Docchula Community

Docchula Public Board => แนะนำการศึกษาต่อคณะแพทย์จุฬาฯ => Topic started by: 11.. on June 27, 2009, 10:16:32 pm

Title: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 11.. on June 27, 2009, 10:16:32 pm
อยากสอบถามพวกพี่ๆว่าโครงการแพทย์ชนบท หรือ cpird นั้น เวลาได้ปริญญา มีเขียนกำกับว่าเปง โครงการชนบทด้วยเหรอ ยังงี้ก้อไม่ใช่ปริญญาบัณฑิตเดียวกับพวก กสพท หรือเป่า  
 อีกเรืองคือยากสอบถาม โครงการชนบทนั้น มีข้อเสียคือต่อเฉพาะทางได้ยากกว่า กสพท จิงหรือ? ขอพวกพี่ๆๆ อธิบายเกี่ยวกับการต่อเฉพาะทางด้วยครับ (อ่านจากกระทู้ที่แล้วๆ ไม่รู้เรืองครับ)


---------------------------------------

ขอตอบคำถามไว้ตรงนี้เลยละกันครับว่า ในปริญญา จะไม่มีการเขียนว่า แพทย์ชนบท ไว้ในนั้น
เพราะ ในใบปริญญาจะระบุเพียงชื่อ นามสกุล + วุฒิิที่ได้ (แพทยศาสตรบัณฑิต) +  เกียรตินิยมอันดับ 1, 2 (ถ้าได้) ครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: math on June 28, 2009, 05:09:43 pm
พี่จะบอกว่าไม่มีพี่ๆคนไหนรู้หรอกครับ
เพราะว่า CPIRD รุ่นแรกยังเรียนอยู่ปี 4 รึปี 5 หว่า ประมาณนี้แหละ

เอาเป็นว่าคนที่รู้ก็ต้องระดับสูงกว่าพี่ๆอยู่แล้ว

แต่ถ้าเป็นแพทย์ชนบทก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ CPIRD นั้น ก็รอพี่ๆเขามาตอบเหมือนกันครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: NattieZ on June 28, 2009, 10:06:40 pm
พี่ว่าก้อเหมือนๆกันนะน้อง

ขอเเค่เราตั้งใจจะเป็นเเพทย์ ไม่ว่าเราจะเปนซีเพิด โอดอด หรือกสพท มันก้อเเพทย์เหมือนกาน

ถ้าน้องตั้งใจ+ขยัน พี่ว่าเวลาต่อเฉพาะทางมันก้ออยุ่ที่ตัวน้องเเหละ

ปล.ตื่นเต้นๆ ตอบให้น้องอ่านเปนครั้งเเรก (เมื่อก่อนพี่ก้อเปิดเว็บนี้เเบบน้องๆเหมือนกาน 55+) :)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: ~ราชาอุนจิร่า@!!! on June 28, 2009, 10:16:46 pm
อันนี้พี่ไม่รู้อ่า แต่เวลาทำงานไม่มีใครสนใจปริญญาหรอก
ไม่ว่ามันจะเขียนว่าอะไร แค่น้องภูมิใจว่าเป็นแพทย์ที่ดี เป็นแพทย์จุฬามันก็โอเคแล้วไม่ใช่หรอ

ส่วนเรื่องงานพี่ก็ไม่รู้เหมือนกันอีก
แต่พี่ว่ามันขึ้นอยู่กับความสามารถนะ ไม่เห็นเกี่ยวกับโครงการเลย


เอาเป็นว่าน้องตั้งใจอ่านหนังสือดีกว่า พี่เอาใจช่วยจ้า...
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Topo on June 28, 2009, 11:27:02 pm
พี่จะบอกว่าไม่มีพี่ๆคนไหนรู้หรอกครับ
เพราะว่า CPIRD รุ่นแรกยังเรียนอยู่ปี 4 รึปี 5 หว่า ประมาณนี้แหละ

เอาเป็นว่าคนที่รู้ก็ต้องระดับสูงกว่าพี่ๆอยู่แล้ว

แต่ถ้าเป็นแพทย์ชนบทก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ CPIRD นั้น ก็รอพี่ๆเขามาตอบเหมือนกันครับ

แพทย์ชนบทรุ่นเก่าๆใช้ชื่อว่า NEO ครับ
ได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตไม่ต่างกับพวกรับตรงหรือ entrance หรอกครับ  :P
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 48 on June 29, 2009, 03:30:56 pm
ได้รับ personal message จาก moderator ให้มาตอบคำถามในกระทู้นี้ครับ

อยากสอบถามพวกพี่ๆว่าโครงการแพทย์ชนบท หรือ cpird นั้น เวลาได้ปริญญา มีเขียนกำกับว่าเปง โครงการชนบทด้วยเหรอ ยังงี้ก้อไม่ใช่ปริญญาบัณฑิตเดียวกับพวก กสพท หรือเป่า  

ใบปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะระบุแต่เพียงชื่อ-นามสกุลและระบุว่าได้รับ
1. แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1)
2. แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
3. แพทยศาสตรบัณฑิต

ไม่มีการระบุว่าบัณฑิตผู้นั้นผ่านกระบวนการรับเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิธีใด

อีกเรืองคือยากสอบถาม โครงการชนบทนั้น มีข้อเสียคือต่อเฉพาะทางได้ยากกว่า กสพท จิงหรือ? ขอพวกพี่ๆๆ อธิบายเกี่ยวกับการต่อเฉพาะทางด้วยครับ (อ่านจากกระทู้ที่แล้วๆ ไม่รู้เรืองครับ)

เกณฑ์การคัดเลือกแพทย์ในการเรียนต่อเฉพาะทางนั้นมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา และสถาบันที่เปิดรับฝึกอบรม

ปัจจัยที่หลายๆ สาขาวิชาและสถาบันนำมาใช้ประกอบการพิจารณา ได้แก่
- ผลการเรียนในระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต
- ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร (ได้จากใบ recommend และข้อมูลอื่นๆ ที่คณะกรรมการรวบรวมมา)
- ต้นสังกัดที่ส่งมาฝึกอบรม
- และผลการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ เป็นต้น


พี่จะบอกว่าไม่มีพี่ๆคนไหนรู้หรอกครับ
เพราะว่า CPIRD รุ่นแรกยังเรียนอยู่ปี 4 รึปี 5 หว่า ประมาณนี้แหละ

เอาเป็นว่าคนที่รู้ก็ต้องระดับสูงกว่าพี่ๆอยู่แล้ว

แต่ถ้าเป็นแพทย์ชนบทก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ CPIRD นั้น ก็รอพี่ๆเขามาตอบเหมือนกันครับ

ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลครับ

แพทย์ชนบท เริ่มขึ้นครั้งแรกโดยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์)
กับกระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลพระปกเกล้าและโรงพยาบาลชลบุรี)
เรียกว่า MESRAP (Medical Education for Students in Rural Area Project)
โครงการนี้เริ่มรับนิสิตรุ่นแรกในปี 2521 จนกระทั่งรุ่นสุดท้ายในปี 2545 (แพทย์จุฬาฯ รุ่น 58)

สำหรับ CPIRD (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctors) นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2538
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น (คณะแพทยศาสตร์) และกระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลขอนแก่น)
ก่อนที่จะขยายความร่วมมือและมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกกว่า 30 แห่งทั่วประเทศในขณะนี้

สำหรับ CPIRD ที่จุฬาฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2540 จนถึงบัดนี้ก็รับนิสิตมา 13 รุ่นแล้ว
แต่ที่จุฬาฯจะเรียกเด็ก CPIRD ว่า NEO เพราะว่าในขณะนั้นเรามี Newtrack
ซึ่งเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโครงการความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับกองทัพอากาศ (โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช)

พอมี track ที่ใหม่กว่าอีก 1 track จึงเรียกว่า Neo (ซึ่งก็แปลว่า "ใหม่" เหมือนกัน)

สำหรับแพทย์ชนบทโครงการสุดท้ายที่เกิดขึ้น คือ ODOD (One District One Doctor)
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่่งทุน
เริ่มรับนิสิตครั้งแรกในปี 2549 ขณะนี้รับนิสิตมาแล้ว 4 รุ่น
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: ~ราชาอุนจิร่า@!!! on June 29, 2009, 03:39:17 pm
ว้าว ขอบคุณพี่ข้างบน บางข้อมูลก็เพิ่งรู้เหมือนกัน ???
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 1234lord5678 on June 29, 2009, 04:41:50 pm
   :P   
ว้าว ขอบคุณพี่ข้างบน บางข้อมูลก็เพิ่งรู้เหมือนกัน ???
   
         
         :P   พี่ข้างบนน้องยังไม่รู้สินะครับ ว่าเป็นใคร หุหุ  ถ้าน้องรู้ น้องคงไม่กล้าเรียกว่าพี่เป็นแน่แท้   :P
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: IPPUsama on June 29, 2009, 05:39:41 pm
ว้าว ขอบคุณพี่ข้างบน บางข้อมูลก็เพิ่งรู้เหมือนกัน ???
นั่นน่ะ อ.ดนัยนะน้อง  :P


สรรพวิชาประสิทธิกร คือ Rank ของอาจารย์นะครับ~
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Moncher* on July 04, 2009, 11:43:44 pm
NEODOD
มาจาก CPIRD(NEO) +ODOD น่ะเอง
สงสัยมานานมากกก

 :'(
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: doctorpuchong on July 05, 2009, 11:58:22 am
 โอะโอ อย่ากังวลตรงเรื่องจบแบบไหนเลยครับ
กังวลว่าจะทำงานได้ดีไหมดีฟ่าเนอะ 

การเรียนการสอนก็ส่วนนึง การขวนขวายเองช่วยได้มากกว่ามากครับสำหรับการเรียนแพทย์
ยุคนี้เข้าถึงข้อมูลกันได้ง่ายมากอยู่แล้ว
อยู่ใน รพ. จุฬา แท้ๆ  แต่นอนเล่นที่หอ เข้าเรียนก็หลับ ผมว่าน่าห่วงกว่า
ระบบคลีนิกที่อื่นจำนวนน้อย เรียนกันใกล้ชิดกว่ามากๆ น่าจะได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำนะ

ส่วนเรื่อง ท่านอาจารย์ 48 นี่ จะทักเป็นพี่ก็ได้มั้งครับ
ถ้าเจออาจารย์เค้าแบบไม่รู้จักมาก่อน  คุณก็คงนึกว่าเป็นรุ่นพี่ห่างกันไม่กี่รุ่น
หรือบางทีอาจจะคิดว่าน้องด้วยซ้ำเพราะ หน้าเค้าอ่อนเยาว์แบ่บว่า  baby face มั่กๆๆๆ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: math on July 05, 2009, 12:35:22 pm
ขอบตุณอ.ดนัยครับที่แก้ไขข้อมูลให้
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Topo on July 05, 2009, 01:12:11 pm
บางทีก็เผลอเรียกพี่ดนัยอยู่บ่อยๆ :P


แล้วโครงการ mega project ล่ะครับอ. ???
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: โอ้ลัลล้า on July 05, 2009, 04:49:20 pm
ความรู้ใหม่ๆ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: PAT GIE on July 05, 2009, 09:43:54 pm
เพิ่งจะรุเช่นกาน
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: •โซดา♫”•— on July 05, 2009, 10:46:14 pm
ส่วนเรื่อง ท่านอาจารย์ 48 นี่ จะทักเป็นพี่ก็ได้มั้งครับ
ถ้าเจออาจารย์เค้าแบบไม่รู้จักมาก่อน  คุณก็คงนึกว่าเป็นรุ่นพี่ห่างกันไม่กี่รุ่น
หรือบางทีอาจจะคิดว่าน้องด้วยซ้ำเพราะ หน้าเค้าอ่อนเยาว์แบ่บว่า  baby face มั่กๆๆๆ

เข้ามารับข้อมูล & เห็นด้วยกับข้อความนี่มาก ๆ ค่ะ
วันนั้นอาจารย์ใส่ชุดไปรเวท เห็นเพื่อน ๆ เดินผ่านไปไม่สังเกตเห็น+ยกมือไหว้กันสักคน(ไม่ใช่ไม่เคารพนะคะ เดินไปถามเพื่อนเขายังบอกไม่เห็นรู้เลยว่าอาจารย์ผ่านไป  :-X)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 48 on July 06, 2009, 03:40:48 pm
บางทีก็เผลอเรียกพี่ดนัยอยู่บ่อยๆ :P


แล้วโครงการ mega project ล่ะครับอ. ???

1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย

    ได้ข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือว่า
    เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีแพทย์จุฬาฯ รุ่น 59 คนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นผู้ชายละกัน) พอรู้ว่าตัวเองสอบติดแพทย์จุฬาฯ ได้
    ก็ไปสะกิดคุณพ่อ/คุณแม่ของตนเองที่เป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่น XX (ขอสงวนรุ่น)
    แล้วก็พูดว่า "ว่าไง พี่ ผมจะมาเป็นรุ่นน้องพี่แล้วนะ"  ;D

2. โครงการ Mega Project มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการผลิตแพทย์เพิ่มตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข
    โดยสรุปก็ต้องบอกว่า เป็นโครงการ CPIRD ที่มีแหล่งเงินมาจากงบประมาณพิเศษของรัฐบาล ไม่ใช่งบผลิตแพทย์เพิ่มตามปกติ
    แต่รายละเอียดอื่นๆ จะเหมือนกับ CPIRD ครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Topo on July 06, 2009, 03:58:40 pm
จริงๆครับ

ผมอยู่อุบล อ.ที่นี่ก็แทนตัวเองว่า "พี่" ตลอดเลย
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: pipe64 on July 06, 2009, 09:53:01 pm

1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย

    ได้ข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือว่า
    เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีแพทย์จุฬาฯ รุ่น 59 คนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นผู้ชายละกัน) พอรู้ว่าตัวเองสอบติดแพทย์จุฬาฯ ได้
    ก็ไปสะกิดคุณพ่อ/คุณแม่ของตนเองที่เป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่น XX (ขอสงวนรุ่น)
    แล้วก็พูดว่า "ว่าไง พี่ ผมจะมาเป็นรุ่นน้องพี่แล้วนะ"  ;D


ทำไมต้องสมมติตรงเพศด้วยครับ  :D
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Tiploidy on July 06, 2009, 10:02:11 pm
บางทีก็เผลอเรียกพี่ดนัยอยู่บ่อยๆ :P



1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย


หนูก็ชอบเวลาอาจารย์แทนตัวท่านว่าพี่ค่ะ  :)

ให้ความรู้สึกคุ้นเคย สนิทสนม และ รัก เหมือนว่า นอกจากจะเป็นครูศิษย์กันแล้ว ยังเป็นพี่น้องด้วย

ส่วนเรื่องแพทย์ชนบทจะมีโอกาสเรียนต่อน้อยกว่า กสพท.นั้น เข้าใจว่า เป็นเพราะว่า แพทย์ชนบทถูกกำหนดให้ไปใช้ทุนที่รพ.ชุมชน
แต่กสพท.ไม่จำเป็น ทำให้เลือกที่จะใช้ทุนใน รพ.ที่เป็นรร.แพทย์ได้
และทำให้มีโอกาสได้รับเลือกให้เรียนต่อมากกว่า รึเปล่าคะ อาจารย์? (เรียกอาจารย์ดีกว่านะคะ
หนูรุ่น 64 แน่ะ)

บางที หมอที่ไปใช้ทุนรพ.ชุมชนอาจจะติดใจ ไม่กลับมาเรียนแล้ว เป็นไปได้รึเปล่า?
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 48 on July 07, 2009, 02:16:50 pm

    เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีแพทย์จุฬาฯ รุ่น 59 คนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นผู้ชายละกัน) พอรู้ว่าตัวเองสอบติดแพทย์จุฬาฯ ได้
    ก็ไปสะกิดคุณพ่อ/คุณแม่ของตนเองที่เป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่น XX (ขอสงวนรุ่น)
    แล้วก็พูดว่า "ว่าไง พี่ ผมจะมาเป็นรุ่นน้องพี่แล้วนะ"  ;D


ทำไมต้องสมมติตรงเพศด้วยครับ  :D

เพื่อปกปิด identity ที่แท้จริงของครอบครัวของพี่คนนี้ครับ  :)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 48 on July 07, 2009, 02:42:51 pm
ขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติม (เท่าที่รู้) นะครับ

1.  พี่ไม่คิดว่า "การเป็นแพทย์ชนบทจะมีโอกาสเรียนต่อน้อยกว่า กสพท." ครับ
     ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านนั้นมีอะไรบ้าง

     การใช้ทุนในภาควิชา pre-clinic ของโรงเรียนแพทย์ ไม่ได้แปลว่า จะมีโอกาสเรียนต่อแพทย์ประจำบ้านมากกว่านะครับ

2.  สำหรับการไปปฏิับัติงานใช้ทุนนั้น
     กลุ่ม ODOD และ CPIRD จะทราบตั้งแต่เซ็นสัญญาตอนปี 1 แล้วว่าจะต้องไปใช้ทุนที่จังหวัดใด ซึ่งหลายคนก็มองว่าเป็นข้อดี
     ในขณะที่กลุ่ม กสพท. และ Olympics จะมีช่องทางให้ไปใช้ทุนมากกว่า ซึ่งมองในอีกมุมหนึ่งก็คือ มีความไม่แน่นอนมากกว่า
     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาต้องจับฉลากเลือกสถานที่ใช้ทุนของกระทรวงสาธารณสุข ที่ชีวิตต้องขึ้นอยู่กับ "ดวง"

     แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ODOD, CPIRD หรือ กสพท. ที่ไปใช้ทุนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
     ก็มีโอกาสไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนทั้งสิ้น ไม่แตกต่างกันมากนัก

     นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของ "โครงการเพิ่มพูนทักษะ" อีก ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้จาก www.tmc.or.th/file_download/05.doc

Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: victory on July 07, 2009, 05:55:55 pm
ส่วนเรื่องแพทย์ชนบทจะมีโอกาสเรียนต่อน้อยกว่า กสพท.นั้น เข้าใจว่า เป็นเพราะว่า แพทย์ชนบทถูกกำหนดให้ไปใช้ทุนที่รพ.ชุมชน
แต่กสพท.ไม่จำเป็น ทำให้เลือกที่จะใช้ทุนใน รพ.ที่เป็นรร.แพทย์ได้
และทำให้มีโอกาสได้รับเลือกให้เรียนต่อมากกว่า รึเปล่าคะ อาจารย์? (เรียกอาจารย์ดีกว่านะคะ
หนูรุ่น 64 แน่ะ)

บางที หมอที่ไปใช้ทุนรพ.ชุมชนอาจจะติดใจ ไม่กลับมาเรียนแล้ว เป็นไปได้รึเปล่า?

ขอมาตอบเสริมจากอาจารย์ดนัยบ้างนะครับ

1.อย่างที่อ.และน้องๆบางคนพูดถึงแล้ว โครงการ CPIRD ODOD จะรู้ที่ไปใช้ทุนหลังจบแล้ว ส่วนใหญ่ก็มีความมั่นคงเรื่องที่ทำงานมากกว่า กสพท ที่ไม่รู้ว่าจะได้ไปอยู่ที่ไหน (ร.ร.แพทย์  แพทย์พี่เลี้ยงในศูนย์แพทย์  โควตาปกติ(จับฉลาก) รพ.ทหาร ฯลฯ)

2.จะมีอยู่ไม่กี่กลุ่มที่ไม่ได้ไป รพช.เวลาไปใช้ทุน (หมายถึงไม่ได้ออกเลยระหว่างการใช้ทุน) ได้แก่ กลุ่มที่เพิ่มพูนทักษะและใช้ทุนอยู่ในร.ร.แพทย์ในภูมิภาค (มช มข มอ) รพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา กลุ่ม preclinic ที่ไม่เพิ่มพูนทักษะ แล้วก็กลุ่มพิเศษ(เช่น ส่งเข้าโปรแกรม traiiningเลย)

 ที่เหลือถ้าไปเพิ่มพูนทักษะกับรพ.สังกัด สป สธ ก็ต้องออก รพช ในปีแรก (2-3เดือนในปีแรก) ถ้าสังกัด สป สธ น้องก็จะได้อยู่ รพช อีกในปี 2-3 แต่ถ้ามาฝากฝึกเฉยๆก้กลับต้นสังกัด

มีเรื่องเล่าขำขัน ก็มีแพทย์ท่านหนึ่งตอนจบมาก็ไป fixed ....ที่ รพศ...... โดยสังกัดมหาวิทยาลัย....... หลังใช้ทุนมา 1 ปีเปลี่ยนใจจะไปอยู่ รพช (ไม่รู้ติดใจอะไร...) ก็เลยต้องทำเรื่องย้ายสังกัดจากมหาวิทยาลัย...ไปอยู่ กระทรวงฯ (ดีที่เขาไม่ไล่ออก) ตออนนี้ก็ happy มากๆ กะบการเป็นหมอ รพช.

3.กระบวนการ สมัคร resident มันมีหลายขั้นตอน หลายเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าน้องรู้จัก อ.....แล้วจะได้ train บางที่กำหนดว่าต้องมีทุนมาถึงจะรับ (ถ้าคนที่ใช้ทุนใน สปสธ ก็มีโอกาสที่จะเอาทุนกระทรวงฯมาได้ แต่ถ้าน้องอยู่ ร.ร.แพทย์ก็อาจไม่มีทุนมาเรียนต่อก้ได้ (ในกรณีที่ ร.ร.แพทย์นั้นไม่สามารถ training ได้เอง)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Tiploidy on July 07, 2009, 09:30:32 pm
ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 48 on July 08, 2009, 03:13:26 pm
ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P

เชิญพี่วิน 58 ช่วยตอบแทนทีละกันครับ ข้อมูลของพี่วิน 58 จะทันสมัยและถูกต้องกว่าของพี่
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: victory on July 09, 2009, 12:13:11 am
ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P

1.ต่อเฉพาะทางที่น้องๆเขียนคงหมายถึง board ต่างๆ ที่จบมาแล้วจะได้วุฒิบัตร(ว.ว.) หรืออนุมัติบัตร(อ.ว.) ของแพทยสภา เช่น internal medicine, surgery, OB-GYN, paediatrics, etc.
ส่วนต่อยอดอื่นๆ ที่เป็นไปได้ยังมีอีกมากครับ โดยไปศึกษาต่อเพื่อรับปริญญาโท-เอก หรือเป็นวุฒิบัตรของสถาบนที่จัดอบรมนั้นๆ ในสาขาต่างๆ เช่น
- clinical epidemiology (ระบาดวิทยาคลินิก)
- forensic psychiatry (นิติจิตเวช) อันนี้ยังไม่มีบอร์ดในเมืองไทย หลายปีก่อนมีรุ่นพี่เรารับทุนไปเรียนที่ UK
- tropical medicine อันนี้ก็ไม่มีบอร์ด มีสอนที่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล
- medical education (แพทยศาสตรศึกษา) 
- medical anthropology มานุษยวิทยาการแพทย์
- สาขาทาง preclinic เช่น physiology, clinical pharmacology, medical microbiology, medical parasitology, medical entomology, Immunology, neuroscience ฯลฯ
- สาขา alternative medicine เช่น acupuncture (ฝังเข็ม), Chinese medicine, Thai traditional medicine
- สาขาที่เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ เช่น Bioinformatics, Biomedical engineering, medical nanotechnology ฯลฯ
- frontier medicine เช่น stem cell, pharmacogenetics ฯลฯ
- anti-aging & aesthetic medicine (เวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชสำอางค์) อันนี้มีคนนิยมเยอะเนื่องจากการเป็น resident skin ยากเต็มที

นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดที่แทบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมา 6 ปี (อาจมีเอี่ยวเล็กๆน้อยๆ)
-นิติศาสตร์ + เนติบัณฑิต
-บริหารธุรกิจ
-นิเทศศาสตร์.....(ไม่เกี่ยวเลยแหละ)
-นักบิน

2.ตัวเลขนี้พี่จำไม่ได้แล้วขอไปหาก่อน แต่ก็เยอะนะ เพราะหลายคนเป็น GP ก็รู้สึกอิ่มตัวแล้ว
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 125 66 on July 09, 2009, 09:33:53 pm
-ขอถามนอกเรื่องครับพี่วิน

internal medicine คืออายุรศาสตร์
แล้วมี external medicine ไหมครับ

แล้ว extern กับ intern เกี่ยวข้องยังไงไหมครับ
แล้วมีที่มาเกี่ยวอะไรกับ extenal internal ไหมครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Topo on July 09, 2009, 10:36:15 pm
extern ในปัจจุบันคือนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติครับ

ส่วน intern จะหมายถึงแพทย์ใช้ทุน


เท่าที่รู้ เมื่อก่อนจะไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ เมื่อก่อนเรียน 7 ปี

ปีสุดท้ายจะเป็น intern ออกไปอยู่ต่างจังหวัดตลอดปี โดยที่ยังไม่ได้ใบพบ.และใบว. :P

จบ intern แล้วถึงจะมีสิทธิได้ใบว.


ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับผม :)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: 48 on July 16, 2009, 01:37:34 am
extern ในปัจจุบันคือนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติครับ

ส่วน intern จะหมายถึงแพทย์ใช้ทุน

เท่าที่รู้ เมื่อก่อนจะไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ เมื่อก่อนเรียน 7 ปี

ปีสุดท้ายจะเป็น intern ออกไปอยู่ต่างจังหวัดตลอดปี โดยที่ยังไม่ได้ใบพบ.และใบว. :P

จบ intern แล้วถึงจะมีสิทธิได้ใบว.

ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับผม :)

ไม่กล้าตอบกระทู้นี้เท่าไหร่ เพราะรอผู้รู้ตัวจริง (พี่วิน) มาตอบ  :D

แต่เห็นหลายวันผ่านไป พี่วินยังไม่มา พี่ก็จะขอตอบไปพลางๆ ก่อนละกัน
(แล้วพี่วินคงมาเพิ่ม/แก้ไขให้อีกที)


เมื่อครั้งที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการก่อตั้งขึ้น ระบบการศึกษาแพทยศาสตร์ในขณะนั้นเป็นระบบ 2-2-2  ::)
คือ เรียน Premed 2 ปี Preclinic 2 ปี และก็ clinic 2 ปี (Flexerian System)

ต่อมาในปี 2504 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ 2-2-2-1  ::)
คือ มีการเริ่มระบบ internship ขึ้น นั่นคือ เรียนจบ 6 ปีได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต
และเมื่อผ่าน internship 1 ปี แล้วก็จะได้ใบประกอบโรคศิลป์

ปี 2511 มีพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมเกิดขึ้น
ใบประกอบโรคศิลป์ --> ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ปี 2522 เปลี่ยนจาก 2-2-2-1 เป็น 1-2-3  ::)
คือ ลด Premed เหลือ 1 ปี Preclinic เหมือนเดิม และก็ยกเลิก internship
Clinic จาก 2 กลายเป็น 3 ปี โดยปีุสุดท้ายเรียกว่า externship
เมื่อจบ 6 ปีก็จะได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ปี 2537 เกิดโครงการเพิ่มพูนทักษะขึ้น (แต่ดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2538)
การศึกษาแพทยศาสตร์กลับมาเป็น 1-2-3-1
แต่แพทย์ก็ัยังคงได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตั้งแต่จบการศึกษาปี 6
และบัณฑิตบางคนก็ยังสามารถเป็นแพทย์ได้ และ/หรือเรียนต่อเฉพาะทางบางสาขาได้ โดยที่ไม่ต้องเข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะ

ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านจะไม่ยินดีเรียกแพทย์ที่เข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะนี้ว่า intern
เพราะ intern ในความหมายของท่านคือ ได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว แต่ยังไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
แต่ปัจจุบันคำว่า intern ในประเทศไทย ก็เป็นคำที่ใช้เรียก "แพทย์ใช้ทุน" กันอย่างแพร่หลายแล้ว

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเพิ่มพูนทักษะไปหาอ่านได้จาก
http://www.tmc.or.th/file_download/03.doc นะครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: ake-aek on August 06, 2009, 01:36:34 pm
แพทย์เฉพาะทางบางสาขาที่ขาดแคลน เรียนจบ 6 ปีแล้วเรียนต่อได้เลย ปีนี้เป็นปีแรกที่เค้าเริ่มโครงการผลิตอาจารย์แพทย์นักวิจัยมั้ง  ก็น่าสนใจน่ะสำหรับคนอยากเข้าแพทย์จุฬา  ส่วนแพทย์ชนบทมาเรียนแล้วไม่มีการจำกัดเงื่อนไขเรียนต่อเฉพาะทางที่อยากกว่าหมอที่จบจาก กสพท  น่ะเท่าที่รู้มา                                   
ปล. สุดท้ายขึ้นกับอาจารย์ว่าเข้าจาตั้งเกณฑ์ยังไง  8)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Lone Wolf on February 28, 2010, 12:51:19 pm

1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย


เป็น defence mechanism แบบ regression รึเปล่าครับ  ;D

ล้อเล่นค้าบ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: เด็ก cpird on May 04, 2010, 08:17:02 pm
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแพทย์วิจัยของจุฬาครับ จะต้องไปอ่านเพิ่มที่ไหนครับ

เท่าที่ทราบมา คือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพชรชมพู (มั้ง)?? เรียนตั้งแต่ปี2-6 นอกเวลา ไม่ได้เพิ่มเวลา 3 ปีเหมือน MD-PhD ของฝั่งมหิดล
อย่างนี้ นิสิตในโครงการ CPIRD ที่ 3 ปีหลังต้องออกไปอยู่ข้างนอกจะมีโอกาสได้เข้าโครงการนี้หรือไม่ครับ

รบกวนด้วยครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: PI CPIRD MU on May 06, 2010, 01:02:47 am
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแพทย์วิจัยของจุฬาครับ จะต้องไปอ่านเพิ่มที่ไหนครับ

เท่าที่ทราบมา คือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพชรชมพู (มั้ง)?? เรียนตั้งแต่ปี2-6 นอกเวลา ไม่ได้เพิ่มเวลา 3 ปีเหมือน MD-PhD ของฝั่งมหิดล
อย่างนี้ นิสิตในโครงการ CPIRD ที่ 3 ปีหลังต้องออกไปอยู่ข้างนอกจะมีโอกาสได้เข้าโครงการนี้หรือไม่ครับ

รบกวนด้วยครับ


ฝั่งมหิดล ที่เปิด MD-PhD ........... PI CPIRD MU --> ก็ไม่สามารถสมัครเข้าโครงการนี้ได้
เพราะผิดเป้าหมายของโครงการแพทย์ชนบท CPIRD ซึ่งมีสัญญาข้อผูกมัดไว้อยู่
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: pipe64 on May 06, 2010, 01:08:55 am
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแพทย์วิจัยของจุฬาครับ จะต้องไปอ่านเพิ่มที่ไหนครับ

เท่าที่ทราบมา คือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพชรชมพู (มั้ง)?? เรียนตั้งแต่ปี2-6 นอกเวลา ไม่ได้เพิ่มเวลา 3 ปีเหมือน MD-PhD ของฝั่งมหิดล
อย่างนี้ นิสิตในโครงการ CPIRD ที่ 3 ปีหลังต้องออกไปอยู่ข้างนอกจะมีโอกาสได้เข้าโครงการนี้หรือไม่ครับ

รบกวนด้วยครับ

พี่ได้คำแนะนำจากหลังไมค์ว่า
ให้น้องถามตอนปฐมนิเทศของฝ่ายวิชาการ ซึ่งจะมีอาจารย์จากฝ่ายวิชาการคณะมาด้วย
ส่วนปฐมนิเทศวิชาการวันไหน เดี๋ยวคงมีประกาศอีกทีนะครับ

 :)

Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: ผปค on October 13, 2010, 01:56:46 pm
เรื่องการต่อแพทย์เฉพาะทางก็มีหลายกระแส คนที่จบกสพท.มาแล้วและกำลังใช้ทุนอยู่บางคน ก็บอกว่าตาม ตจว. เขาจะเน้นส่งคนที่คิดว่าจะกลับไปทำงานที่ของเขาและอยู่ไปเรื่อย ๆ ก็จะเน้นไปที่แพทย์ชนบทมากกว่า บางกระแสก็ว่าจะเน้นที่คะแนนโดยเฉพาะเกียรตินิยมจะเป็นตัวเลือกก่อน บางกระแสก็ว่า ก๋วยจับก็ก่อนเส้นใหญ่ เส้นใหญ่ก็ก่อนเส้นเล็ก สำหรับไม่มีเส้นก็รอก่อน  จบแค่นี้  :-\ ::)
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Milda on June 20, 2011, 07:40:19 pm
ถ้าอ้วนมากจะเรียนหมอได้ไหมค่ะ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: Sinful Darkness on June 20, 2011, 08:21:56 pm
ถ้าอ้วนมากจะเรียนหมอได้ไหมค่ะ
หมอ ไม่จำกัดความอ้วนครับ

แต่ก็ควรลดหน่อย เพื่อสุขภาพของตัวนะครับ
Title: Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
Post by: กรกช on July 11, 2011, 10:16:50 am
ต้องทำยังไงบ้างค่ะ ถึงจะเป็นแพทย์ชนบทได้ ???
ต้องเก่งทางไหนเป็นพิเศษบ้างค่ะ
ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ :-*
ขอบคุณมากๆเลยน่ะค่ะ(สำหรับคนที่ช่วยตอบ) :)