Docchula Community

เรียนถามอาจารย์เรื่องการใช้ทุนโครงการCPRID

Offline Nutmed

  • *
  • 184
  • 9
คือว่าหลังจากผมได้ไปรพ.ชุมชนแล้วคุยกับผอ.โรงพยาบาลมา

เห็นผอ.บอกว่าตอนนี้โครงการCPRID ตอนใช้ทุนต้องไปจับฉลากรวมเหมือนกสพท.ครับ เนื่องจากมีการร้องเรียนว่าCPRIDไปแย้งที่ใช้ทุนทำให้กสพท.ไม่สามารถเข้ามาใช้ทุนจังหวัดใกล้ๆได้

ไม่ทราบเรื่องจริงรึเปล่า เพราะว่าโครงการCPRIDก็ครอบคลุมเกือบทุกจังหวัดอยู่แล้ว แล้วจะหาว่าทำให้ไม่สามารถมาใช้ทุนได้ยังไง

จุดประสงค์ของCPRIDก็เพื่อจะให้มีแพทย์กระจายไปในจังหวัดนั้นๆ(หรือจังหวัดใกล้เคียง)

และเด็กที่เข้าโครงการนี้รวมถึงผมเอง จุดประสงค์ก็เพื่อเวลาไปใช้ทุนจะได้อยู่ใกล้บ้าน แลกกับการที่ปี4-6ต้องไปเรียนโรงพยาบาลศูนย์

กลับกันเด็กบางคนไม่เลือกโครงการก็เพราะไม่อยากต้องไปเรียนที่รพ.ศูนย์

ถ้าหากตอนนี้CPRID กสพท.จับฉลากวิธีเดียวกันหมด แล้วจะมีโครงการนี้เพื่ออะไร ถ้าอย่างงั้นก็รับตรงเพิ่มจาก200เป็น300คนไม่ง่ายกว่าหรอ

ถ้าอย่างนั้นมีประโยชน์อะไรที่ผมเลือกโครงการแพทย์ชนบท???

Offline victory

  • *****
  • 565
  • 40
ไม่ทราบว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไรครับเนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆในการชดใช้ทุนและเป็นคู่สัญญากับนิสิตในโครงการ CPIRD โดยตรง มหาวิทยาลัยเป็นแค่ผู้ร่วมผลิตบัณฑิตไม่ได้มีอำนาจในการจัดสรรแพทย์ใช้ทุน)

แต่ปีที่ผ่านๆมารวมถึงปี้นี้ก็ยังเห้นว่าบัณฑิตมาจากโครงการ CPIRD ไม่ต้องจับฉลากรวมนะครับ โดยที่ CPIRD จะได้รับการจัดสรรไปก่อนแล้วโควตาที่เหลือถึงจะเป็นการจับฉลาก ถ้าสงสัยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรคงต้องสอบถามไปที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง (แต่เท่าที่สืบมายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงใช้วิธีเดิมอยู่)

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ในปีๆหนึ่งมีไม่น้อยที่บัณฑิตที่มาจากโครงการ CPIRD ไม่อยากกลับไปใกล้บ้านตัวเองเพราะเหตุผลหลายประการ ซึ่งถ้าตามแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่จะย้ายไปไหนไม่ได้เพราะผิดเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้ ทำให้เมื่อเพิ่มพูนทักษาะ 1 ปีผ่านไปก็ลาออกและจ่ายเงินชดใช้ทุนคืน(ซึ่งถ้าเป้น cpird ก้จ่ายคืนกระทรวงสาธารณสุข)เพื่อไปศึกษาต่อหรือไปปฏิบัติงานที่อื่น

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัว จริงๆเรียนอยู่ที่ ศพค (ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก) ที่ตั้งตาม รพศ. ก็มีข้อดีไม่น้อยกว่าข้อเสีย เพราะได้ประสบการณ์สูงกว่าเพื่อนที่เรียนอยู่ในจุฬาฯ (ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำหัตถการต่างๆ) แม้หลายคนจะมองว่าอาจมีความเหลื่อมล้ำในทางวิชาการอญยู่บ้าง แต่อาจารย์ที่อยู่ตาม รพศ ต่างๆก็พยายามพัฒนาให้ไม่ด้อยกว่าโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย
« Last Edit: April 19, 2010, 04:57:01 pm by victory »