Docchula Public Board > แนะนำการศึกษาต่อคณะแพทย์จุฬาฯ

แพทย์ชนบท กับ ปริญญา

<< < (6/8) > >>

victory:

--- Quote from: PloY Teeep on July 07, 2009, 09:30:32 pm ---ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P

--- End quote ---

1.ต่อเฉพาะทางที่น้องๆเขียนคงหมายถึง board ต่างๆ ที่จบมาแล้วจะได้วุฒิบัตร(ว.ว.) หรืออนุมัติบัตร(อ.ว.) ของแพทยสภา เช่น internal medicine, surgery, OB-GYN, paediatrics, etc.
ส่วนต่อยอดอื่นๆ ที่เป็นไปได้ยังมีอีกมากครับ โดยไปศึกษาต่อเพื่อรับปริญญาโท-เอก หรือเป็นวุฒิบัตรของสถาบนที่จัดอบรมนั้นๆ ในสาขาต่างๆ เช่น
- clinical epidemiology (ระบาดวิทยาคลินิก)
- forensic psychiatry (นิติจิตเวช) อันนี้ยังไม่มีบอร์ดในเมืองไทย หลายปีก่อนมีรุ่นพี่เรารับทุนไปเรียนที่ UK
- tropical medicine อันนี้ก็ไม่มีบอร์ด มีสอนที่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล
- medical education (แพทยศาสตรศึกษา) 
- medical anthropology มานุษยวิทยาการแพทย์
- สาขาทาง preclinic เช่น physiology, clinical pharmacology, medical microbiology, medical parasitology, medical entomology, Immunology, neuroscience ฯลฯ
- สาขา alternative medicine เช่น acupuncture (ฝังเข็ม), Chinese medicine, Thai traditional medicine
- สาขาที่เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ เช่น Bioinformatics, Biomedical engineering, medical nanotechnology ฯลฯ
- frontier medicine เช่น stem cell, pharmacogenetics ฯลฯ
- anti-aging & aesthetic medicine (เวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชสำอางค์) อันนี้มีคนนิยมเยอะเนื่องจากการเป็น resident skin ยากเต็มที

นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดที่แทบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมา 6 ปี (อาจมีเอี่ยวเล็กๆน้อยๆ)
-นิติศาสตร์ + เนติบัณฑิต
-บริหารธุรกิจ
-นิเทศศาสตร์.....(ไม่เกี่ยวเลยแหละ)
-นักบิน

2.ตัวเลขนี้พี่จำไม่ได้แล้วขอไปหาก่อน แต่ก็เยอะนะ เพราะหลายคนเป็น GP ก็รู้สึกอิ่มตัวแล้ว

125 66:
-ขอถามนอกเรื่องครับพี่วิน

internal medicine คืออายุรศาสตร์
แล้วมี external medicine ไหมครับ

แล้ว extern กับ intern เกี่ยวข้องยังไงไหมครับ
แล้วมีที่มาเกี่ยวอะไรกับ extenal internal ไหมครับ

Topo:
extern ในปัจจุบันคือนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติครับ

ส่วน intern จะหมายถึงแพทย์ใช้ทุน


เท่าที่รู้ เมื่อก่อนจะไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ เมื่อก่อนเรียน 7 ปี

ปีสุดท้ายจะเป็น intern ออกไปอยู่ต่างจังหวัดตลอดปี โดยที่ยังไม่ได้ใบพบ.และใบว. :P

จบ intern แล้วถึงจะมีสิทธิได้ใบว.


ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับผม :)

48:

--- Quote from: Topo on July 09, 2009, 10:36:15 pm ---extern ในปัจจุบันคือนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติครับ

ส่วน intern จะหมายถึงแพทย์ใช้ทุน

เท่าที่รู้ เมื่อก่อนจะไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ เมื่อก่อนเรียน 7 ปี

ปีสุดท้ายจะเป็น intern ออกไปอยู่ต่างจังหวัดตลอดปี โดยที่ยังไม่ได้ใบพบ.และใบว. :P

จบ intern แล้วถึงจะมีสิทธิได้ใบว.

ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับผม :)

--- End quote ---

ไม่กล้าตอบกระทู้นี้เท่าไหร่ เพราะรอผู้รู้ตัวจริง (พี่วิน) มาตอบ  :D

แต่เห็นหลายวันผ่านไป พี่วินยังไม่มา พี่ก็จะขอตอบไปพลางๆ ก่อนละกัน
(แล้วพี่วินคงมาเพิ่ม/แก้ไขให้อีกที)


เมื่อครั้งที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการก่อตั้งขึ้น ระบบการศึกษาแพทยศาสตร์ในขณะนั้นเป็นระบบ 2-2-2  ::)
คือ เรียน Premed 2 ปี Preclinic 2 ปี และก็ clinic 2 ปี (Flexerian System)

ต่อมาในปี 2504 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ 2-2-2-1  ::)
คือ มีการเริ่มระบบ internship ขึ้น นั่นคือ เรียนจบ 6 ปีได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต
และเมื่อผ่าน internship 1 ปี แล้วก็จะได้ใบประกอบโรคศิลป์

ปี 2511 มีพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมเกิดขึ้น
ใบประกอบโรคศิลป์ --> ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ปี 2522 เปลี่ยนจาก 2-2-2-1 เป็น 1-2-3  ::)
คือ ลด Premed เหลือ 1 ปี Preclinic เหมือนเดิม และก็ยกเลิก internship
Clinic จาก 2 กลายเป็น 3 ปี โดยปีุสุดท้ายเรียกว่า externship
เมื่อจบ 6 ปีก็จะได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ปี 2537 เกิดโครงการเพิ่มพูนทักษะขึ้น (แต่ดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2538)
การศึกษาแพทยศาสตร์กลับมาเป็น 1-2-3-1
แต่แพทย์ก็ัยังคงได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตั้งแต่จบการศึกษาปี 6
และบัณฑิตบางคนก็ยังสามารถเป็นแพทย์ได้ และ/หรือเรียนต่อเฉพาะทางบางสาขาได้ โดยที่ไม่ต้องเข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะ

ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านจะไม่ยินดีเรียกแพทย์ที่เข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะนี้ว่า intern
เพราะ intern ในความหมายของท่านคือ ได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว แต่ยังไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
แต่ปัจจุบันคำว่า intern ในประเทศไทย ก็เป็นคำที่ใช้เรียก "แพทย์ใช้ทุน" กันอย่างแพร่หลายแล้ว

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเพิ่มพูนทักษะไปหาอ่านได้จาก
http://www.tmc.or.th/file_download/03.doc นะครับ

ake-aek:
แพทย์เฉพาะทางบางสาขาที่ขาดแคลน เรียนจบ 6 ปีแล้วเรียนต่อได้เลย ปีนี้เป็นปีแรกที่เค้าเริ่มโครงการผลิตอาจารย์แพทย์นักวิจัยมั้ง  ก็น่าสนใจน่ะสำหรับคนอยากเข้าแพทย์จุฬา  ส่วนแพทย์ชนบทมาเรียนแล้วไม่มีการจำกัดเงื่อนไขเรียนต่อเฉพาะทางที่อยากกว่าหมอที่จบจาก กสพท  น่ะเท่าที่รู้มา                                   
ปล. สุดท้ายขึ้นกับอาจารย์ว่าเข้าจาตั้งเกณฑ์ยังไง  8)

Navigation

[0] Message Index

[#] Next page

[*] Previous page

Go to full version