Docchula Community

การเรียนระหว่างแพทย์กับวิศวะ

nevermore

พี่ที่เรียนวิศวะ จุฬา ภาคไฟฟ้า  บอกว่าทำเกรดยากมาก  ข้อสอบยาก 
ถ้าเทียบระหว่างเรียนแพทย์กับวิศวะ 
- อันไหนทำเกรดยากกว่ากันครับ 
- อันไหนเรียนยากกว่า   
- อันไหนเรียนหนักกว่า

ที่บอกว่าเครียดเนี้ยครับ  หมายถึงว่า  ช่วงที่กำลังเรียนหมอตั้งแต่ปี 2 - 6 ก็เครียดแล้ว เรียนหนัก เนื้อหาเยอะ  ต้องท่องจำเยอะ (หรือขึ้นอยู่กับคน แล้วซักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เครียด)  หรือเมื่อจบไปเป็นหมอแล้วเกิดจากความกดดันที่เราต้องรับผิดชอบกับคนไข้

อะไรที่ทำให้เครียดบ้าง

ลักษณะนิสัยแบบไหน  ที่จะทำให้คนนั้นเป็นคนที่เครียด

ลักษณะคนแบบไหนที่เหมาะสมที่จะเป็นหมอ   ประกอบอาชีพแล้วมีความสุขพอควร   จบแล้วประกอบอาชีพด้านนี้โดยไม่คิดจะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น
คนแบบไหนที่ไม่เหมาะจะเรียนหมอ  เรียนไปแล้วทำงานแล้วจะไม่มีความสุข และในที่สุดอาจจะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น   

ในกระทู้อื่น ที่อาจารย์บอกว่าต้องพบกัยอาจารย์ด้านจิตเวช ปีหนึ่งก็ไม่ใช่น้อยนั้น   อยากทราบว่าชั้นปีประมาณกี่คนต่อไปครับ สาเหตุเกิดจากอะไรที่พี่ ๆ ต้องไปพบ  เช่น เรียนหนักเครียด  ทำข้อสอบไม่ได้ดี   หรือสอบแล้วตกซ่อมแล้วก็ยังไม่ผ่าน  หรือไม่ค่อยอยากเรียนแล้ว   อยากขอทราบปัญหาครับ
 
 

Offline pipe64

  • *****
  • 3481
  • 604
ถ้าเทียบระหว่างแพทย์กับวิศวะ พี่ไม่มีข้อมูลฝั่งวิศวะด้วยตัวเอง นอกจากฟัีงๆ มาเหมือนกัน เลยไม่รู้จะเปรียบเทียบให้ยังไงอ่ะ
เรียนแพทย์ มันก็ต้องอาศัยความขยันอ่านพอสมควร (เอาจริงๆ มันก็ต้องการทุกคณะป่ะ ?) อาจจะจำเยอะกว่าคณะอื่นบ้าง
เพราะข้อมูลบางอย่างต้องจำได้ เนื่องจากในห้องฉุกเฉิน ถ้าน้องจำขั้นตอนการรักษา 1 2 3 4 ไม่ได้ มันก็อาจจะช่วยคนอื่นไม่ทันไรงี้

เรียนปี 2, 3 ก็จะใช้ชั่วโมงเีรียนเหมือน ม.ปลาย เลยล่ะ 08.00-16.00++ (โดยประมาณ) มีพุธบ่ายให้ว่างเท่านั้นเอง
บางคณะมีวันหยุดสัปดาห์ละ 1 วันเลยอ่ะ เท่าที่เคยเห็นมา
ส่วนเนื้อหาพี่ว่า มันขึ้นกับแบบฉบับแต่ละคณะป่ะ เช่นๆ ถ้าเรียนสาขาขับร้องคงไม่มีเนื้อหาให้อ่านมากเท่าแพทย์
แต่ก็ใช้ความพยายามเท่ากัน เรียนขับร้องก็ต้องฝึกร้อง เรียนแพทย์ก็ต้องอ่านหนังสือ ฝึกทำ LAB

ส่วนปี 4-6 เราจะเรียนในโรงพยาบาลกัน ความรับผิดชอบมากขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะ เรากำลัง deal กับชีวิตคนละ
ใช้เวลา่ตั้งกะเช้าจดมืด +/- เวรอีกด้วย บางทีวันหยุดก็อาจจะไม่ได้หยุด
ปิดเทอมก็น้อย (ปี 4 เปิดหลังสงกรานต์ ปี 5 เปิดมีนาคม ปี 6 เปิดมกราคม)

ในความคิดพี่ รู้สึกว่าสิ่งที่ทำให้เครียดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วยป่ะ
ถ้าพูดถึงเรื่องเรียนก็บางคนคาดหวังไว้สูง บางคนเฉยๆ
และเมื่อเกิดความเครียดขึ้น แต่ละคนก็มีวิธีจัดการกับมันไม่เหมือนกัน และได้ผลไม่เท่ากันด้วย

ลักษณะอาชีพแบบไหนที่เหมาะสมจะเป็นหมอ? (FAQs)
น้องอยากได้คนแบบไหนมารักษาน้องล่ะ  :)

ส่วนคนแบบไหนเป็นหมอแล้วจะมีความสุข ไม่คิดเปลี่ยนอาชีพ มันขึ้นกะอีกหลายปัจจัยป่ะ
บางคนเกิดมาเพื่อเป็นหมอ เค้าก็โอเค
บางคนไม่อยากเข้าหมอ แต่เข้ามาแล้วก็ปรับตัวได้

ส่วนเรื่องที่ consult จิตเวช พี่ไม่รู้เหมือนกันแฮะ แต่การ consult ก็ไม่แปลกในความคิดพี่
บางจังหวะอาจจะรู้สึกว่าชีวิตไม่ไหวแล้ว (จากเรื่องเรียน เรื่องส่วนตัว) + ตัวเองควบคุมไม่ได้แล้ว
ก็เลยไปหาใครซักคนที่รับฟังเรา เสนอแนะทางออกให้อะไรงี้

Offline aralejung

  • *
  • 145
  • 6
สิ่งสำคัญช่วงเรียน อาจเป็นเกรด
แต่สิ่งสำคัญหลังจากเรียนจบ คือ ชีวิตของคนไข้...

พร้อมแค่ไหน ที่จะรับผิดชอบชีวิตคนอื่น
เสียสละเวลาของตัวเองให้คนอื่น
นั่งเฝ้า...ชีวิตของคนอื่น

เครียดไหม...
เครียด...ที่ช่วยชีวิตเขาไม่ได้

นิสัย...ควรจะมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ควรขยัน หมั่นหาความรู้
เสียสละ

ไม่ควรคิดว่า สบาย มีเงินใช้... เพราะจริงๆ มันต้องแลกด้วยชีวิตของเราเอง ทั้งเรื่อง เวลา สุขภาพกาย สุขภาพจิต

Offline DBoth

  • *
  • 28
  • 13
ฟังๆดูแล้วเหมือนว่าน้องยังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกหมอหรือวิดวะใช่ไหม
น้องอยากประกอบอาชีพอะไรก็เลือกเรียนคณะนั้นแหละน้อง ไม่ต้องไปสนว่าตอนเรียนคณะไหนจะเครียดจะหนักกว่ากัน เพราะการที่น้องพบว่าน้องโตมาแล้วไม่ได้เป็นอะไรอย่างที่น้องอยากเป็นนั้นแหละ น้องจะเครียดกว่าแล้วแถมไม่ใช่ทุกคนที่สามารถหันหลังกลับได้อีกด้วย

soy


ขอแนะนำน้องว่า  เลือกเรียนอะไรแล้ว  ที่จะไม่ทำให้น้องเสียใจในภายหลังค่ะ

บางคนเลือกต้องอาชีพนี้สถาบันนี้เท่านั้น  ถ้าได้จึงจะอยากเรียน  สมหวัง

บางคนอาชีพนี้อย่างเดียว   สถาบันก็จัดอันดับไป 123

บางคนมีความสามารถเรียนได้ และสอบได้ทั้ง   2 อาชีพ  ไม่รู้จะเลือกอะไรดี  ก็พิจารณาจาก  สถาบัน  ความใกล้ชิดกับอาชีพนั้น  เช่น พ่อ-แม่  ญาติพี่น้อง ประกอบอาชีพอะไร  จะได้ให้คำปรึกษาให้ข้อมูลแก่เราได้ 

เป็นคำแนะนำจากความคิดเห็นของพี่  ไม่ทราบท่านอื่นเห็นว่าถูกต้องหรือเปล่าค่ะ  หากเห็นแตกต่างกรุณาแย้งได้นะคะ  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้ค่ะ

Offline lจ้าxญิงทoผ้า

  • *
  • 2274
  • 8
  • แกะละเมอ
อืมมมมมม  พี่อ่านแล้วก็ค่อนข้างสับสนนะ ว่าน้องถามคำถามมากมายมหาศาลนี้เพื่ออะไร?
พี่อยากถามน้องกลับไปก่อนนะว่า  อยากเรียนอะไรกันแน่
ถ้าพี่ตอบว่าหมอเรียนง่ายกว่า น้องจะเรียนหมอมั๊ยคะ?
แล้วถ้าพี่ตอบว่าอย่าเรียนหมอเลย น้องจะเรียนวิศวะหรือเปล่า?
เรียนอะไรมันก็ยากทั้งนั้นแหละคะ  ไม่มีอะไรที่เรียนง่ายหรอก  พี่ยังไม่เคยเห็นเพื่อนคณะอื่นบอกว่าคณะตัวเองเรียนง่ายสักที
วิทยาก็บ่น สหเวชก็บ่น นิติก็บ่น ครุก็บ่น นิเทศมันก็บ่น
สำคัญอยู่ที่ ถึงแม้ว่ามันจะยาก แต่เรียนก็เรียนแล้วก็อยู่กับมันอย่างมีความสุขหรือเปล่า
น้องถามพวกพี่ พวกพี่ก็จะตอบได้แค่ว่าพี่รู้สึกยังไง  พี่แต่ละคนรุ้สึกไม่เหมือนกันหรอก
น้องลองถามตัวเองดีกว่าว่า น้องรู้สึกยังไง เพราะคนที่ตอบความต้องการได้ดีที่สุดก็คือตัวของน้อง
พี่บอกว่าคนเรียนหมอต้องมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ บลาๆๆๆๆ  แล้วไม่ตรงกับน้อง น้องจะเลือกไปเรียนอย่างอื่นรึเปล่า?
คนในคณะมีร้อยพ่อพันแม่ ลักษณะมันก็ไม่ซ้ำกันซักคน บางคนก็เนิร์ด บางคนก็ชิว ปะปนกันไป ลักษณะนิสัยของคนกำหนดการเรียนหมอไม่ได้หรอก

ตอนนี้พี่อยู่ปี 4 ค่ะ อยู่ศูนย์แพทย์ที่ชลบุรี
เครียดมั๊ย  เครียดค่ะ เพื่อนก็หาย สายรหัสก็ว้าเหว่ รุ่นพี่รุ่นน้องที่สนิทก็อยู่จุฬาหมด
งานเยอะมาก เคสคนไข้เยอะมาก พี่ราวน์เช้า7โมงทุกวันจันยันอาทิตย์  เมื่อคืนพี่อยู่เวรถึงเที่ยงคืนกว่ากว่าจะได้นอนก็เกือบตีสอง พรุ่งนี้อยู่เวรอีกแล่ะ
ตื่นมาราวน์เช้าอีก  ต้องมาprogress มานั่งคุยกะคนไข้ พี่คนเดียวดูคนไข้ 8 เตียง  (แต่มีพี่เด๊นท์ควบคุมนะ)
เหนื่อยมากกกกกกกกกก  แต่พี่ก็มีความสุขนะ  ได้คุย ได้ช่วยคนไข้
มีคนไข้ มีญาติ เรียกเราว่า"หมอ" ทุกคำ  ทั้งๆที่เราก็บอกเค้าแล้วว่าเรายังเป็นแค่นักเรียนอยู่  เค้าให้เกียรติกับเรามากๆ
เป็นความสุขเล็กๆที่พี่ได้รับในแต่ละวัน  แม้ว่ามันจะตั้งอยู่บนกองงานมหาศาลก็ตาม

พี่ว่าพี่ตอบไม่ตรงคำถามเท่าไรอ่ะนะ แค่บอกเล่าความเห็นและประสบการณ์ของพี่แล้วกันจ้า ^^

Offline Dorottee

  • *
  • 221
  • 8
  • > <
Quote
ที่บอกว่าเครียดเนี้ยครับ  หมายถึงว่า  ช่วงที่กำลังเรียนหมอตั้งแต่ปี 2 - 6 ก็เครียดแล้ว เรียนหนัก เนื้อหาเยอะ  ต้องท่องจำเยอะ (หรือขึ้นอยู่กับคน แล้วซักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เครียด)  หรือเมื่อจบไปเป็นหมอแล้วเกิดจากความกดดันที่เราต้องรับผิดชอบกับคนไข้

จะมาบอกว่าคนที่ไม่เครียดเลย หรือเครียดน้อยมาก ๆๆๆๆ ในคณะก็มีนะครับ

พวกที่ชิวไปเรื่อย ๆ มันมีทุกที่แน่นอน    8)
แม้ฉันล้ม ฉันยังไม่ตาย ...



soy


น้อง #5  ตอบได้ดีมากค่ะ  น้อง ๆ นักศึกษาแพทย์  และอาจารย์ค่ะ

ขอถามแทนน้องค่ะ  (มีน้องที่เรียนเก่งอยุ่ ม. ปลาย 2 คน อยากได้ข้อมุลค่ะ คุณแม่พี่เลี้ยงลูกมาเองจะเป็นห่วงลูก รักลูก ชี้สงสารลูกค่ะ ท่านเป็นโรควิตกกังวล )  เราจะรู้ตัวเราเองได้อย่างไรว่าเราชอบอาชีพนี้  ไม่ชอบอาชีพนี้   เช่นถ้าจะเรียนหมอเราควรจะมีใจรู้สึกอย่างไรกับอาชีพนี้ที่จะเรียนและทำงานอย่างมีความสุข  ได้นอนพักตื่นขึ้นมาก็หายเหนื่อย

น้องชายพี่ตอน ม. 5   ตอบว่าไม่ชอบหมอ  ที่ไม่ชอบอาชีพนี้เพราะ  หมอเครียด  หมอไม่ค่อยมีเวลาของตนเอง  หมออายุสั้น  เวลานอนแล้วมีคนมาปลุกไม่ชอบ   ถ้าเขาบอกอย่างนี้   เท่ากับว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีกับอาชีพหมอ  แบบนี้เป็นอุปสรรคกับการเรียนมั๊ยค่ะ ถ้าเรียนก็อาจต้องฝืนกับความรู้สึกของตนเองขนาดไหน แล้วต้องทนเรียนไปให้จบหรือเปล่า  ความรู้สึกของน้องที่เล่ามานี้ควรเรียนหรือเปล่าค่ะ 

ขณะนี้อยู่ ม. 6 บอกว่าถ้าสอบได้อาจจะเรียน น้องอาจจะใจเอนเอียง  ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับมีคนชี้แนะด้วยใช่มั๊ยค่ะ (ที่บ้านชี้แนะ)  รวมถึงกระแสเพื่อน ๆ  เราควรจะชี้แนะมั๊ยค่ะ  หรือว่าไม่ต้องพูดอะไรเลยให้เค้าตัดสินใจเอง  หรือถ้าเขาถาม  เพราะคิดว่าตอนนี้หรือช่วงสมัครสอบหมอเพื่อน ๆ  ก็คงจะคุยกันแล้ว  เห็นหาหนังสือและเตรียมลงเรียนความถนัดกันบ้างแล้ว

หรือว่าเมื่อน้องเค้าสัมผัสกับมันจริง ๆ แล้ว  ในความไม่ดีที่เค้าเคยคิด  มันก็อาจจะมีอะไรที่ดีที่น่าเรียนรู้ที่น่าศึกษาซึ่งเขาไม่รู้มาก่อน เป็นเรื่องใหม่ ๆ  เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นดีเหมือนกันที่ได้เรียนรู้  มันมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีในแต่ละอาชีพ   ต้องขึ้นอยู่กับทัศนคติที่มองว่าจะมองเป็นบวกหรือเปล่าใช่มั๊ยค่ะ
การที่จะมองอาชีพแพทย์ให้เป็นบวกได้   สิ่งนั้นต้องเกิดมาจากอะไรบ้าง  ก็คือความชอบใช่มั๊ย  ถ้าชอบซะอย่างก็มองดีไปหมด  ทำอย่างไรถึงจะชอบถ้าเป็นกระแสของเพื่อน  ของ ร.ร. มีสิทธิ์ทำให้เราชอบได้มั๊ย  พี่ว่ามันคงแค่อยากเรียน แบบเหมือนเพื่อน ๆ ไปตามกระแสแบบนี้ไม่ถึงกับชอบ  ถ้าชอบต้องเกิดมาจากใจของตัวเองใช่มั๊ยค่ะ   แต่ที่พี่ว่าการที่จะทำให้เราชอบน่าจะมาจากการเลี้ยงดู  การปลูกฝังมาตั้ง่แต่เล็ก

คำถามสั้น ๆ คือ  ถ้าไม่ชอบหมอ  ควรจะเรียนมั๊ย   น้อง ๆ ที่เรียนอยู่ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นให้น้อง ๆ ได้อ่านกันหน่อยนะคะ  เพื่อเป็นข้อมูลให้น้องได้ทราบ   แล้วให้เขาตัดสินใจเอง   ว่าเขาต้องพบต้องเจอกับอะไรบ้าง  ชั่งใจดูค่ะ 

ขอขอบคุณค่ะ

Offline lจ้าxญิงทoผ้า

  • *
  • 2274
  • 8
  • แกะละเมอ
ถ้าตอบตามความคิดนะคะ
ถ้าน้องบอกว่าไม่ชอบเนี่ย  ลองกลับไปถามน้องดูดีๆก่อนนะคะว่าเค้าสัมผัสกับมันมามากแค่ไหนกัน และถ้าสัมผัสกับมันมาแล้ว จะยอมรับมันได้มั๊ย
คำว่าชอบ กับ ไม่ชอบ นี่มันเป็นอารมณ์เป็นความคิดใช่มั๊ยค่ะ มันก็ย่อมเปลี่ยนแปลงได้เป็นธรรมดา
ชอบในตอนนี้ พรุ่งนี้ก็กลับเป็นเกลียดได้
ที่นี่หลายๆคน เข้ามาด้วยคำว่าก็เพราะสอบติด
การเรียนพรีคลินิก(ปี 1-3) กับการเรียนคลีินิก(ปี 4-6)
อยากบอกว่าต่างกันโดยสิ้นเชิงค่ะ เพิ่งได้รับรู้ตอนขึ้นคลีนิกนี่แหละ
ลำบากทั้งคู่แหละ่ค่ะ แต่คนละแบบ  
บางคนตอนเรียนพรีคลีนิกอยากเรียนหมอมากกกกกกกกก  แต่ขึ้นคลีนิกกลับท้อ ไม่เอาซะแล้ว บางคนท้อตั้งแต่ยังไม่ขึ้นด้วยซ้ำไป
กลับกัน บางคนตอนเรียนพรีคลีนิกไม่อยากเป็นหมอเลยแม้แต่นิด  แต่พอได้สัมผัสกับชีวิต ได้ช่วยคนไข้ กลับอยากเป็นหมอมากกว่าคนแรกซะอีก
ของอย่างนี้ในความคิดของแต่ละคน เอามาวัดกันไม่ได้หรอกค่ะ
ลองให้น้องเค้าลองสัมผัสกับสิ่งที่เค้าอยากเป็น อยากลอง  อย่างพวกค่ายต่างๆก็ช่วยได้เหมือนกันนะคะ
เคยทำค่ายมา น้องอยากเรียนหมอมากๆ แต่พอเจออาจารย์ใหญ่จริงๆก็ไม่เอาแล้ว
การชี้แนะของคนในบ้านก็มีส่วน แต่ถ้าชี้แนะมากไปมันก็กลายเป็นคำว่า กดดัน ให้แก่ต้วเด็กเอง
มีญาติมาถามเหมือนกันคะว่าเรียนหมอต้องเรียนยังไง สอบยังไง บลาๆๆๆ  ทั้งๆที่ตัวลูกเองก็ยังหาตัวเองไม่เจอ
กลายเป็นการสร้างความกดดันก้อนใหญ่ติดหลังลูกตัวเองไปซะแล้ว
ช่วงชีวิตม.6 มันเหมือนหลงทางกลายๆ ทางมีหลายสาย แต่ไม่กล้าเดิน  ชี้แนะในหลายๆทาง แต่อย่าขีดเส้นทางเดินให้กับเด็ก
พูดง่ายแต่ทำยากเนอะ ^^

ถ้าในกรณีของตัวเอง ทางบ้านไม่เคยปลูกฝังความคิดอยากเป็นหมอให้เลยค่ะ
อยากเรียนอะไรก็เรียน อยากสอบอะไรก็สอบ แม่กลับพูดซะอีกว่าไม่อยากให้เป็นหมอ
คลำหาทางเองไปเรื่อยๆ เปลี่ยนไปหลายอย่างมากๆ ไปสอบหลายคณะมากๆบอกไปคงตกใจ
ตอนติดแม่ไม่เชื่ออีกแนะ นึกว่าอำ จนต้องเอารายชื่อให้ดูึ
ตอนที่ติดแล้วต้องเลือกอย่างใดอย่างนึง แม่บอกว่า
"อนาคตตัวเอง ตัดสินใจเอง หนูเลี้ยงดูแม่ในอนาคตก็จริง แต่คนที่อยู่กับมันไปตลอดชีวิตก็คือหนู ไม่ใช่แม่ สิ่งที่ทำในวันนี้คือสิ่งที่จะอยู่กับหนูในอนาคต"
ปัจจุบันแม่ก็เอาคำนี้มาพูดบ่อยๆตอนสอบ หรือเครียดมากๆจนร้องไห้ แล้วก็คิดว่า เออมันก็จริงเนอะ

นอกเรื่องอีกแล่ะ ตอบทีไรนอกเรื่องทุกที นี่เป็นความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ปี4คนนึง
ที่เคยผ่านจุดสับสนในเรื่องเรียนต่อมาแล้ว  ช่วยอะไรได้มั๊ยคะเนี่ย  :P
« Last Edit: June 13, 2010, 10:54:03 pm by lจ้าxญิงทoผ้า »

ถ้าเรารู้ว่าเราทนเพื่ออะไร  และสิ่งนั้นคือความต้องการของเรา เราก็คงจะทนได้เรื่อยๆ
เพราะ "ความหวัง" ยังเรืองรอง

เรื่องตัวเลขว่าปีนึงมาปรึกษากี่คนนั้น อยากรู้เพราะอะไรเหรอครับ ?
ถ้าผมบอกว่าห้าคน สิบคน กับสิบห้าคน จะมีความหมายอะไรต่างกันไหม 
คุณจะรู้ได้ไงว่าข้อมูลนี้จะเกี่ยวกับคุณหรือเปล่า

ต่อให้มีคนมีปัญหาความเครียดเยอะ
ถ้าเขายังเชื่อในทางที่เดิน เครียดก็ไปต่ออยู่ดี...

จากที่อ่านมาทั้งหมด ผมคิดว่า คุณตั้งคำถามกับ "ภายนอก" เยอะ
แต่ไม่รู้ได้ถาม "ภายใน"ของตัวเองแล้วหรือยัง
นั่นน่าจะเป็นเหตุผลของชีวิตคนเรามากกว่า

soy

ขอบคุณอาจารย์ ขอบคุณน้องทุก ๆ ท่านคะ
 
น้อง นศพ.ปี 4 ที่บอกว่าเครียดจนร้องไห้  พี่อยากทราบค่ะว่าเกิดจากปัญหาอะไรบ้าง  ทั้งการเรียน  การใช้ชีวิตระหว่างเรียน  เพื่อถ้าหากน้องพี่ที่บ้านเรียนถ้าเราต้องเจอแบบนี้บ้าง  พวกเราพี่ คุณแม่ จะรู้สึกอย่างไร  จะทุกข์  เป็นกังวลไปกับน้องด้วย  อย่างน้อยพวกเราในบ้านก็มีส่วนไปผลักดันให้เขาตัดสินใจเรียน  เพราะเขาก็รู้อยู่ว่าพวกเราอยากให้เขาเรียน  เขาก็อยากทำให้พวกเราสมหวัง  แต่ถ้าพวกเรารู้ว่าเขาต้องเจอกับสิ่งที่จะทำให้เขาเป็นทุกข์มาก ๆ  โดยที่เขาก็ไม่ชอบอาชีพนี้  แต่ต้องสู้เพื่อให้จบ    แต่.....ก่อนที่จะต้องสินใจเลือกเรียนหมอนั้น  คนที่สอบหมอได้คือคนที่สามารถเข้าได้ทุกคณะ  (คะแนนถึงทุกคณะ สำหรับผู้ที่ติด จุฬา ศิริราช รามา)   เขามีทางเลือกอื่นๆ อีก ที่คิดว่าเรียนได้โดยที่ไม่ต้องมานั่งเครียด ร้องไห้  กดดันมาก ๆ  โดยที่ตนเองก็ไม่ชอบหมออยู่ก่อนแล้ว  เด็กผู้ชายไปเรียนวิศวะก็ได้  ก็เป็นทางเลือกอันดับแรก ๆ   บางครอบครัว  ทั้งคุณพ่อคุณแม่ อาจจะจบมาในสายแพทย์ ทันต  พยาบาล  ก็ยิ่งจะรู้และเข้าใจ  ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถผ่านครงนี้ไปได้ด้วยดี   แต่บางครอบครัวที่ไม่เคยผ่านตรงนี้ กับคนที่เรารักก็รู้สึกกลัว และกังวลค่ะ  ไม่รู้ว่าเราปกป้องเขามากไปหรือเปล่า  ครอบครัวอื่น ๆ เป็นอย่างไรบ้างค่ะ  มีวิธีจัดการอย่างไรบ้าง

Offline IPPUsama

  • *
  • 5419
  • 29
  • One sky, one destiny
ชอบไม่ชอบแล้วแต่คนครับ
ไม่ชอบไม่ได้แปลว่าเรียนไม่ได้
ชอบก็ไม่ได้แปลว่าจะอยากเรียนจนจบ

ชีวิตมหาลัย แตกต่างจากม.ปลายมากๆ
ไม่ว่าน้องจะเรียนคณะไหน น้องเค้าก็ต้องมีการปรับตัวใหม่อยู่ดี
คณะอื่นนอกจากหมอก็ไม่ใช่ว่าว่าง หรือเรียนสบายกว่ามากเท่าไหร่
มันก็หนักกันคนล่ะแบบอ่ะครับ

ความเครียดนี่ก็ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยเรื่องการเรียนอย่างเดียว นั่นเป็นเพียง environmental factor
แต่มันยังมี individual factor ก็คือตัวน้องๆเอง ว่ารับความกดดันได้ดีแค่ไหน เครียดกับเรื่องบางเรื่องแค่ไหน
เช่น ถ้าน้องคาดหวังว่า จะต้องได้ A หรือ B+ เท่านั้น พอเข้าไปแล้วทำได้แค่ B ก็อาจจะเครียดได้
ในขณะที่บางคน ที่เรียนแบบสบายๆไม่คิดอะไรมาก ได้เกรดอะไรก็ไม่ได้ซีเรียสมากเท่าไหร่ ก็แฮปปี้ได้ครับผม

ในชั้นปีผมนะ นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่เข้ามาเพราะสนองความคาดหวังของพ่อแม่
ไม่ก็เป็นเรื่องของค่านิยมที่ว่าสอบได้คะแนนดี ก็เลยเข้าหมอ ไม่ได้อยากเ็ป็นอะไรเป็นพิเศษ ไม่ก็ตามเพื่อนมา
มีส่วนน้อยจริงๆที่เข้ามาเพราะอยากเป็นหมอมากกกกก
แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเค้าเหล่านั้นจะเรียนไม่ได้ หรือไม่มีความสุขในการเรียน หรือจะจบมาเป็นหมอที่ไม่ดี
การเข้ามาเรียนทำให้ได้รับรู้ว่า สังคมคาดหวังกับหมอแค่ไหน ประชาชนนับถือหมอแค่ไหน
แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้หลายๆคนตั้งใจเรียน เพื่อจะจบไปเป็นหมอที่ดีในอนาคตแล้วครับ

ส่วนคนที่ไม่ชอบ
บางคนก็เรียนไม่จบ ไม่อยากเรียนต่อ ก็ซิ่วไม่ก็ดรอปไปค้นหาตัวเอง
บางคนก็เรียนจบ 4 ปี เอาวทบ.ออกไป
บางคนก็เรียนจบไปก็อาจจะไม่ทำอาชีพเป็นหมอ แล้วไปทำอย่างอื่นที่เค้าชอบแทน

ผมว่าก็ต้องลองคุยกับเจ้าตัวดีๆแหละครับ ยังไงก็ควรจะคุยให้เข้าใจกัน
ไม่ควรไปกดดันหรือคาดหวังสูงมากๆ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กเครียดแทนนะครับ

ถ้าคุณผู้ปกครองอยากให้น้องรับรู้ ก็ลองสมัครพวกค่ายอยากเป็นหมอดูก็ได้ครับ
ในค่ายจะให้น้องๆได้สัมผัสส่วนหนึ่งของชีวิตนิสิตนักศึกษาแพทย์
บางคนจากชอบ มาเข้าค่ายก็รู้สึกว่า เออ มันไม่ใช่ที่เราอยากเรียน
บางคนไม่อยากเข้าเล้ย แต้่โดนผู้ปกครองบังคับมา ไม่ก็อยากมีประสบการณ์ชีวิต แต่พอมาก็ดันชอบซะงั้น






ผมเขียนแบบไม่ค่อยเรียบเรียงเท่าไหร่ ถ้าอ่านแล้วงงๆก็ขออภัยด้วยครับ  :P

ปล. ที่จุฬาเรียกผู้เข้าศึกษาว่า นิสิต
เพราะฉะนั้นอย่างพวกผมจะเรียกว่า นิสิตแพทย์ หรือย่อว่า นสพ. นะครับ 
:)

\ \ Oath's Charm, Passing Memories / /

<<  ~  OathKeeper & ObliVion  ~  >>

Offline lจ้าxญิงทoผ้า

  • *
  • 2274
  • 8
  • แกะละเมอ
ต้องขอออกตัวเลยว่าไ่ม่ใช่คนเก่ง คะแนนสมัยนั้นใช้โอ เอเนต ไม่ค่อยดี เข้าได้มาเพราะวิชาเฉพาะจริงๆ :P
อีกทั้งเป็นโครงการ มาจากต่างจังหวัด ก็เรียนพอเอาตัวรอดเท่านั้น
เป็นคนที่ค่อนข้างเครียดง่ายกว่าคนอื่น(มากๆๆๆ)
เจอ stress นิดเดียวก็เครียดได้
ปัญหาที่เจอแล้วเครียด เช่น กองหนังสือที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในแต่ละเทอม
บางทีอ่านหนังสือแล้วฟังเพื่อนถกกันก็ยังนั่งงง เอ๊ะ มันอ่านหนังสือเล่มเดียวกะช้านป่ะเนี่ย ทำไมไม่เห็นรู้เรื่องเลย
หรือไม่ก็บางวิชาที่อ่านยังไงแล้วก็ไม่เข้าใจจริงๆ  จนปัจจุบันนี้ก้ยังไม่เข้าใจ
เจอเพื่อนที่อ่านรอบเดียวก็จำได้ แต่เราอ่านไปหลายทีก็ยังจำไม่ได้
ช่วงสอบ ศรว ก็เป็นช่วงที่เครียดสุดๆอีกช่วงหนึ่ง  ทำไมมันเยอะัจัง อ่านเท่าไรก็ไม่หมด จำได้ว่าตอนสอบเสร็จโทรคุยกะเพื่อนต่างมหาลัย
ตอบเราว่าง่าย มันทำได้ เล่นซะซึมไปเกือบน้ำตาตก เพราะเราออกมาจากห้องด้วยคำว่าทำไม่ได้
บางทีร้องไห้เพราะอกหักก็มี :D
ร้องไห้เพราะโฮมซิกก็บ่อยถึงบ่อยมาก  หลายปัญหาก็จริง แต่ก็อยู่กับมันได้นะ
ตอนนี้ก็เครียดอยู่ รายงานยังไม่เสร็จ เคสก็รับใหม่ คำนวนให้นมเด็กก็ยังไม่ได้ เปลี่ยนชั้นที่อยู่อีก เอ๊า เครียดเข้าไป
บางคนเจออะไร อะไร มันก็เครียด
แต่บางคนก็ไม่เจอปัญหาอย่างงี้  เพราะเค้าไม่เครียด ไม่กังวลจนเกินเหตุก็ได้

monk

ขอตอบในฐานะเด็ก วิดวะ(มช.) นะคับ  
- อันไหนทำเกรดยากกว่ากันครับ  <----- เกรดขั้นต่ำก่อนจบ ปริญญา 2.50 up ก็พอดูได้ ก็สมารถเป็น แพทย์เป็น วิศวะได้ครับ
- อันไหนเรียนยากกว่า    <----- เรียนในสิ่งที่เราชอบ ไม่มมีคำว่า "ยาก" ครับ เด็กแพทย์มาเรียน วิดวะ ก็คงเหนื่อยเหมือนกัน เด็ก วิดวะไปเรียนแพทย์ ก็คงส่ายหัวครับ
- อันไหนเรียนหนักกว่า <=== ไม่ว่าจะเรียนอะไรต้องให้ความสำคัญในการเรียน ทั้งนั้น หนักทั้งคู่ และหนักทุกสาขาวิชาที่อยู่ในโลกใบนี้.....