Docchula Community

สายศิลป์ภาษากับการเรียนแพทย์ครับ

เจ้่าของกระทู้

อย่าเพิ่งท้อครับ  หุหุ
ชีวิตยังอีกยาวไกล  และเรายังมีโอกาส
ไม่ต้องย้ายสายหรอกครับ  อีกปีเดียวก็เรียนจบแล้ว
ค่อยไปเรียนเอาวุฒิกศน. ไปสอบทีหลังดีกว่า

ได้คุยกับอาจารย์หมวดวิทย์มา
ท่านพูดให้รู้สึกดีมากเลยครับ
ท่านคิดว่าความรู้ม.ปลายของสายวิทย์  เป็นพื้นฐานสำคัญ
ในการเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ ก็จริง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่ตัดสินใจเรียนสายศิลป์ไปแล้ว
จะไม่สามารถ  เรียนรู้สิ่งเหล่านั้นได้
ด้วยตนเอง เรียนพิเศษ  ท่านเปรียบเทียบแบบที่เราฟังแล้วคิด
ว่ามันง่ายขนาดนั้นเชียวหรอว๊ะ  เหมือนกับเด็กสายวิทย์
จะมาเรียนภาษาที่สามเพิ่ม ไปสอบเข้าคณะสายศิลป์
แต่สิ่งที่เราจะไม่มีก็คือทักษะในการทำแล็บ
แต่ถ้าเราจะสอบเข้าคณะแพทย์  ก็ต้องเรียนเอาวุฒิ กศน. ไปสอบ
เพราะสายศิลป์โครงสร้า่งหลักสูตร  วิทย์และคณิตไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
และกศน. มีเปิดสอนวิชานี้ด้วย

อาจารย์บอกว่าที่เด็กสายวิทย์บ่นว่าเรียนยากๆ  ไม่จริงหรอก
เขาก็แค่โม้กันต้องลองไม่ลองไม่รู้  จนอาจารย์นั่งโต๊ะข้างๆ
บอกว่า  พี่ๆ พูดให้กำลังใจเด็กก็ดีหรอก
แต่ให้มันอยู่กับความเป็นจริงบ้าง มันเป็นไปไม่ได้หรอก
ที่จะไปสอบแพทย์ได้  ทักษะมันหมดตั้งแต่ไปเข้าศิลป์แล้ว


 ;D

ก็คงเป็นวิธีให้่กำลังใจในแบบของท่านนั่นเอง
แรงมากครับ  ฟังแล้วรู้สึกเหมือนได้กินเอ็มร้อยซัก 10 ขวด    

niemand

เด็กศิลป์ฝรั่งเศสเหรอจ๊ะ  น้องคงเคยได้ยินภาษิตที่ว่า impossible n'est pas francais ใช่ป่ะ  เด็กศิลป์ฝรั่งเศสอย่างเราไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ 555+  เอ มันเกี่ยวกันตรงไหน ??? Napoleon แค่ต้องการจะบอกว่าคำว่า impossible ไม่ได้เป็นคำภาษาฝรั่งเศส แต่เราตีความไปเองว่าไม่มีอะไรที่ฝรั่งเศสทำไม่ได้  ทีแรกพี่เองก็ไม่รู้หรอกว่าสามารถเรียนต่อแพทย์แบบ new tract ได้  เพิ่งรู้เมื่อไม่นานมานี้  รุ่นพี่ของพี่หลายคนก็เรียนต่อแพทย์  โดยจบป.ตรี เทคนิคการแพทย์ แล้วไปต่อแพทย์อีก 5 ปีมั้ง ที่มอไหนจำไม่ได้ 
พี่เองก็ไม่ได้เรียนแพทย์ จึงบอกอะไรน้องไม่ได้มาก  แต่พี่คิดว่าวิธีที่น้องจะเรียนกศน. หรือคิดจะกลับไปเรียนม.4 ใหม่สายวิทย์คณิตดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก  การเรียนต่อที่ฟิลิปปินส์พี่ก็เพิ่งรู้จากน้องนี่แหละ  แต่ดูเหมือนมันลำบากเหมือนกัน  แต่ก็อย่างว่า  ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ
วิธีหนึ่งที่พี่มั่นใจว่าน้องจะทำได้คือการเรียนป.ตรี ในคณะทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ  พี่ไม่แน่ใจว่าคณะแพทย์เค้ารับเด็กจบศิลป์มั้ย  แต่ถ้าเป็นเทคนิคการแพทย์ เภสัช หรือพยาบาล เค้ารับอยู่นะ  je t'assure comme moi je suis aussi une eleve de francais lol  พี่ก็เป็นเด็กศิลป์ฝรั่งเศสเหมือนกัน  ก่อนหน้าที่พี่จะสอบเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ก็มีแต่คนบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้  หน่วยกิตวิทย์กะคณิตก็ไม่พอ พื้นฐานก็ไม่มี voir meme pire alors... แต่พี่ก็รั้นขอลองหน่อยเหอะ สักครั้งในชีวิต  ไม่ได้ก็เรียนอักษร แต่ตอนท้ายพอสอบติด  พี่ก็มาเครียดกลัวจะสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน  พออาจารย์ที่สอบสัมภาษณ์เห็นความตั้งใจและคะแนนที่เราสอบติดมาได้  ท่านกลับเห็นใจแล้วให้โอกาสเราได้เข้าเรียนในคณะนี้  พี่จึงคิดว่าน้องอาจทำตรงจุดนี้ได้อยู่  อาจารย์ในคณะบอกพี่ว่าสำคัญคือสอบผ่านเข้ามาได้  เราก็มีสิทธิ์ที่จะเรียนได้  แต่ทั้งนี้อาจขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละมหาวิทยาลัยมั้งคะ  พี่ไม่มั่นใจว่าที่มออื่นเค้าจะให้โอกาสเราเหมือนที่นี่หรือเปล่า  อีกทั้งพี่สอบเข้าด้วยระบบโควตา  ไม่ใช่ admission ด้วยมั้ง  แต่ถ้าน้องอยากแน่ใจว่าอ.จะรับเด็กศิลป์มั้ย ลองพยายามติดต่อ อ.ในคณะแพทย์ของมหาลัยที่น้องอยากเข้าเพื่อถามให้แน่ใจก่อนเลือกก็น่าจะดี  หรือจะเสี่ยงอย่างพี่ก็ลองดูก็ได้ 
อย่างไรก็ตามปัญหาในด้านการเรียน  ก็แค่ช่วงปี 1 เท่านั้น  เพราะเราเรียนพื้นฐานม.ปลาย  ปรับตัวหนักอยู่  แต่พอปี2ปี3 ก็ตามทันเพื่อน ๆ ล่ะ  เพราะความรู้วิชาชีพทุกคนเริ่มต้นพร้อมกันหมด ถ้าน้องคิดว่าจะเรียนป.ตรี ด้านศิลป์ที่เราเรียนมา  แล้วเรียนวิทยาที่รามฯ  แล้ววิชาที่เป็น lab ล่ะ น้องได้เข้าเรียนหรือเปล่า  พี่เองก็เสียดายภาษาฝรั่งเศสที่เรียนมาเหมือนกัน  พี่จึงเรียนคณะมนุษย์ที่รามด้วย  ก็เท่ากับว่า 3 ปีที่ผ่านมากับการเรียนศิลป์ไม่ได้สูญเปล่าเลย  น้องยังมีโอกาสมากกว่าหลายคนในการสอบชิงทุนด้วยนะ   ::) 
พี่เข้าใจว่าตอนนี้น้องอาจจะมีความรู้สึกท้อ เครียด กลัวไม่ได้ในสิ่งที่หวัง  พี่ผ่านตรงนั้นมาแล้ว  พี่คิดเปลี่ยนใจจากอักษรศาสตร์ มาเรียนเทคนิคฯก็ตอนปิดเทอม ม.5 จะขึ้น ม.6  ในเวลาไม่ถึง 1 ปีนี้ถ้าอ่านเก็บไปเรื่อย ๆ ในวิชาของสายวิทย์ที่เราสนใจ  พี่ว่าน้องทำได้  บางวิชาอย่างคณิตกับฟิสิกส์ที่พี่ idiot มากพี่ก็ทิ้งเลยเพราะมันอ่านไม่ทัน  แต่เอา chimie กับ bio ให้ได้เยอะ ๆ หน่อย  บอกกับคะแนน Eng พี่ว่าติดอยู่แล้ว  ไม่ต้องเรียนพิเศษก็ได้ เหนื่อย เปลืองตัง เสียเวลา เดี๋ยวไม่ทัน je pense. 
Enfin avant de te laisser, j'aimerais te dire que "vouloir c'est pouvoir"!!  Pour l'instant, il n'y a que de faire tes meilleures mais au cas ou. 

Offline pipe64

  • *****
  • 3481
  • 604
เรื่องที่ว่า สายศิลป์ เรียนต่อแพทย์ ได้มั้ย
กำลังสอบถามจากผู้รู้ให้อยู่นะครับ
เพราะ ไม่มั่นใจว่าจะสมัครได้มั้ย หรือถ้าสมัครได้ สอบได้ คณะจะรับมั้ย

แล้วถ้ามีความคืบหน้าอย่างไรจะมาแจ้งอีกครั้งหนึ่งครับ

หรือถ้าไม่งั้นสอบถามที่หน่วยวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยตรงครับ
0-2256-4454, 0-2256-4478

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
เรื่องที่ว่า สายศิลป์ เรียนต่อแพทย์ ได้มั้ย
กำลังสอบถามจากผู้รู้ให้อยู่นะครับ
เพราะ ไม่มั่นใจว่าจะสมัครได้มั้ย หรือถ้าสมัครได้ สอบได้ คณะจะรับมั้ย

แล้วถ้ามีความคืบหน้าอย่างไรจะมาแจ้งอีกครั้งหนึ่งครับ

หรือถ้าไม่งั้นสอบถามที่หน่วยวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยตรงครับ
0-2256-4454, 0-2256-4478

สอบถามให้แล้วครับ ไม่มีข้อห้ามครับ
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

เจ้าของกระทู้

นี่เองครับ  ที่ทำให้รู้สึกว่าอย่างน้อยก็ไม่คิดผิด  ที่เรียนสายนี้
สายฝรั่งเศสเราอบอุ่นมากๆ  แม้กระทั่งสายศิลป์ฝรั่งเศสคนละโรงเรียน
ถ้าบังเอิญได้เจอกัน  แล้วรู้ว่าเรียนสายเดียวกัน  ก็จะรักและสนิทกันทันที
มีอันได้ติดต่อเป็นเพื่อนกันต่อไปทุกคนไป

 ;D

สังเกตว่าแม้แต่อาจารย์ของพวกเรา  ท่านแทบจะรู้จักอาจารย์ที่สอนภาษาฝรั่งเศสด้วยกัน
ทั่วทั้งภูมิภาคที่ ร.ร.ตั้งอยู่ทีเดียว  แล้วบรรดาอาจารย์ท่านก็มีเครือข่ายที่เหนียวแน่นมาก

และคงด้วยสายใยนั้นเองที่ชักนำให้พี่เมตตาให้คำแนะนำอันมีค่านี้แก่น้อง
แต่จะว่าไปจริงๆแล้ว  คณะวิทยาศาสตร์สายสุขภาพๆอื่น
ไม่รู้สึกสนใจจะเรียนเลยอ่ะครับ  ไม่ว่า พยาบาล,เภสัช,เทคนิกการแพทย์ ฯลฯ
ที่สำคัญ new tract  ซึ่งมีเปิดอยู่เพียงสถาบันในปัจจุบัน  แห่งหนึ่งดูเหมือนมีข้อแม้
ว่าต้องรับราชการในกระทรวงสาธารณสุขมาก่อนไม่น้อยกว่าสองปีอ่ะครับ
อีกแห่งให้บุคคลทั่วไปสอบได้  แต่ถ้าหากมีข้าราชการสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
เขาก็จะรับข้าราชการก่อน  แม้ว่าเราจะได้คะแนนสูงกว่าก็ตาม

ทำให้ผมมองว่ามันยากทีเดียวเลยครับ  เพราะไม่อยากจะทนเรียน
ในคณะที่ไม่ได้อยากเรียนถึงสี่ปี  เพื่อที่จะใช้เป็นทางผ่าน
แล้วยังต้องไปทนรับราชการในหน้าที่ซึ่งเราไม่ได้คิดฝันจะทำอีกสองปี
เพื่อเป็นทางผ่าน  ดูเหมือนหนทางมันช่างยาวไกลเหลือเกินครับ

สำหรับที่สนใจทางเลือก กศน. เป็นพิเศษ  เพราะเคยมีนักเรียน กศน. เรียนแพทย์จบมาได้
ก็แล้วเราได้ผ่านวิทย์คณิตพื้นฐานมาทั้งม.ปลายสายศิลป์
และที่ไปเรียนกศน.อีก  ย่อมไม่โชกโชนกว่าอีกหรือครับ
อีกอย่างยังไม่เคยพบเลยว่ามีเด็กจบสายศิลป์สอบเข้าหรือมีใครเคยเรียนแพทย์ได้เลยครับ
อีกทั้งเป็นหนทางที่พบว่าเคยมีผู้ตัดสินใจเดินมามากแล้ว
ในการไปเรียนเอาวุฒิกศน. เพิ่ม  หลังเรียนจบม.6
แต่ยังไม่อาจสืบทราบได้ว่า  นำเขาเหล่านั้นไปสู่ความสำเร็จหรือไม่

 ;D
  
สำหรับที่ความคิดที่อยากจะเรียนมนุษย์ศาสตร์ก่อน  พร้อมเรียนกศน.ไปด้วย
นอกจากเสียดายฝรั่งเศสที่อุตส่าห์เรียนมา  และสนใจที่อยากจะเรียนต่อด้านนี้เพิ่มเติมแล้ว
เป็นเพราะไม่ว่าคณะแพทย์จะรับเด็กศิลป์หรือไม่ก็ตาม  คงไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่
แต่ปัญหาคือตัวเราเองคงไม่อาจสั่งสมความรู้วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ได้เพียงพอ
ที่จะสอบเข้าเรียนแพทย์แข่งกับคนอื่นๆได้  ภายในชั่วระยะเวลาหนึ่งปีที่เหลืออ่ะครับ
เลยคิดว่าค่อยเก็บๆ  ไประหว่างเรียนปริญญาตรี  แบบสบายๆ
แล้วไปสอบเข้าเรียนใหม่อีกรอบเอาดีไหม

พูดอย่างนี้ก็มีคนบอกว่า  ถ้าชอบภาษาจะไปเรียนแพทย์ได้ยังไง
มันคนละเรื่องกัน พวกนี้มันมีจินตนาการสูง  5555+

ก็ตลกมากเลยอ่ะครับ  ถ้าเป็นศิลปกรรมศาสตร์ก็ว่าไปอย่าง
มนุษย์ศาสตร์ไม่ได้สอนให้เราผลิตงานศิลปะ  ให้ไปเป็นศิลปินหรือกวีซักหน่อย
จะมีความเกี่ยวข้องบางก็แค่  เขาสอนวรรณคดีซึ่งมีฐานะเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง
แต่วรรณคดีก็มีเนื้อหาลุ่มลึกหลากมิติ  ยิ่งกว่างานศิลปะอื่นๆ
เรียงความทางวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ  ที่มีสำนวนภาษาไพเราะ
ยังเอามาสอนในฐานะเป็นวรรณคดีเลย  และหากจะเทียบกับงานศิลปะอื่น
ที่ใช้อารมณ์ในการสร้างสรรค์และเข้าถึง  วรรณคดีกลับเป็นศิลปะ
ที่ต้องใช้ปัญญาในการสร้างสรรค์และเข้าถึงมากที่สุด เช่นวรรณกรรมเชิงปรัชญาฝรั่งเศสของเรา
555+ แต่ก็คงไม่ถึงกับที่อาจารย์สอนภาษาอังกฤษบางท่าน
บอกว่าการอ่านกวีนิพนธ์  ก็ฝึกฝนสมองไม่ต่างจาการเรียนคณิตศาสตร์
เพราะมองยังไงๆ มันก็คนละเรื่องกันอยู่ดี

เอาเข้าจริงๆแล้ว กวีที่มีชื่อของตะวันตกหลายประเทศในสมัยก่อน
ที่เป็นแพทย์กันก็ยังมี  แม้ในปัจจุบันก็ย่อมต้องมีแพทย์ที่มีความสนใจส่วนตัว
ในขอบเขตของมนุษยศาสตร์  เช่น ปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ฯลฯ อยู่แน่นอน
องค์อุปถัมภ์การศึกษาภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย  
พระองค์ท่านก็ทรงมีคุณวุฒิทางการศึกษาเป็นปริญญาตรีวิชาเคมี  
แต่ได้ทรงงานเป็นพระอาจารย์สอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสในระดับอุดมศึกษามายาวนาน
ส่วนพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ก็เคยทรงศึกษาด้านการทหารเรือ
มาก่อนที่จะได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์ในภายหลัง

คือที่พูดมายาวยืด  แค่อยากจะบอกว่า
ทำไมการเรียนข้ามสายมันจะเป็นไปไม่ได้อ่ะครับ

ที่สำคัญพี่ niemand ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
และพี่ก็เป็นไอดอลของผมเลยครับ  หุหุ
ไม่ใช่แค่ได้ทำสิ่งที่ทำได้โดยยาก  ในการเรียนข้ามสาย
แต่รวมถึงการตัดใจจากคณะอักษรศาสตร์ด้วย
เข้าใจเลยครับ  ว่ามันเป็นฝันของเด็กศิลป์ทุกคน
"แต่พี่ก็รั้นขอลองหน่อยเหอะ สักครั้งในชีวิต"
อารมณ์นี้เลยครับ  555+

ตอนนี้ก็กำลังสับสนในชีวิตครับ
ว่าจะเอายังไงกลับชีวิตน้อยๆ ของตัวเองดี
จะทุ่มเทอ่านฝรั่งเศสและอังกฤษต่อไป
ด้วยอุดมการณ์ที่จะเรียนในคณะมนุษยศาสตร์  
สักครั้งหนึ่งในชีวิต  เพื่อที่จะได้เป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ 555+

หรือจะทิ้งวิชาเหล่านั้นไปเลย  และเริ่มต้นทุ่มเทเพียง
กับเคมี  ชีวะ  ฟิสิกส์  และคณิตศาสตร์  เพื่อมุ่งมั่นจะเข้าคณะแพทย์ศาสตร์อย่างเดียว

ข้อสงสัยที่ว่า "สมัครได้มั้ย หรือถ้าสมัครได้ สอบได้ คณะจะรับมั้ย"
มีประโยชน์มหาศาลในการตัดสินใจ  จึงขอบพระคุณพี่ๆ ทุกท่าน
ที่ได้สู้อุตส่าห์สอบถาม และกำลังสอบถามให้ครับ

คิดว่าไอ้ที่มันเป็นไปไม่ได้  จะกลายเป็นไปได้
ก็ด้วยกำลังใจและความช่วยเหลือของพี่ๆ นี่เองครับ
จากตอนแรกที่เข้ามาตั้งกระทู้  เต็มไปด้วยความสงสัยและไม่มั่นใจ
ถึงตอนนี้เปลี่ยนความคิดไปเยอะทีเดียว  

Offline pipe64

  • *****
  • 3481
  • 604

ข้อสงสัยที่ว่า "สมัครได้มั้ย หรือถ้าสมัครได้ สอบได้ คณะจะรับมั้ย"
มีประโยชน์มหาศาลในการตัดสินใจ  จึงขอบพระคุณพี่ๆ ทุกท่าน
ที่ได้สู้อุตส่าห์สอบถาม และกำลังสอบถามให้ครับ


สำหรับข้อสงสัยอันนี้ เรพ 34 ตอบให้แล้วนะครับ

ปล. ที่โพสมาค่อนข้างยาว ไว้มีเวลาจะกลับมาอ่านเต็มๆอีกที เมื่อกี้อ่านผ่านๆ น่าสนใจทีเดียวครับ

niemand

จาก rep 34 น้องก็คงมั่นใจได้แล้วว่าการสอบเข้าเรียนแพทย์สำหรับเด็กศิลป์ภาษานั้นเป็นไปได้แน่นอน  นั่นคือถ้าสอบติด สัมภาษณ์ผ่าน (ไม่มีปัญหาทางจิต หรือไม่มีความผิดปกติใด ๆ ที่อยู่ในเงื่อนไขของคณะ)  น้องก็เข้าเรียนได้  ฉะนั้นไม่มีคำว่าเรียนข้ามสายเป็นตัวปัญหาแล้วล่ะ  อืม...จริงอยู่ว่าในช่วงปีแรกนั้นน้องต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้ตามทันสิ่งที่อาจารย์สอน  แต่พี่เชื่อว่านั่นคงไม่เป็นปัญหา  เหลือให้คิดแต่ว่าน้องจะเลือกทางเลือกไหน  แน่นอนว่าต้องเลือก best choice แต่ best choice ของน้องไม่มีผิดมีถูก  ขึ้นกับตัวน้อง  แต่น้องต้องมั่นใจในเส้นทางที่น้องเลือกเดิน  มีหลายทางที่จะพาน้องไปจุดนั้น  พี่เชื่อว่าน้องจะเลือกทางของน้องเองได้  ปัญหานี้ยากตรงที่ความไม่มั่นใจของน้องเองว่าถ้าเราไปเส้นทางนั้นแล้ว  เราจะไปถึงจุดนั้น exactement (แล้วมันจุดไหน  งงมั้ย?) 8)  ลอง list ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีดูสิ 
อันที่จริงพี่เองก็สงสัยในความต้องการที่จะเป็นเรียนแพทย์ของน้องอยู่เหมือนกัน  แต่น้องไม่จำเป็นต้องตอบนะ  พี่อยากรู้ว่าน้องอยากเรียนแพทย์ หรือต้องการจะเป็นแพทย์?  อะไรทำให้น้องสนใจวิชาชีพแพทย์?  และน้องได้ศึกษามาบ้างหรือยังว่าการเรียนแพทย์ต้องเรียนอะไรบ้าง? 
ในเวลานี้ความสับสน ลังเลของน้องอาจหมดไป  ถ้าน้องตอบคำถามให้ตัวเองได้ว่า  จริงแล้ว ๆ น้องต้องการสิ่งใด  บางทีน้องอาจต้องการหลาย ๆ อย่างในชีวิต  ทั้งทางศิลป์น้องก็รัก  ทางวิทย์น้องก็ชอบ  (พี่ก็เป็น แต่พี่มั่นใจว่าพี่ไม่ถึงขั้นน้อง อิอิ  เอาว่าพี่ไม่ค่อยสนใจ litteraire หรืออะไรอย่างอื่นในทางศิลป์นอกจากโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษา ซึ่งมันก็เหมือนกับการเข้าใจนิยามในทางคณิตศาสตร์)  แต่ในช่วงเวลาหนึ่งที่เราคิดว่าเราจะเอาทั้งสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน  เราอาจรู้สึกว่า "มันหนักเกินไป"  ทำให้เราเหนื่อย  เหนื่อยแล้วก็ท้อ  ท้อแล้วก็สิ้นหวัง  สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ความหวังไม่ละทิ้งเราคือ เป้าหมายที่เราน่าจะมองเห็นเป็นรูปธรรม
D'apres moi, ที่อาจารย์อังกฤษบอกน้องว่า "การอ่านกวีนิพนธ์  ก็ฝึกฝนสมองไม่ต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์" มองเผิน ๆ มันก็คนละเรื่องจริง ๆ พี่เห็นด้วย  มันเหมือนกันตรงที่ต้องได้ใช้สมองคิดวิเคราะห์อย่างหนักเท่านั้นมั้ง  แต่ใช้สมองคนละส่วนกันหรือเปล่าไม่แน่ใจ  การอ่านกวีนิพนธ์ดูจะยากกว่าสำหรับพี่  เพราะมองไม่เห็นกรอบเหมือนคณิตศาสตร์ อาศัยจินตนาการที่แน่นอนว่าทุกคนมีต่างกัน แต่การเรียนคณิตศาสตร์สุดท้ายแล้วทุกคนก็ต้องได้คำตอบที่ตรงกัน มองเห็นมันเหมือนกัน มันตายตัวกว่า  แล้วน้องชอบอะไรมากกว่าล่ะ  ระหว่างสองอย่างนี้  (ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เราคุยกันเลยเนอะ)
Bon revenons a nos moutons ;D  สำหรับพี่  พี่คิดว่าพี่ผ่านจุดที่น้องเผชิญอยู่มาได้เพราะพี่รู้ว่าพี่ต้องการอะไร  และพี่ชอบอะไร  บางครั้งความชอบกับความต้องการเราอาจไปคนละเรื่องกัน  เราเลยงงงวยกับชีวิต ไม่รู้จะเลือกเส้นทางไหน  สำหรับพี่แล้ว  พี่เลือกเรียนสิ่งที่พี่ชอบมาก่อน  พี่ชอบภาษามากที่สุด โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมตัวเองถึงชอบ  พี่เลือกเรียนศิลป์ฝรั่งเศส (แต่ไม่ได้ชอบภาษาฝรั่งเศสเลย ชอบอีกภาษาหนึ่งแต่มันไม่มีให้เลือก จึงคิดไปเรียนในมหาลัยเอา)  มีช่วงหนึ่งในชีวิตของการเป็นนักเรียนม.ปลาย พี่ไม่รู้ว่าตัวเองเรียนภาษาไปทำไม (จบมาจะทำงานอะไร มันมีให้เลือกทำเยอะนะ  แต่ไม่ได้อยากจะทำเลย คิดอย่างเดียว ไปเป็นครูสอนภาษาก็ได้) แต่รู้อยู่อย่างว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการทำและสนใจคือ ข้อสงสัยเกี่ยวกับการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ  ทีแรกก็มุ่งสนใจแต่เรื่องโรคมะเร็ง  เพราะเกิดกับคนรอบข้องเรา  แต่พออ่านไปอ่านมาก็อยากจะเรียนให้รู้ลึกกว่านี้ และเห็นคนป่วยหลายโรคที่ไม่รู้ว่าจะรักษายังไง ทั้งเพื่อนที่เป็น SLE และอีกหลายอย่างมันทำให้พี่อยากศึกษาเรื่องเหล่านี้ พี่คิดว่าก่อนที่เราจะหาทางรักษาโรคเหล่านี้ได้  เราน่าจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรทำให้มันเกิดขึ้น มันทำพี่เกิดความคิดว่าอยากทำงานที่เกี่ยวกับการค้นคว้าในด้านนี้  ไม่ได้เน้นไปทางการรักษาแต่เน้นไปที่สาเหตุและแนวทางการวินิจฉัย  พี่จึงหาดูว่ามีคณะอะไร หรือสาขาไหนที่จะทำให้พี่รู้เรื่องพวกนี้หรือเข้าไปทำงานตรงจุดนี้ได้ 
ตอนนี้พี่เรียนเทคนิคการแพทย์  ในปีแรกที่พี่เข้าเรียนพี่สับสนอยู่นะ  กลัวว่าจะเรียนไม่ไหว  ยอมรับว่าคะแนน super mal แต่ก็นั่นแหละ  คะแนนห่วยแตกไม่ใช่เรื่องใหญ่  พี่ชินแล้วเพราะตอนม.ปลายเรียนศิลป์ก็คะแนนยังงี้แหละ  เป็นพวกรักษาระดับ คงเส้นคงวาน่ะ  :D  สิ่งที่ทำให้พี่ enjoy ที่สุดคือพี่ได้เรียนและได้รู้สิ่งที่ตัวเองอยากรู้ 
ที่น้องบอกว่าไม่ได้สนใจจะเรียนคณะวิทย์สุขภาพอื่น ๆ ไม่อยากทนเรียนเพื่อใช้เป็นทางผ่าน  พี่เข้าใจนะ  แต่ถ้าพี่เป็นน้องที่อยากเรียนแพทย์เพื่อจะเป็นแพทย์  พี่ยอมเลือกทางผ่านนี้แม้ว่ามันจะเสียเวลาอีก 4 ปี ก็ตาม  เพราะความรู้ในวิทยาศาสตร์สุขภาพเหล่านี้มันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันหมด และความรู้ในแต่ละวิชาชีพทางด้านนี้ยังสนับสนุนซึ่งกันและกันในการทำให้ผู้คนมีสุขภาพชีวิตที่ดี  ใครจะรู้แนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วย เข้าถึงปัญหาต่าง ๆ ของผู้ป่วยได้ดีเท่าผู้ที่เรียนพยาบาลมา ใครจะรู้วิธีการและสามารถคิดค้นยารักษาโรค และให้คำแนะนำในการใช้ยาได้ดีเท่าเภสัช  หรือแพทย์จะรู้แนวการรักษาได้อย่างไรถ้าไม่มีนักเทคนิคการแพทย์ช่วยในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัย  ทุกวิชาชีพต้องพูดคุยกันในเรื่องเดียวกัน  ดังนั้นพวกเขาต้องเรียนอะไรที่เหมือนกัน  แต่เน้นไปคนละจุดที่ตนต้องรับผิดชอบ  น้องอาจมองเห็นภาพตรงจุดนี้ไม่ชัดเจน  เพราะในบ้านเรา บทบาทหนักจะอยู่ที่แพทย์  ทุกคนมองว่าแพทย์คือผู้ที่ช่วยชีวิต  แต่พอพี่เข้ามาตรงจุดนี้แล้ว  พี่มองเห็นว่าทั้งแพทย์และบุคคลากรในโรงพยาบาลอื่น ๆ เป็นผู้ช่วยชีวิตทั้งหมด  รวมทั้งผู้ช่วยพยาบาล คนเข็นเปล และอีกหลายคน  หากแต่ว่าแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน 
ภาษาฝรั่งเศสที่เรียนมา ไม่มีอะไรต้องเสียดายเลยหากน้องพยายามทำให้ตัวเองอยู่ในภาวะที่ว่า "il me faut parler francais pour qu'on me comprenne", tu vois un peu pres? น้องจะไม่ลืมหากใช้บ่อย ๆ  และเก็บเกี่ยวใหม่ได้เรื่อย ๆ โดยการหาเพื่อนฝรั่งคุยด้วยทางไหน วิธีไหนก็ได้  คุยกับพี่ก็ได้นะ ถ้าอยากได้ฝรั่งเศสแบบไทย ๆ  ;D  เว้นเสียแต่ว่าน้องต้องการเรียนภาษาถึงรากเหง้า  เข้าลึกถึงวรรณคดี ถ้าเป็นยังงั้นน้องก็คิดไม่ผิดที่จะเรียนมนุษย์ศาสตร์  แต่พี่ขอเตือนอะไรอย่างนะจ๊ะ  เด็กมะนุดน่ะ งานเยอะสุดๆ ต้องเขียนนั่นเขียนนี่ ทำรายงานเป็น routine เลยล่ะ อ่านหนังสือหนักเหมือนกันเพื่อนทำข้อสอบซึ่งส่วนใหญ่ต้องรู้เรื่องถึงเขียนคำตอบที่ต้องบรรยายเป็นหน้า ๆ ได้  แถมถ้าเรียนในมหาลัยรัฐอย่าคิดโดดไปทำอย่างอื่น ต้องเข้าเรียน (เหมือนคณะทางวิทย์แหละ)  ที่ว่าจะได้มีเวลาเก็บสะสมความรู้ทางวิทย์คณิตน่ะ ดูแล้วพี่ว่ามันเป็นไปได้ยากเหมือนกันนา  น้องอาจต้องทำงาน 24/24 h ก็ได้ซึ่งนั่นมันเป็นการ์ตูนอีกนั่นแหละ พอจบ 4 ปีน้องอาจค้นพบว่า "นี่แหละสิ่งที่ผมชอบ การเรียนคณะมนุษย์ทำให้ผมค้นพบอะไรหลายอย่าง" และมันอาจทำให้น้องลืมไปว่า  ครั้งหนึ่งตนเองเคยคิดอยากเรียนแพทย์  ความหมายของพี่คือการเรียนในคณะนี้อาจทำให้น้องไม่มีเวลาไปนั่งจับจดกับการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าเรียนแพทย์เลย 
ในหนึ่งปีนี้มันอาจเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  แต่ถ้าน้องมุ่งมั่นจะเข้าคณะแพทย์จริง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อสิ่งใดก็ตาม  พี่ขอยืนยันว่าน้องทำได้แน่นอน  อาศัยแค่ความมีใจรักในสิ่งที่น้องกำลังจะเรียน ชอบ ขยันและจดจ่อจริงจัง (แต่อย่าเครียดนะ) กับสิ่งที่เราอ่าน (พื้นฐานวิทยาศาสตร์ม.ปลาย ไม่ต้องเน้นฟิสิกส์มากก็ได้เพราะไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ (มั้ง? พี่คิดว่านะ น้องต้องถามคนที่เรียนแพทย์ว่าเค้าเน้นอะไร)) เอ้อ แต่ถ้าน้องถนัดฟิสิกส์ คณิต ฯลฯ ก็อ่านเก็บไปเลย เอาให้แม่นไปเลยก็ได้เพื่อช่วยให้ตัวเองสอบเข้าไปได้ก่อน  ติดแล้วค่อยมาเก็บวิชาพื้นฐานอื่น ๆ ทีหลังก็ได้ 
สำหรับวิชาที่เราต้องเรียนในชั้นเรียนอย่างฝรั่งเศส หรืออังกฤษ สังคมอื่น ๆ ไม่ต้องสนใจอ่านมันมากก็ได้  มุ่งเอาข้อสอบเก่ามาหัดทำไปเลย ทำคะแนน Eng สังคม ไทย ให้ได้สูง ๆ แทน ก็อาจช่วยได้  แต่พี่ก็ไม่แน่ใจว่า.. เอาเป็นว่าน้องต้องถามพี่ ๆคนอื่นว่าระบบเค้าคิดคะแนนกันยังไง  วิชาไหนเก็บเปอร์เซ็นต์มากกว่าเพื่อจะสอบเข้าเรียนแพทย์  เพื่อว่าน้องจะได้วางแผนการอ่านได้ถูก และรู้ว่าจะให้ความสำคัญกับตัวไหนมากเป็นพิเศษ  แต่ยังไงโดยหลัก ๆ แล้วการอ่านเก็บวิชาที่เราชอบและมั่นใจว่าจะทำได้ดีก่อนน่าจะช่วยได้เยอะนะ ไอ้ที่อ่านไม่ทันก็ไปมั่วเอาเหอะ No way out อ่านะ :-\
ลองดูวิธีนี้ก่อนก็น่าจะดีนะ  การบ้าน หรือบางวิชาในโรงเรียนน่ะ ไม่ต้องส่ง หรือไปสนใจมากก็ได้ (ดูเหมือนแนะนำไปในทางที่ไม่ดี แต่พี่ทำประจำตั้งแต่ ม.4 อิอิ พี่อาการหนักถึงขั้นโดดเรียนไปอ่านหนังสือในห้องสมุด  มันไม่ดีในทางวินัย แต่บางทีเราอาจต้องออกนอกกรอบบ้างอ่ะนะ สำคัญที่วัตถุประสงค์การโดดเรียนเราทำเพื่ออนาคตของเรา แต่ทางที่ดีพยายามอย่าโดด เดี๋ยวโดนจับได้ล่ะแย่เลย) พี่ว่าน้องทำได้  แต่ก็แน่นอนว่า เราอาจพลาด เพราะมันก็ไม่ใช่ง่าย ๆ เลย พี่เข้าใจ  น้องยังมีอีกหลายทางเลือกอย่างที่พี่บอก 
เหมือนพี่เคยได้ยินว่า มี ม.เอกชน ที่เปิดคณะแพทย์ด้วย  ใช่มั้ย? ถ้ามีเงินหน่อย น้องจะเข้าไปสมัครได้หรือเปล่า?   (ใครรู้บอกน้องเค้าทีนะคะ)
เอ้อ แล้วที่บอกว่าไม่มีข้อห้ามเด็กสายศิลป์เรียนแพทย์นี่  หมายถึงจุฬาที่เดียวหรือเปล่าคะ?  คิดว่าถ้าน้องสอบเข้าแพทย์ที่จุฬาฯ การแข่งขันจะสูงกว่าที่อื่น อยากแนะนำให้ดูคณะแพทย์ของมหาลัยอื่น ๆ ไว้ด้วยน่าจะดี 




เจ้่าของกระทู้

หุหุ  น่าจะเป็นความอยากเรียนมากกว่านะครับ
ตอบยากเหมือนกันครับ  จะลองพยายามไล่เรียงดู

เริ่มต้นเด็กๆ ก็ฝันอยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ก่อน
พอโตขึ้นมาหน่อย  ก็ไม่รู้สึกตัวว่ากลายเป็นชอบวรรณคดีตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
แรกๆ  ก็ชอบอ่านวรรณคดีไทยก่อน  ต่อมาก็ได้ดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง
ซึ่งสัมภาษณ์  ศ.คุณหญิงจินตนา  ยศสุนทร  ท่านเป็นอาจารย์ภาษาฝรั่งเศส
รู้สึกชื่นชมในความเก่งของท่าน  ท่านดูเป็นผู้คงแก่เรียน
และประทับใจในสิ่งที่ท่านพูดเกี่ยวกับการเรียนมนุษยศาสตร์
เลยหาหนังสือท่านมาอ่าน  ชื่อประวัติวรรณคดีฝรั่งเศส
ทำให้ได้เปิดโลกทัศน์  ได้รู้จักประวัติวรรณคดีของตะวันตก
และได้สัมผัสกับตัวบทซึ่งเป็นตัวอย่าง  และคำแปล  ในหนังสือนั้น
ก็มีความตั้งใจว่าอยากจะเรียนคณะมนุษยศาสตร์ขึ้นมา 
เพื่อที่จะได้ศึกษาวรรณคดีให้ลึกซึ้งขึ้น  และจะได้สัมผัส
วรรณคดีของชาตินั้นๆ  ในรูปแบบเต็มๆ
นั่นเองครับทำให้เลือกเรียนสายศิลป์ภาษาฝรั่งเศส
แต่คณิตและวิทย์ก็ยังคงเป็นวิชาที่สนใจ

และก็น่าแปลก  ที่มักจะถูกมองโดยคนอื่นเสมอ  ว่าหน้าตาอย่างนี้
มันคงจะเป็นหมอต่อไปในอนาคต
เช่นอาแป๊ะร้านชำ  ที่ร้านหน้าโรงเรียน
แกรู้ว่าเราเรียนสายศิลป์  ไปซื้อของทีไรก็จะถูกบ่นอยู่เสมอ
ว่าลือเป็นเจ๊กต้องเป็นหมอ  ไปเรียนสายศิลป์ทำไม ฯลฯ
5555+  งงว่าแกจะมาเดือนร้อนอะไรกับเรื่องของเรา  ไม่เท่าไหร่
แต่ตลกที่จริงๆ  แล้วเราไม่ได้มีเชื่อจีนสักนิดเลยต่างหากครับพี่

 ;D

ครั้งนึงไปหาหมอใน ร.พ. ของคณะแพทย์ศาสตร์แห่งหนึ่ง
พอเข้าไปตรวจ  ถูกถามเราก็ตอบๆไปตามเรื่อง
อยู่ๆ หมอที่ตรวจ  ก็ถามว่าเรียนคณะแพทย์ที่นี่หรอ
(ด้วยความที่เราค่อนข้างหน้าแก่ด้วยมั้งครับ 555+)
ก็อึ้งไปเลยครับ  แต่ก็ไม่เคยคิดอะไร 
บางทีนั่งทำงานอยู่  อาจารย์ท่านหนึ่งเดินมาเห็น
ก็บอกว่าเปิดไฟสิลูก  เดี๋ยวสายตาสั้นเกินไปเป็นหมอไม่ได้นะ
เราก็ยิ้มๆ ขำๆ ในใจว่า  เรียนสายศิลป์จะไปเป็นหมอได้ไงว๊ะ

ประเด็นก็คือต่อมาไม่นานอาจารย์ท่านนั้นเสียชีวิตกะทันหัน  พูดแล้วยังขนลุกเลยครับ
ทั้งๆที่ท่านก็ยังดูแข็งแรง  และท่านก็เป็นที่รักของพวกเรานักเรียนมากด้วย
หลังจากนั้นผมเอง  ก็มีอันต้องได้เทียวเข้า ร.พ.อยู่หลายรอบ
เพราะมีปัญหาสุขภาพซึ่งมันเล็กๆน้อยมากๆ  เลยครับ
แต่ต้องก็ต้องใช้เวลาในการรักษา  หมอนัดอยู่หลายๆรอบ

คิดว่านั่นได้ทำให้เกิดความสนใจ  ว่าทำไมร่างกายเรา
และอวัยวะต่างๆ มันช่างดูลึกลับเหลือเกิน  และเกิดความสนใจอยากจะเข้าใจมัน
จึงได้ดูหลักสูตรคณะแพทย์ศาสตร์  555+
เห็นชื่อวิชาและคำอธิบายรายวิชา  บางอันก็พอเข้าใจ
บางอันก็ไม่เข้าใจสักนิด  ว่ามันเกี่ยวกับเรื่องอะไรว๊ะ
แต่นั่นกลับยิ่งทำให้อยากรู้อยากเห็น

ประกอบกับในการรักษาตัวครั้งนี้ ได้พบแพทย์ซึ่งท่านดูน่าเลื่อมใสมากครับ
เวลาเรานั่งรอหน้าห้องตรวจ  เห็นท่านตรวจคนไข้แต่ละคน
อย่างเอาใจใส่และด้วยความเข้าใจอย่างยิ่ง รวมถึงตัวผมเองด้วย
ทำให้รู้สึกประทับใจกับอาชีพนี้ขึ้นมามากๆ ครับ

อีกอย่างหนึ่ง  คือเริ่มรู้สึกเบื่อภาษาขึ้นมาครับ
หลังจากต้องเรียนภาษาฝรั่งเศส  และอังกฤษหลักและเสริมร่วมสิบกว่าคาบต่อสัปดาห์

น่าจะสรุปได้ว่า  หากเรียนต่อในคณะสายมนุษย์ศาสตร์
ก็คงจะมีความสุขแต่ในขนาดเดียวก็เบื่อ  เพราะที่เราชอบจริงๆมีแค่วรรณคดี
พวกภาษาศาสตร์  โครงสร้่่างภาษาก็พอจะเรียนได้
แต่ที่ไม่ชอบเอาเลยคือพวกทักษะต่างๆ  เรียนพูด  เขียน  อ่าน ระดับต่างๆ
ซึ่งคณะมนุษย์ศาสตร์ส่วนใหญ่  มีวิชาเหล่านี้เป็นพื้นฐานหลายตัวเลยใช่ไหมครับ

ในขนาดที่แพทย์  เป็นวิชาที่สนใจภายหลัง
ด้วยความที่ไม่ได้เรียนสายวิทย์คณิตมา
ก็คงจะมืดไปหมด  และก็คงจะสนุกในการพยายามหาแสงสว่าง
อย่างที่ไม่มีโอกาสได้เบื่อเลยครับ


anonymous in TU

ที่ว่าสอบได้อะครับ คือ เค้าไม่ใช่มีพิจรณาหน่วยกิจด้วยหรอครับ แบบว่า วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นั้นต้องถึง 22 ตัว อะไรแบบนี้

ปล. ขอโทษนะครับที่ต้องขุดขึ้นมา
ปล2. ผมก็กำลังมีความคิดแบบ จขกท. -*-  :'(

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
ที่ว่าสอบได้อะครับ คือ เค้าไม่ใช่มีพิจรณาหน่วยกิจด้วยหรอครับ แบบว่า วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นั้นต้องถึง 22 ตัว อะไรแบบนี้

ปล. ขอโทษนะครับที่ต้องขุดขึ้นมา
ปล2. ผมก็กำลังมีความคิดแบบ จขกท. -*-  :'(

ไม่มีครับ
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

anonymous in TU

ที่ว่าสอบได้อะครับ คือ เค้าไม่ใช่มีพิจรณาหน่วยกิจด้วยหรอครับ แบบว่า วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นั้นต้องถึง 22 ตัว อะไรแบบนี้

ปล. ขอโทษนะครับที่ต้องขุดขึ้นมา
ปล2. ผมก็กำลังมีความคิดแบบ จขกท. -*-  :'(

ไม่มีครับ

คือ มีพี่ๆหลายคนในบอร์ดเด็กเตรียม ที่บอกว่าเรียนไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่สายวิทย์อะครับ ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นเช่นนั้น แล้วสรุปมันเป็นยังไงกันแน่
: (  ??? ???

Offline pipe64

  • *****
  • 3481
  • 604
ที่ว่าสอบได้อะครับ คือ เค้าไม่ใช่มีพิจรณาหน่วยกิจด้วยหรอครับ แบบว่า วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นั้นต้องถึง 22 ตัว อะไรแบบนี้

ปล. ขอโทษนะครับที่ต้องขุดขึ้นมา
ปล2. ผมก็กำลังมีความคิดแบบ จขกท. -*-  :'(

ไม่มีครับ

คือ มีพี่ๆหลายคนในบอร์ดเด็กเตรียม ที่บอกว่าเรียนไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่สายวิทย์อะครับ ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นเช่นนั้น แล้วสรุปมันเป็นยังไงกันแน่
: (  ??? ???

เรียนได้ครับ เพราะ ข้อมูลในกระทู้นี้ได้รับการยืนยันจากทางคณะแพทย์ จุฬาฯ แล้วครับ
น้องต้องดูความน่าเชื่อถือของคนตอบด้วยครับ ในเด็กเตรียม คนตอบมีหลากหลายครับ ซึ่งที่มาของข้อมูลแตกต่างกัน

ปล. ครั้งแรกพี่เคยเข้าใจผิดด้วยว่า เรียนไม่ได้ แต่จริงๆ คือ เรียนได้

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
ที่ว่าสอบได้อะครับ คือ เค้าไม่ใช่มีพิจรณาหน่วยกิจด้วยหรอครับ แบบว่า วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นั้นต้องถึง 22 ตัว อะไรแบบนี้

ปล. ขอโทษนะครับที่ต้องขุดขึ้นมา
ปล2. ผมก็กำลังมีความคิดแบบ จขกท. -*-  :'(

ไม่มีครับ

คือ มีพี่ๆหลายคนในบอร์ดเด็กเตรียม ที่บอกว่าเรียนไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่สายวิทย์อะครับ ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นเช่นนั้น แล้วสรุปมันเป็นยังไงกันแน่
: (  ??? ???

แล้วแต่จะเชื่อครับ เพราะข้อมูลที่น้องได้ไปในขณะนี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ได้จาก "ใครก็ไม่รู้" มาตอบบนเวบบอร์ด

ซึ่งน้องก็ไม่มีทางทราบได้ว่า คนที่ตอบบนเวบบอร์ดแต่ละคนคือใคร แล้วไปได้ข้อมูลมาจากไหน

ส่วนข้อมูลที่พี่ให้ไปมาจากการสอบถามท่านผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ (อ.พญ.ศศิธร) ที่เป็นผู้ดูแลเรื่องงานคัดเลือกของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ครับ

แต่พี่แนะนำให้น้องพิจารณาก่อนว่า มีความเป็นไปได้/เป็นไปไม่ได้มากน้อยเพียงใด ที่จะเชื่อข้อมูลที่พี่โพสท์
คนตอบคนนี้เป็นใคร แล้วรู้ได้อย่างไรว่าไปถามจากผู้ช่วยคณบดีมาจริง
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

anonymous in TU

ขอบคุณพี่ๆคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯมากๆึครับ สำหรับคำยืนยัน  :P
ที่ว่าสอบได้ สัมภาษณ์ได้ :)
   แต่มันก็ต้องแล้วแต่ระเบียบของมหาวิทยาลัยนั้นๆใช่มั้ยครับ เพราะผมก็เห็นในเอกสารของ แพทย์ศาสตร์ ม. ขอนแก่น ที่ต้องเรียนโปรแกรมวิทย์-คณิต


ขอบคุณอีกครั้งครับ  :'(

คนฝันเดียวกัน

ตกลงเด็กศิลป์ ต้องไปเรียน ก.ศ .น เพิ่มหรือป่าว


หรือว่าไปสอบได้เลย

ติดคือติดอะไรอย่างนี้หรือปล่าว

โทษนะคะที่ถามเพราะอ่านแล้วเหมือนจะ งงๆ