือกศึกษานอกคณะจากการที่คณะก็เปิดโอกาสให้เลือกนอกคณะได้  ผมก็ไปดูงานเกี่ยวกับระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย ที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีแบบนี้ก็มีแต่หลักสูตรแพทย์จุฬาฯเท่านั้นที่มีโอกาสครับ

จุฬาฯของเรามีข้อดีในความหลายหลาย ของการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคณะที่มีความเป็นเลิศของประเทศทุกคณะ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาที่จุฬาฯ ถ้ามีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับ ผู้อื่นต่างคณะก็จะมีโอกาส ได้เปิดมุมมองนอกวิชาชีพอื่นๆ ซึ่ง การเป็นแพทย์ยังไง ก็ต้องประสานงานกับวิชาชีพอื่นในอนาคต ทั้งแพทย์ที่อยู่ในเมือง และโดยเฉพาะสำคัญมากสำหรับแพทย์ที่จะต้องไปอยู่ตาม โรงพยาบาลชุมชน(รพช.) ในอนาคต แต่โอกาสที่จะพบคณะอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2 จะอยู่ในคณะซึ่งจะไม่ค่อยมีโอกาสเจอใครนอกคณะแล้ว (ซึ่งเป็นเหมือนกันทุกที่)

สำหรับข้อมูลของ ศิริราชเอง รวมถึงที่อื่นนั้น ผมพอจะทราบบ้าง แต่แนะนำว่า ถ้า จขกท ต้องการทราบจริงๆ ควรจะถามผู้ที่เรียนที่นั้นๆโดยตรงมากกว่า น่าจะได้ข้อมูลที่ชัดเจน และตรงมากกว่าครับ และในโลกการทำงานของแพทย์เท่าที่ เคยพูดคุยกับแพทย์หลายๆท่าน จบแพทย์ที่ไหนก็ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันเหมือนบางวิชาชีพที่จะมีแบ่งสีนะครับ อาจจะมีก็ถามว่า จุฬาฯรุ่นเท่าไร ศิริราชรุ่นเท่าไรบ้าง แต่ก็เห็นแพทย์หลายท่านเวลาถามก็มักถามว่า เป็นแพทย์ใช้ทุนปีอะไร วิชาชีพเราส่วนใหญ่ ยังไงก็ต้องช่วยๆกันเพราะถือว่าขาดแคลน และวัดกันที่ฝีมือมากกว่าว่าจบจากไหนครับ

ขอชี้แจงกับแนวคิดที่ว่า "แพทย์จุฬาฯติดคุณหนูติดไฮโซ" คำพูดนี้ในความเห็นของผมนั้น คิดว่า"ถูก" แต่ "บางส่วน"เท่านั้น และด้วยคนที่มาเรียนหมอส่วนใหญ่จะมีฐานะและความพร้อมสูงในหลายๆด้านจึงไม่แปลกที่จะ คุณหนูไปบ้าง ซึ่งมีทุกคณะแพทยศาสตร์ ใน ประเทศเราครับ ดังนั้น "ไม่จำเป็น"ว่า จุฬาฯไฮโซติดคุณหนูครับ
ผมอยากให้มองจุดเน้นของแต่ละสถาบันมากกว่า เช่นศิิริราชเป็น รร.แพทย์เก่าแก่ มีแพทย์จบจากสถาบันแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตอนนี้รู้สึกจะรุ่น 120ได้แล้วนะครับ ในแพทยสภา ในกระทรวงมีแพทย์ศิริราชเยอะ ศิริราชก็จะมีวัฒนธรรมองค์กรแบบศิริราช ซึ่งดีในแบบของแต่ละที่ ของจุฬาฯนั้น ถ้าจะเปรียบก็ถือว่าใหม่กว่า (ปัจจุบันรุ่น 66) แต่การใหม่ของเราก็มีจุดเน้นที่แตกต่าง แพทย์จุฬาฯที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเราเกิดมาทีหลัง(แต่เดิมครั้งโบราณกาล ศิริราชสังกัด จุฬาฯครับ) ดังนั้นก็จะเหมือนวัยรุ่นตอนปลาย ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีแนวความคิดก้าวหน้า เท่าที่ทราบมา ในกระทรวงแพทย์ยุคใหม่ที่ทำงานในฐานะแพทย์ หรือผู้บริหารยุคใหม่ของกระทรวงที่เป็นผู้บริหารระดับกลาง มีแพทย์จุฬาฯเป็นจำนวนมากนะครับ และอยากให้มองความสำเร็จอีกด้าน ปัจจุบันงานวิจัยทางการแพทย์ในไทยนั้น จุฬาฯเรามีความเป็นเลิศนะครับ มีสัดส่วนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารชั้นนำสูงมาก น่าจะเป็นอันดับ 1 เช่น ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา จขกท ลองsearch ใน google ได้นะครับ งานอาจารย์วิจัยเยอะมากเช่นตีพิมพ์ใน NEJM (วารสารอายุรศาสตร์ระดับโลก) Lancet ฯลฯ ท่านเป็นแพทย์จุฬาฯ และ อาจารย์ของเราด้วย แพทย์ที่เป็นผู้บริหารรพ.ชั้นนำทั้งในภาครัฐ อาจรวมถึงเอกชนชั้นนำ 2 อันดับแรก ก็เป็นแพทย์จุฬาฯนะครับ พี่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลพวงจาก หลักสูตรที่สอนให้คิด ของคณะแพทย์ ของเราครับ ดังนั้นขอเปลี่ยนจาก "แพทย์จุฬาฯติดไฮโซคุณหนู" เป็นแพทย์จุฬาฯติดไฮโซก็จริง แต่เป็น "แพทย์จุฬาฯติดไฮโซทางด้านความก้าวหน้า และการบริหาร รวมถึงการรักษา" นะครับ นอกจากนี้วงการการเมืองก็มีแพทย์จุฬาฯเป็นรัฐมนตรี เป็น สส. ก็มีนะครับ (ที่กล่าวนี้ไม่ได้จะบอกให้แพทย์ไปเป็นนักการเมืองนะครับ เพียงแค่ต้องการยกตัวอย่างให้เห็นถึงความหลากหลายของความเป็นแพทย์จุฬาฯ

กิจกรรมในคณะ และ ในจุฬาฯ มีเยอะมาก บรรยายไม่หมดครับ

ทางกายภาพของจุฬาฯก็มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เยอะ (แต่อย่าโดดเรียนไปเที่ยวนะครับ) เรากำลังมี อาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ อาคาร"ภูมิสิริมังคลานุสรณ์" รพ.ได้ลงทุนเป็น หมื่นล้าน เพื่อเป็น เสาหลักของการรักษาพยาบาล ของประเทศ ซึ่ง นับว่าจุฬาฯเรามีความพร้อมมากครับ แต่ช่วงนี้ อาจมีความแออัดอยู่บ้าง 1 ชั้นปีมีถึง 300คน มากสุดในบรรดาคณะแพทย์ในไทย สืบเนื่องจากนโยบายเร่งผลิตแพทย์ ซึ่งก็อาจเป็นปัญหาอยู่บางแต่ ผมก็เชื่อว่าซักระยะหนึ่งนะครับน่าจะลงตัวขึ้น

ข้อมูลก็ให้ตามนี้นะครับ หวังว่าคงมีประโยชน์ มีข้อสงสัย ???เพิ่มเติมก็ post ทิ้งไว้ได้นะครับ



« Last Edit: February 09, 2011, 02:46:13 pm by R.Jate »

Offline InwAssist

  • *
  • 157
  • 10
  • Torque = work เพราะTorque = เเรง x ระยะทาง -*-
จุฬาอยู่ใกล้สามย่าน ไปดอทได้ง่าย

ศิริราชไปดอทสะดวกได้เเค่ตอนปี 1 เพราะที่ศาลายามีร้านเกมเยอะ
เเตพอขึ้นปี 2 ถึงปี 6 หาร้านยากต้องยกคอมไปเอง
APEM 5-5 out dog na sad 55555+

Offline napod

  • *
  • 519
  • 55
ต้องขอโทดด้วยที่ตอนนั้นบอกแค่"หลักสูตร"เฉยๆ ไม่ได้specifyว่าเรื่องอะไรของหลักสูตร

จิงๆแล้วไม่ได้หมายถึงเรียนหนักไม่หนัก หรือ conceptที่อยากให้เด็กไปค้นคว้าหาความรู้เอง เพราะยังไงทุกที่ก้อเรียน"หนัก"เหมือนกัน(แต่ไม่ใช่"หนักเหมือนกัน") และ จะเปนหมอก้อต้องหาความรู้เพิ่มตลอดอยุ่แล้ว

สาขานี้มีเนื้อหาที่ต้องรู้มากมาย เวลาแค่หกปียังไงก้อเรียนได้ไม่หมด conceptที่ต้องหาความรู้เองจำเปนมาก แต่ก้อไม่ควรเอามันมาเปนข้ออ้างที่จะจัดคาบเรียนแบบนี้เยอะเกินไปจนกินเวลาคาบสอนเนื้อหา ขนาดเนื้อหาที่ต้องรู้ยังสอนได้ไม่หมดเลย (บางเรื่องก้อสอนแค่ผิวๆไม่ได้ลงลึกเพราะไม่มีเวลา) เนื้อหาที่ควรรู้หรือน่ารู้ถ้าได้เรียนก้อถือเปนโบนัสไป ตัวอย่าง เรื่องปอดบวม/pneumonia ใช้เวลาในคาบ(เรียน)อย่างน้อยหกชั่วโมง บวกกับเวลาไปอ่านเองอีกไม่รู้กี่ชั่วโมง ได้รู้อะไรกันบ้าง แต่ละกลุ่มก้อได้ไม่เหมือนกัน ถ้าจัดเปนเลคเชอร์จะได้เนื้อหาที่ต้องรู้ครบถ้วนและเนื้อหาที่ควรรู้หรือน่ารู้อีกพอสมควรภายในเวลาไม่เกินสามชั่วโมง

อีกเรื่องที่รู้สึกติดๆอยู่ตอนนี้คือ ward work เช่น เจาะน้ำตาลในเลือด, สวนปัสสาวะ, พ่นยาเด็ก, ...  หมอควรจะทำหัตถการพวกนี้ให้เปน แต่อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่งานของหมอ จะให้มาทำอยุ่ตลอดเวลามันไม่ใช่อ่ะ พี่resident(จบหมอแล้วมาเรียนต่อเฉพาะทาง)หลายคนยังบ่นเลย ต้องให้มาทำอะไรพวกนี้ตอนตีสองตีสี่ ทั้งๆที่ไม่ค่อยมีเวลานอนอยุ่แล้ว

พอก่อนละกัน portfolioยังไม่อยากเม้น แต่ที่แน่ๆคือมันไม่ใช่อย่างที่คนที่ไม่เคยเจอคิดหรอก ส่วนเรื่องไฮโซไม่ไฮโซ ไฮโซแง่ไหน หมอผู้บริหาร หมอชั้นนำ หมอนักร้อง หมอนักการเมือง หมอลี้ภัยตปท ขอไม่เม้นละกัน คงคิดเองได้ จะเอามาใช้เลือกว่าจะเข้าที่ไหนด้วยก้อได้ สุดท้ายก้ออย่าเชื่ออะไรไปซะทุกอย่าง(รวมทั้งโพสต์นี้ด้วย) เพราะบางเรื่องควรเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่บางเรื่องควรเรียนจากประสบการณ์คนอื่น
The opinions of others, whether you agree with them or not, are something you have to learn to tolerate.

Offline napod

  • *
  • 519
  • 55
ถ้าจะบอกว่าเม้นเมื่อกี้ไม่ค่อยเหมาะสม ก้อขอโทดด้วย แต่อยากจะบอกจิงๆว่า ผมทำหน้าที่mdcuมาตลอดสี่ปี ไม่เคยcriticizeเรื่องภายในเพื่อชี้ชวนให้ใครเข้า/ไม่เข้าที่ไหน แต่บางคนกลับไม่เคยทำหน้าที่ตัวเองเลย ไม่ยอมปรับปรุงสิ่งที่ควรจะทำเลย (ตื้ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ - censored)
The opinions of others, whether you agree with them or not, are something you have to learn to tolerate.

Offline DanTrolene~*

  • สมาชิกอัครอมตะอภิมหาบรมดุษฎีกิตติมศักดิ์ทั่วหล้าประจักษ์ทุกแห่งหนสาธุชนเลื่องลือนามระ
  • *
  • 4671
  • 123
เพิ่มเติมเรื่องหลักสูตรด้วยคนครับ

ในโฆษณามีการพูดแบบสวยหรูว่า ที่นี่เน้นสอนกันแบบ integration มีการบูรณาการระหว่างภาควิชา กว่าจะนัดอาจารย์แต่ละภาคมาสอนพร้อมกันนี่ทำได้ยากมาก แต่พอระดมสรรพอาจารย์มาจริง ๆ แล้ว กลับกลายเป็นมาต่างคนต่างพูดเนื้อหาของภาคตัวเอง แล้วก็ไป (เหมือนแย่งกันพูด) สุดท้ายไม่เห็นจะบูรณาการตรงไหน และรวม ๆ ชั่วโมงของทุกภาคทำให้ class เรียนหนึ่ง ๆ ยาวมาก คนฟังก็หลับไปกันครึ่งห้อง (รู้สึกตัวตื่นมาตอนไหน ก็ถือว่าได้ฟังของภาควิชานั้น) ไม่สามารถ get เนื้อหาในชั่วโมงนั้นได้ตลอดอยู่ดี

ส่วนการเน้น discussion (คล้าย ๆ ให้ผู้เรียนไปหาข้อมูล แล้วมา present หน้าห้อง เหมือนที่หลาย รร.มัธยมชอบให้ทำกัน) จนเกินไป นั้น ก็เห็นว่าเป็นการเดินผิดทาง อย่างมาก ของหลักสูตร จริงอยู่ว่าควรมีการ discussion จะได้ฝึกค้นหาข้อมูล แต่เรื่องทางการแพทย์เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่เรื่องที่ชาวบ้านทั่วไปอยากไปหาก็ไปหา ควรจะสอนเนื้อหาให้แน่น ๆ ก่อนที่จะให้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม เช่น ในปีแรก ๆ ปี 1,2 ยังไม่ค่อยรู้อะไรก็สอนกันไปก่อน ไม่ใช่ให้มา discuss กันแบบสมองโล่ง ๆ ไม่มี basic ใด ๆ คนเรียนก็งง ไม่รู้จะไปทางไหน และชั่วโมงพวกนี้ยังกินเวลาอย่างมาก เทียบกับให้อาจารย์มาสอนให้รู้เรื่องไปเลย พอมีพื้นที่จะไปต่อได้ ค่อยไป discuss กันในปีหลัง ๆ ตอนไปดูคนไข้จริง ๆ ก็ยังทัน



สุดท้าย อยากชี้ข้อเท็จจริงอย่างนึงครับ

คะแนนสอบเข้า ของคณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ในแต่ละปีนั้นสูง... สูงมาก......
กระทั่งคะแนนต่ำสุดของที่นี่ ยังสูงกว่าคะแนนสูงสุดของหลาย ๆ สถาบัน
แปลว่า เด็กนักเรียนที่เข้ามาเรียนนั้น เป็นระดับแนวหน้าของประเทศ

แต่คะแนนสอบออก (สอบ ศรว., ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา)
เป็นข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศ ที่สอบตอนจบปี 3 ปี 5 และปี 6 กลับไม่แตกต่างกับสถาบันอื่น
อยู่แค่ในขั้น average เท่านั้น

ดังนั้น
เรามี input ระดับ hi-end ---> ???? ---> แต่ output แค่ระดับกลาง ๆ

สิ่งที่อยู่ตรงกลางคืออะไร อะไรเป็นตัวแปร ไปคิดกันเอาเองแล้วกันครับ
« Last Edit: February 09, 2011, 11:22:36 pm by DaNNyBoY~* »

Offline DanTrolene~*

  • สมาชิกอัครอมตะอภิมหาบรมดุษฎีกิตติมศักดิ์ทั่วหล้าประจักษ์ทุกแห่งหนสาธุชนเลื่องลือนามระ
  • *
  • 4671
  • 123
อธิบายเรื่อง portfolio นิดนึง.... ที่ว่านิสิตหลายคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไร้สาระของหลักสูตรนี้

portfolio ในที่นี้ ไม่เหมือนสิ่งที่น้อง ๆ เคยทำกันตอนอยู่ ม.ปลาย ว่าเคยทำกิจกรรมอะไรของ รร.มาบ้าง
แต่ในที่นี้ ต้องให้มาเขียนบรรยายความดีงามของตัวเอง ว่าสิ่งที่ทำ ตรงกับความต้องการข้อไหนของหลักสูตร เป็นการฝึกการแถ ให้ตรงใจอาจารย์ ถ้าคนแถไม่เก่ง ก็ไม่ผ่าน ต้องเขียนใหม่ บางคนคนทำกิจกรรมเยอะแต่แถไม่เก่งก็ซวยไป ใครทำน้อยหรือไม่ทำ แต่มี skill การเขียนสูง ก็ผ่านสบายไป
นอกจากนี้ เวลาทำหัตการ (เจาะเลือด, ตรวจปัสสาวะ ฯลฯ) อะไร ยังต้องมาคอยให้อาจารย์ หรือรุ่นพี่ resident เซ็น ว่าฉันได้ทำนี้ ๆ ๆ แล้วนะ เหมือนเป็นการกระตุ้นให้คนขยันทำ แต่อีกนัยหนึ่ง เป็นการฝึกนิสัยทำงานเพื่อหวังผลประโยชน์ ทำงานเสร็จปุ๊บ ต้องคอยกางสมุด logbook ให้เซ็น (ซึ่งหลายครั้ง เวลาทำอะไรเยอะ ๆ ด่วน ๆ มันก็ไม่มีเวลามานั่งเขียนนั่งเซ็นกันหรอก) ทำให้ต้องมาคอยสนใจกับเรื่องจุกจิกกับงานเสมียน มากกว่าที่จะตั้งใจเรียนรู้ในหอผู้ป่วยจริง ๆ

ถ้ากดไลค์ความเห้นบนได้ คงกดเป็นพันๆรอบล่ะ

Offline Nutmed

  • *
  • 184
  • 9
ผมว่าบางเรื่องพี่ไม่ควรรีบพิมพ์ออกไปให้คนภายนอกรวมถึงน้องๆที่ยังไม่มีข้อมูลอะไรรับฟัง โดยเฉพาะข้อมูลที่ใส่อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองเข้าไปมากๆนะครับ

-เพราะอย่างport เคยมีการทำประเมินในวิชาethicปีผม ว่าที่เขียนไปนั้นแถหรือเขียนตามจริงสรุปไม่มีคนยกว่าแถนะครับ
ถึงแม้จะต้องมาแก้ไขให้ถูกใจอาจารย์ตอนจบปี3ก็เหอะ
ปล.ส่วนตัวก็ไม่ได้ชอบทำport มีกิจกรรมที่ทำไปแต่ไม่เขียนportก็เยอะ
-ส่วนเรื่องdiscussกลุ่ม ส่วนตัวผมว่ามีประโยชน์มากกว่านั่งฟังlectureแน่นเอียดทั้งวัน เพราะให้lectureให้ตายจำได้ถึงวันสอบสุดท้ายก็ลืม แต่การdiscussทำให้เรารู้ว่าเรื่องที่เราลืมไปเราสามารถไปหาข้อมูลได้ที่ไหน แล้วถ้าเทียบกันระหว่างdiscussก่อนlecture กับlectureแล้วdiscuss ถ้ามีการสอนก่อนการdiscuss เนื้อหาที่เรามาdiscussเกือบทั้งหมดจะมาจากในชั่วโมงเรียนและมีการหาข้อมูลด้วยตนเองน้อยลง แต่ในชีวิตจริงเมื่อเจอcaseเราต้องหาข้อมูลเลยไม่มีคนมานั่งสอนก่อน ดังนั้นdiscussก่อนเรียนก็มีข้อดีของมันอยู่

Offline Relativity

  • *
  • 274
  • 16
  • - Publicity is a whore -
สาขานี้มีเนื้อหาที่ต้องรู้มากมาย เวลาแค่หกปียังไงก้อเรียนได้ไม่หมด conceptที่ต้องหาความรู้เองจำเปนมาก แต่ก้อไม่ควรเอามันมาเปนข้ออ้างที่จะจัดคาบเรียนแบบนี้เยอะเกินไปจนกินเวลาคาบสอนเนื้อหา ขนาดเนื้อหาที่ต้องรู้ยังสอนได้ไม่หมดเลย (บางเรื่องก้อสอนแค่ผิวๆไม่ได้ลงลึกเพราะไม่มีเวลา) เนื้อหาที่ควรรู้หรือน่ารู้ถ้าได้เรียนก้อถือเปนโบนัสไป ตัวอย่าง เรื่องปอดบวม/pneumonia ใช้เวลาในคาบ(เรียน)อย่างน้อยหกชั่วโมง บวกกับเวลาไปอ่านเองอีกไม่รู้กี่ชั่วโมง ได้รู้อะไรกันบ้าง แต่ละกลุ่มก้อได้ไม่เหมือนกัน ถ้าจัดเปนเลคเชอร์จะได้เนื้อหาที่ต้องรู้ครบถ้วนและเนื้อหาที่ควรรู้หรือน่ารู้อีกพอสมควรภายในเวลาไม่เกินสามชั่วโมง

LIKE !!!

ส่วนการเน้น discussion (คล้าย ๆ ให้ผู้เรียนไปหาข้อมูล แล้วมา present หน้าห้อง เหมือนที่หลาย รร.มัธยมชอบให้ทำกัน) จนเกินไป นั้น ก็เห็นว่าเป็นการเดินผิดทาง อย่างมาก ของหลักสูตร จริงอยู่ว่าควรมีการ discussion จะได้ฝึกค้นหาข้อมูล แต่เรื่องทางการแพทย์เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่เรื่องที่ชาวบ้านทั่วไปอยากไปหาก็ไปหา ควรจะสอนเนื้อหาให้แน่น ๆ ก่อนที่จะให้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม เช่น ในปีแรก ๆ ปี 1,2 ยังไม่ค่อยรู้อะไรก็สอนกันไปก่อน ไม่ใช่ให้มา discuss กันแบบสมองโล่ง ๆ ไม่มี basic ใด ๆ คนเรียนก็งง ไม่รู้จะไปทางไหน และชั่วโมงพวกนี้ยังกินเวลาอย่างมาก เทียบกับให้อาจารย์มาสอนให้รู้เรื่องไปเลย พอมีพื้นที่จะไปต่อได้ ค่อยไป discuss กันในปีหลัง ๆ ตอนไปดูคนไข้จริง ๆ ก็ยังทัน

LIKE !!!
"If you will not fight for the right when you can easily win without bloodshed; if you will not fight when your victory will be sure and not too costly; you may come to the moment when you will have to fight with all the odds against you and only a small chance of survival. There may even be a worse case: you may have to fight when there is no hope of victory, because it is better to perish than to live as slaves."
----- Winston Churchill

Offline napod

  • *
  • 519
  • 55
ขอทีเถอะเรื่อง portfolio

วันนี้หลังจากมาบอก timeline ของการทำพอร์ทที่เหลือและกำหนดวันส่งพอร์ท ก็เปิดโอกาสให้ซักถาม
สิ่งที่ได้กลับมาหลังมีคนถามไปคือ ท่านหนึ่งโชว์"แถ"สดหน้าห้องให้ดูเป็นตัวอย่าง อีกท่านพูดไม่ตรงประเด็น
และสิ่งที่ได้อีกอย่างคือ เลือกเรียนที่นี่เอง ก็ต้องทำตามที่หลักสูตรกำหนดไว้

ถ้าผมรู้ว่าเป็นอย่างนี้ ผมคงไม่เลือกอันดับ1จุฬา 2ศิริราช 3รามา หรอก
The opinions of others, whether you agree with them or not, are something you have to learn to tolerate.

ForMedical student


ถึงจะไม่ใช่คนตั้งกระทู้ และไม่รู้จักกับผู้ตั้งกระทู้เป็นการส่วนตัว

แต่ก็ขอบคุณคนตั้งกระทู้มากที่ถามขึ้นมา ขอบคุณพี่ๆด้วยที่ช่วยพยามชี้แนะและแสดงความคิดเห็น

อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์กับนักเรียนม.ปลายหลายๆคนที่กำลังสับสนและได้มีโอกาสเข้ามาอ่านกระทู้นี้

 
:-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[