Docchula Public Board > แนะนำการศึกษาต่อคณะแพทย์จุฬาฯ

** วิธีรับนิสิตใหม่ของคณะแพทย์ จุฬาฯ ** + การเรียนตลอด 6 ปี + FAQs

(1/13) > >>

pipe64:
สวัสดีครับ

         เนื่องจากมีน้องๆมัธยมศึกษาตอนปลาย และผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่สนใจจำนวนมาก ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต
นับว่าเป็นโอกาสดีที่ทางสโมรสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯได้มีบอร์ด docchula และมีบอร์ดย่อย  "แนะนำการศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ"
เพื่อประชาสัมพันธ์ถึง
         1. วิธีการรับสมัครนิสิตของทางคณะผ่าน กสพท., CPIRD, ODOD, โอลิมปิคชีววิทยา อย่างไรก็ดีประกาศในนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้
เนื่องจาก ประกาศที่เป็นทางการ 100% จะต้องมาจาก www.md.chula.ac.th หรือ เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้อง เท่านั้น
         2. หลักสูตรตลอด 6 ปีโดยภาพรวมว่านิสิตจะได้เรียนอะไรบ้าง มีจุดแข็งของหลักสูตรอย่างไร โดยคร่าวๆ
         3. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

         นอกจากนี้เนื้อหาในกระทู้นี้จะรวบรวมจากจากคำถามที่ถูกถามบ่อย เช่น

                 - สอบเข้า ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง เน้นอะไรเป็นพิเศษ
                 - แพทย์เรียนหนักมั้ย มีเวลาพักผ่อนกะเค้าบ้างมั้ยเนี่ย
                 - เรียนกัน 6 ปี นานเชียว เค้าเรียนไรกันบ้าง
                 - อยากเลือกเฉพาะทาง ต้องเลือกเลยมั้ย ทำไง

         สำหรับข้อสงสัย คำถามอื่นๆ สามารถตั้งกระทู้ใหม่ หรือโพสไว้ในกระทู้นี้ได้เลยครับแล้วจะมีพี่ๆ นิสิตแพทย์ มาคอยตอบนะครับ


                                                                                                                                        ทีมงาน docchula

pipe64:
1. การเข้ามาเป็นครอบครัว แพทย์ จุฬา


น้องๆสามารถเข้ามาเป็น นิสิตแพทย์ ได้โดยการสอบ ซึ่งแบ่งเป็น

1. ระบบ กสพท. (Ad กลาง) น้องจะต้องสอบ
    - ความถนัดแพทย์ 30%
    - วิชาสามัญ 70% (วิทยาศาสตร์ 28% คณิตศาสตร์ 14% ภาษาอังกฤษ 14% ภาษาไทย 7% สังคมศึกษา 7%)
      โดยแต่ละวิชาต้องได้เกิน 30 คะแนนจาก 100 คะแนน
    - ONET ต้องมีคะแนนรวมมากกว่า 60% (ไม่นำมาคิดคะแนน แต่ต้องผ่านเกณฑ์นี้)
    - ไม่จำกัดเกรดเฉลี่ย ไม่จำกัดสายการเรียน

    * อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ กสพท. http://www9.si.mahidol.ac.th/

2. โครงการโอลิมปิควิชาการ / CPIRD / ODOD น้องจะต้องสอบ
    - GAT 30%
    - PAT 1 (เลข) ครั้งที่ 3 20%
    - PAT 2 (วิทย์) ครั้งที่ 3 40%            
    - ความถนัดทางการแพทย์ (เฉพาะพาร์ทจริยธรรม) 10%
    - ไม่จำกัดเกรดเฉลี่ย
    - รับเฉพาะนักเรียนชั้น ม.6

    * อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของฝ่ายวิชาการ คณะแพทย์ http://acad.md.chula.ac.th/

3. โอลิมปิคชีววิทยา คือ สอวน. สสวท. หรืออะไร ?
    - เป็นนักเรียนที่สอบแข่งขันรอบที่ 2 ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมครั้งที่ 1 (ชีววิทยา) ในการคัดเลือกของ สสวท.
    - การเรียนตั้งแต่ปี 1 ถึง 6 เรียนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
 
4. What is CPIRD & ODOD ?

อ่านเพิ่มเติมที่ http://forum.docchula.com/index.php/topic,6739.0.html นะครับ

pipe64:
3. วิชาที่เรียนของแต่ละชั้นปี / ลักษณะการเรียน

1. การเรียนคณะแพทย์ ทุกสถาบันจะต้องเรียนทั้งสิ้น 6 ปีนะครับ
    โดยจะแบ่งออกเป็น 2 section ใหญ่ๆ คือ    
    ช่วงชั้น pre clinic ได้แก่ ปี 1 2 และ 3
    ช่วงชั้น clinic ได้แก่ ปี 4 5 และ 6 (น้องจะได้เจอผู้ป่วยในชั้น clinic นะ)

    ซึ่งเมื่อจบมาไม่ว่าที่ไหน จะเป็นแพทย์ที่ดีได้เหมือนกัน แต่ระหว่างการเรียนอาจจะต่างตรงวิชา หรือ วอร์ดที่จะผ่านก่อนหลัง เท่านั้นเอง
    โดยที่พี่จะเล่าต่อไปข้างล่างเป็นของที่จุฬาฯนะครับ

2.คำศัพท์ที่น้องๆมักสงสัยกัน คือ
    - extern คือ นิสิตชั้นปีที่ 6
    - intern คือ แพทย์ใช้ทุน (หลังจบปี 6 แล้วนั่นเอง)
    - ward คือ ที่ที่ผู้ป่วยพักอยู่ (ผู้ป่วยใน)
    - round คือ การปฏิบัติงานบน ward

3. ปี 1 เรียนอะไรบ้าง
    - ภาษาอังกฤษ เช่น Experimental English 1+2 (อังกฤษมหาวิทยาลัย) English for Medical Professional 1+2 (เนื้อหาจะเกี่ยวกับแพทย์นิดนึง)
    - Physics for Medical Students (จะเรียนฟิสิกส์แค่บางบท โดยเน้นไปที่การประยุกต์เข้ากับเนื้อหาทางการแพทย์)
    - Chemistry for Medical Students (จะเรียนทั้ง gen chem และ organic chem เนื้อหาแอบเยอะพอควร) +Lab
    - Doctor and society (เรื่องเกี่ยวกับแพทย์ทั่วๆไป เช่น การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic approach), ประวัติทางการแพทย์
    - Cell Biology for Medical Students (จะเป็นเนื้อหาคล้ายๆกับชีวะ ม.ปลาย แต่ละเอียดลึกขึ้น และเสริมเนื้อหาบางอย่างที่จะใช้ในปีต่อๆไป)
    - วิชาเลือกทั่วไปอีก 18 หน่วยกิต จากหลายหลายหมวด หลากหลายคณะ ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการของน้อง

4. ปี 2 เรียนอะไรบ้าง
    - ปีนี้น้องจะเน้นเรียนเกี่ยวกับร่างกายที่ปกติของคนเรา
    - น้องจะได้ผ่ากรอส (เรียนกับอาจารย์ใหญ่)
    - ที่คณะจะเรียนเป็นระบบ block (การเรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันไปพร้อมๆกัน) เช่น น้องเรียนระบบทางเดินอาหาร
      ก็จะเรียนว่ามันอยู่ที่ไหน (anatomy) ทำงานยังไง (physiology) และเสริมด้วยการนำไปประยุกต์ใช้ (clinical correlation) เป็นต้น
   -  วิชาอื่นๆ เช่น Metabolism and Nutrition (เมแทบอลิสมและโภชนาการ), Neuroscience (ประสาทศาสตร์) เป็นต้น

5. ปี 3 เรียนอะไรบ้าง
   - ปีนี้เราจะเน้นไปที่ร่างกายที่ผิดปกติ (หลังจากที่เราเรียนร่างกายที่ปกติว่ามันเป็นยังไงในปี 2 ไปแล้ว)
   - วิชาที่เราจะเรียนก็จะมีมากมาย (ก็ปีหน้าจะต้องไปตรวจคนไข้แล้วหนิ) ตัวอย่างเช่น
      Immunology (หลักภูมิคุ้มกันวิทยา), Microbiology and Parasitology, Pathology (หลักพยาธิวิทยา), Pharmacology (หลักเภสัชวิทยา)
   - ปีนี้น้องจะได้ตื่นเต้นกับการเรียนแบบ PBL (Problem based learning) มันคืออะไร ?
     พี่ขออธิบายง่ายๆ ละกัน เช่น จะมีสถานการณ์ให้น้องว่า  ถ้ามีคนไข้มาด้วยอาการอย่างนี้ คิดว่าเค้าเป็นโรคอะไร ควรรักษายังไง
     โดยน้องจะได้หาข้อมูลด้วยตัวเองว่า อาการนั้นสื่อถึงโรคอะไร อาการแทรกซ้อน การรักษา ฯลฯ เพื่อเตรียมความพร้อมให้น้องก่อนขึ้นวอร์ดนั่นเอง

6. ชั้น clinic เรียนอะไรบ้าง

    พี่ขออธิบายรวมๆละกันนะครับ
    - น้องจะได้ใช้ stethoscope (หูฟังของหมออ่า) และตรวจคนไข้ตั้งแต่ปี 4 โดยผ่านวอร์ดต่างๆ เช่น สูติ /ศัลย์ /อายุรศาสตร์ /กุมาร เป็นต้น
    - ปี 6 จะต้องผ่านใหม่ทุกวอร์ด รวมถึงออกชุมชนด้วย ซึ่งน้องต้องฝึกจำ dose ยาที่จะใช้ และทำ(ให้ได้)ทุกอย่าง เพราะ จะจบไปเป็นหมอแล้วหนิ
    - ชั้น clinic จะเรียนกันอย่างเมามัน คุ้มค่าหน่วยกิต
      1. เปิดเทอมก่อนคณะอื่น :: ปี 4 จะเปิดเทอมประมาณ ต้นๆ พ.ค. (คณะอื่นเปิด ต้นๆ มิ.ย.) ซึ่งปี 5 เปิดก่อนปี 4 และ ปี 6 เปิดก่อนปี 5
      2.ตอนเช้าและเย็น น้องจะต้องมาราวด์วอร์ด ทุกจันทร์-ศุกร์ บางทีแถมเสาร์ อาทิตย์ด้วย
         ตอนสายๆและบ่ายๆ ไปเรียนบรรยาย ฝึกทำหัตถการ
         ตอนกลางคืน (ถ้าโชคดี) ปี 4 5 อยู่เวรเที่ยงคืน ปี 6 อยู่เวรถึงเช้า ซึ่งวันรุ่นขึ้งก็จะเรียนตามปกติ ไม่เกี่ยวว่าอยู่เวรแล้ววันรุ่งขึ้นหยุดพักผ่อน - -"

    ** รายละเอียดชั้นคลินิคอื่นๆ ลองโพสทิ้งไว้ (ถ้าสงสัย) แล้วจะมีพี่ๆคลินิคมาตอบให้ครับ = =

pipe64:
4. การเลือกเรียนต่อเฉพาะทาง

เมื่อน้องเรียนจบหกปี (แพทยศาสตร์บัณฑิต) น้องจะเป็น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (GP; General practitioner)
ทำการรักษาได้หลากหลายที่จำเป็น และไม่ซับซ้อนเกินไปนัก
แต่ถ้าใครอยากลงลึกไปอีก ก็จะต้องกลับมาเรียนต่อเฉพาะทาง โดยมักสมัครกันหลังใช้ทุน
(3 ปี สำหรับ กสพท., CPIRD หรือ >3ปี ODOD หรือ < 3 ปี ในบางสาขา, ใช้ทุนสามจังหวัดชายแดนใต้)
ซึ่งรายละเอียดพวกนี้ค่อนข้างละเอียดเกินไป คิดว่าน้องค่อยมาลงลึกกันอีกทีตอนเรียนปีสูงๆ ละกันนะ

* ทั้ง กสพท. / โอลิมปิค / CPIRD / ODOD สามารถเรียนต่อเฉพาะทางได้ครับ

5. การใช้ทุน
http://imd.moph.go.th/work/2551/announce_doclot.pdf   --- พื้นที่ที่จัดสรร
http://imd.moph.go.th/work/2551/lead51.pdf                 ---- ใช้ทุน 3 จังหวัดชายแดนใต้

6. การผ่อนผันทหารของ นิสิต / นศ. แพทย์

1. ใครที่เรียน รด.ครบ 3 ปีแล้ว ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ให้นำปลด (ได้ใบดำ) เลย
    * ข้อนี้เป็นสิทธิสำหรับชายไทยทุกคนอยู่แล้ว

2. ใครที่เรียน รด.จบปี 1 หรือ 2 ก็ได้ และ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จะได้รับการยกเว้นเหมือนข้อ 1.
    
3. ใครที่ไม่เข้าข้อ 1. หรือ 2. ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร โดยหากจับได้ใบแดง จะต้องเข้ารับการฝึก 8 - 10 สัปดาห์ แล้วก็จะออกมาทำงานตามปกติได้
    
* สิทธิข้อ 2. และ 3. นี้สำหรับผู้สำเร็จหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตด้วยทุนรัฐบาล (ไม่รวม มหาวิทยาลัยรังสิต) เท่านั้น


* อ้างอิง http://imd.moph.go.th/work/index.php
   http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=43BE175B7CUGUD6QC8F76RUH[WHMMT

* อ้างอิง พรบ.เกณฑ์ทหาร พุทธศักราช 2497

Topo:

--- Quote from: อนาคตนิสิตCU on January 17, 2009, 06:37:53 pm ---อยากทราบว่าเวลาพวกพี่ๆ
ไปตรวจคนไข้หรือเด็ก
คนพวกนี้กลัวพวกพี่ไหมค่ะ
เพราะพวกพี่เป็นมือใหม่  ;D

--- End quote ---

ก็ต้องมีเทคนิคเล็กน้อยทำราวกับว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ  ;D

พูดมากไม่ได้ เอาไว้รอน้องๆมาสัมผัสเองแล้วกันนะ ::)

Navigation

[0] Message Index

[#] Next page

Go to full version