Docchula Public Board > แนะนำการศึกษาต่อคณะแพทย์จุฬาฯ

อะไร คือ CPIRD และ ODOD

(1/12) > >>

pipe64:
Read Me First

1. เนื่องจากมีน้องๆจำนวนมากสนใจ และสงสัยกันว่า CPIRD และ ODOD คืออะไร
    จึงมีความคิดว่าจะทำกระทู้ประชาสัมพันธ์ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจได้ดีขึ้นครับ

2. สำหรับข้อสงสัยของ CPIRD และ ODOD ขอให้ถามในกระทู้นี้นะครับ

3. สามารถเสนอเนื้อหาเพิ่มเติม หรือที่ขาดตก หรือเสนอให้แก้ไขเนื้อหาที่คลาดเคลื่อนไปได้ครับ

4. ถ้ามีเวลาอ่านทุกหัวข้อจะเข้าใจดีครับ ถ้าไม่มีให้ข้ามไปอ่านข้อ 2. และ 3. เป็นหลักครับ

ไปป์ MDCU64 (NEODOD 12)

pipe64:
1. ความเป็นมาของ CPIRD และ ODOD

          ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการเจรจากันระหว่างผู้อำนวยการกองฝึกอบรม กระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์กิติ ตยัคคานนท์)
และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาฯ ในขณะนั้น (ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์)
เรื่องการผลิตแพทย์เพื่อรับใช้ชาวชนบท โดยกระทรวงสาธารณสุขมีความประสงค์จะได้แพทย์ทำงานในชนบทมากขึ้น
จึงได้มีหนังสือจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขถึงอธิการบดีจุฬาฯ ในขณะนั้น (ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ)
ขอความร่วมมือให้จุฬาฯ ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น โดยรับนิสิตเพื่อจะได้กลับไปทำงานในต่างจังหวัด
           จุฬาฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว เห็นควรร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการผลิตแพทย์ดังกล่าวโดยอาศัยแนวคิด อยู่ 2 ประการ คือ

          1.) จะต้องจัดหลักสูตรเน้นหนักทางชนบท และเรียนในชนบทเพื่อแก้ปัญหาในชนบท
               ในกรณีนี้การเรียนชั้นคลินิกจำเป็นต้องจัดทำในโรงพยาบาลต่างจังหวัดโดยตลอด
          2.) ควรใช้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา โดยอาศัยแพทย์และบุคลากรอื่นของโรงพยาบาลเหล่านั้นเป็นผู้สอน
               ซึ่งจะเป็นวิธีที่มีความสิ้นเปลืองน้อย โดยใช้ทรัพยากรของชาติที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์

          กระทรวงสาธารณสุข และจุฬาฯ ได้จัดประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
และได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2521
จากนั้นจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งมีประธานร่วม ได้แก่ อธิการบดีฯ (ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ)
และรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์อมร นนทสุต) โดยมีกรรมการจากทั้งสองฝ่ายรวมอยู่ด้วย

          คณะกรรมการชุดนี้ ได้ดำเนินการพิจารณาแผนงาน โดยเสนอชื่อโครงการว่า “โครงการ ส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท
ของจุฬาฯ และกระทรวงสาธารณสุข” (Medical Education for Students in Rural Area Project-MESRAP)
ได้วางโครงร่างการดำเนินการ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 4 คณะ คือ คณะอนุกรรมการพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกนิสิต
คณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตร คณะอนุกรรมการแลกเปลี่ยนบุคลากร และคณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกสถานที่
ซึ่งคณะอนุกรรมการทั้ง 4 คณะได้ดำเนินการพิจารณาโครงสร้างและเกณฑ์ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีกองฝึกอบรม (สถาบันพระบรมราชชนก ในปัจจุบัน) กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯเป็นผู้ประสานงาน
ซึ่งคณะอนุกรรมการได้พิจารณาเลือกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เป็นศูนย์การศึกษาภาคคลินิก ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
และได้มีพิธีเปิด “ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี” เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2525
โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน
และมีนายแพทย์ชัยสิทธิ์ ธารากุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และเริ่มจัดการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย
จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ โดยใน พ.ศ. 2540 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้ง
สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ใช้ชื่อย่อว่า “สบพช.” สถานที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 6 ชั้น 9

โทรศัพท์ 0-2590-1975, 0-2590-1979-80
โทรสาร 0-2590-1975, 0-2590-1980,
E-mail address: ocpird@health.moph.go.th

วัตถุประสงค์ของโครงการ
     1.เพิ่มการผลิตแพทย์และให้กระจายแพทย์ไปสู่ชนบทมากยิ่งขึ้น
     2.เพิ่มโอกาสแก่นักเรียนในชนบทให้ได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์
     3.พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย
     4.พัฒนาคุณภาพระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลศูนย์และสถาบันสมทบ

เป้าหมาย
     ผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้

     1. ผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท พ.ศ. 2538 – 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ
         7 มิถุนายน 2537 โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาแพทย์ในช่วงปีการศึกษา 2538 กับ 2549 จำนวน 3,000 คน
         ซึ่งจะได้ผลผลิตแพทย์ ตั้งแต่ปี 2544 ถึง ปี 2555 รวม 3,000 คน
    2. ผลิตแพทย์ตามโครงการเร่งรัดการผลิตแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท พ.ศ. 2547 – 2556
        ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 15 มิถุนายน 2547 โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาแพทย์ ในช่วงปีการศึกษา 2547 – 2556 จำนวน 3,807 คน
        ซึ่งจะได้ผลผลิตแพทย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 ถึงปีพ.ศ. 2562 รวม 3,807 คน

ภาพลักษณ์ของบัณฑิตแพทย์ในโครงการ

     "เป็นแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กำหนดล่าสุดโดยแพทยสภา และเน้นหนักให้เป็นผู้ที่มีความรู้
ความเข้าใจ มีประสบการณ์และมีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในชนบท พร้อมที่จะให้บริการสาธารณสุขเชิงรุกแก่ประชาชนทั้งชุมชน”

ลักษณะพิเศษของโครงการ

     1. คัดเลือกนักเรียนจากชนบท ให้เรียนในภูมิภาค และให้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิม
     2. การเรียนการสอน การศึกษาระดับเตรียมแพทย์และปรีคลินิกชั้นปีที่ 1-3 ศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์และ/ หรือคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
         การศึกษาระดับคลินิก ชั้นปีที่ 4-6 ศึกษาและฝึกงานที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเครือข่าย
     3. การชดใช้ทุนเมื่อสำเร็จการศึกษา

     นักศึกษาแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทเป็นคู่สัญญาของกระทรวงสาธารณสุข (ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2540)
เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับไปปฏิบัติงานที่ภูมิลำเนาเดิม หรือที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี
หากไม่สามารถปฏิบัติได้จะต้องชดใช้เงินให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กำหนด

คุณสมบัติของนักศึกษาแพทย์ในโครงการ

     1. มีสัญชาติไทย
     2. มีหรือเคยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเขตรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยตามโครงการ ฯ
     3. คุณสมบัติอื่นๆ ตามที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด

การคัดเลือกนักศึกษา

     รับนักเรียนในชนบทเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์โดยใช้วิธีรับตรงด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตแพทย์ (โรงเรียนแพทย์)
และโรงพยาบาลศูนย์ของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นที่ตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่นักเรียนชนบทเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ วิธีคัดเลือกใช้วิธีสอบวัดความรู้พื้นฐาน
ที่จำเป็นสำหรับการเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ร่วมกับการสัมภาษณ์ และการสังเกตพฤติกรรม

พื้นที่การรับนักศึกษา
       กำหนดพื้นที่การรับนักศึกษาและโควตาจังหวัดของแต่ละเครือข่ายการผลิตเพื่อให้เกิดการกระจายโดยใช้ข้อมูลการกระจายแพทย์
ตามระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โดยมีการพิจารณาปรับปรุงทุก 3 ปี

ที่มาของข้อมูล
- http://th.wikipedia.org/wiki/ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก_โรงพยาบาลพระปกเกล้า
- http://newcpird.org/html/cpird1.php

pipe64:
2. การสมัครเข้าในโครงการ CPIRD และ ODOD

    2.1 สิ่งที่ควรรู้
          (1) โครงการ CPIRD และ ODOD มีทั่วทั้งประเทศ แต่แบ่งพื้นที่รับผิดชอบต่างกัน เช่น
                - จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทปราการ อยุธยา นครปฐม ลพบุรี นครนายก ขึ้นกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
                - สำหรับจังหวัดอื่นๆ คลิกที่นี่ (เครดิตรูป : น้องอาร์ท MDCU65)
          (2) นิสิต/นักศึกษาแพทย์ จะไปเรียนร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ในชั้นปีที่ 1-3
                   ** ยกเว้น บางจังหวัดที่จะขึ้นกับคณะแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดล (มีคณะเป็นของตัวเองไปเลย)
               และเรียนที่ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิค ในต่างจังหวัด ในชั้นปีที่ 4-6

    2.2 อะไรคือ CPIRD และ ODOD
          (1) CPIRD เป็น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท       ใช้ทุน 3 ปี (เหมือน กสพท.)      ไม่มีเงินสนับสนุนระหว่างเรียน
               ODOD เป็น โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน   ใช้ทุน 12 ปี                               มีเงินสนับสนุนระหว่างเรียน (เช่น ค่าหอ ฯลฯ)
          (2) CPIRD รับนักเรียนชั้น ม.6 จำนวน 90 คน จาก 9 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทปราการ อยุธยา นครปฐม นครนายก ลพบุรี
               ODOD รับนักเรียนชั้น ม.6 จำนวน 20 คน จาก 8 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทปราการ อยุธยา นครปฐม นครนายก
          (3) ทั้ง CPIRD และ ODOD เรียนปี 1-3 ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปี 4-6 ที่ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิคเหมือนกัน  
          (4) ODOD ถ้าพูดให้ง่าย คือ CPIRD ที่ fix อำเภอ เช่น จังหวัด A มีอำเภอ เมือง / B / C / D อาจจะมีแค่อำเภอ C อำเภอเดียวทีสมัคร ODOD ได้
               แต่ CPIRD ก็สมัครได้ทั้งอำเภอเมือง และ B C D ครับ

    2.3 การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในโครงการ CPIRD / ODOD ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
          รายละเอียดค่อนข้างมาก อ่านได้ที่ http://acad.md.chula.ac.th/

   2.4. คะแนนที่ใช้วัดผล
             GAT ถ่วงน้ำหนัก 30%
             PAT 1 (คณิต) ถ่วงน้ำหนัก 20%
             PAT 2 (วิทย์) ถ่วงน้ำหนัก 40%              
             ความถนัดทางการแพทย์ (เฉพาะพาร์ทจริยธรรม) ถ่วงน้ำหนัก 10%

โดยคะแนนแต่ละข้อย่อยของข้อ 2.4 ต้องได้มากกว่า 30%
โดยคะแนนรวมของข้อ 2.4 (GAT + PAT1 + PAT2 + จริยธรรม) ต้องได้มากกว่า 50%
และจะคิดคะแนนของแต่ละโครงการแยกจากกัน (CPIRD, ODOD, โอลิมปิกชีววิทยา)

pipe64:
3. ลักษณะการเรียน

3.1 ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 จะเรียนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เหมือนกับนิสิตที่สมัครเข้ามาโดย กสพท. ทุกประการ)
     ชั้นปีที่ 4 ถึง 6 จะเรีัยนที่ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิค ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งจาก 2 ศูนย์
           - ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิค โรงพยาบาลชลบุรี         (จังหวัดชลบุรี)
           - ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิค โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จังหวัดจันทบุรี)
 
3.2 การเรียนชั้นคลินิก (ปี 4-6)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่กระทู้นี้เลยครับ
http://forum.docchula.com/index.php/topic,6836.0.html
http://forum.docchula.com/index.php/topic,6836.msg112809.html#msg112809 รพ.ภูมิพล
http://forum.docchula.com/index.php/topic,6836.msg112809.html#msg112809 รพ.ชลบุรี

pipe64:
4. FAQs

1. มีการแบ่งชนชั้นในการเรียนมั้ย
    ตอบ พี่ว่าไม่มีนะครับ ยังไงอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://forum.docchula.com/index.php/topic,3578.0.html นะครับ

2. การเรียน จะไ้ด้เนื้อหาเหมือนกับ กสพท. มั้ย? จะเรียนสู้่เพื่อน กพสท. ได้มั้ย
    ตอบ ชั้นปีที่ 1-3 ไม่มีความแตกต่างอย่างใดทั้งสิ้น ส่วนชั้นปีที่ 4-6 เรียนที่ ร.พ.ศูนย์ ดังกล่าวข้างต้นครับ
           ส่วนผลการเรียนขึ้นกับความขยัน และตั้งใจของน้องๆครับ

3. จะสามารถเรียนต่อเฉพาะทางได้มั้ย
    ตอบ ได้ครับ สำหรับ CPIRD ใช้ทุนครบ 3 ปีแล้วค่อยเรียนเฉพาะทางนะครับ ส่วน ODOD อ่านที่นี่เลยครับ ---> http://forum.docchula.com/index.php/topic,15338.msg193957.html#msg193957
          

5.พื้นที่ใช้ทุน
http://imd.moph.go.th/work/2551/announce_project.pdf

Navigation

[0] Message Index

[#] Next page

Go to full version