Docchula Community
Docchula Public Board => แนะนำการศึกษาต่อคณะแพทย์จุฬาฯ => Topic started by: bin on November 09, 2009, 09:14:15 pm
-
แพทย์เรียนเรื่องยาเหมือนเภสัชรึป่าวค่ะ
-
ไม่รู้สิ
คงมีทั้งเหมือนและไม่เหมือนแหละ
แต่เภสัชก้ต้องเรียนในด้านที่เค้าจะเอาไปใช้เยอะกว่าป้ะ
-
ตัวพี่เองก็ไม่ทราบว่าทางคณะเภสัชเรียนอย่างไร
แต่พี่เรียนเกี่ยวกัยยาแต่ละกลุ่ม มียาอะไรบ้าง กลไกการออกฤทธิ์เป็นอย่างไร ใช้รักษาโรคอะไร
ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง ควรให้หรือไม่ให้คุ่กับยากลุ่มใด ผู้ป่วยใดควรหลีกเลี่ยงยาตัวนี้
ต้องทราบว่ายาที่ให้ผลการรักษาคล้ายคลึงกันควรเลือกใช้ยาตัวใดก่อน ยาตัวใดควรเก็บไว้ใช้เมื่อจำเป็น
ขนาดยาที่ใช้ต้องใช้อย่างไร ก็อะไรประมาณนี้
ซึ่ง.............มันเยอะมากๆเลยน้อง :'(
-
เภสัช จะเรียนไปทางการผลิตยาด้วยครับ ว่ากว่าจะได้ยา มีที่มาที่ไปอย่างไร
รวมถึงกลไกการออกฤทธิ์ในเชิงลึก (กว่า)
แพทย์เรียนแค่การนำยาไปใช้ทางคลินิกครับ
-
(อ้างอิงจากประสบการณ์ที่พี่เคยไปช่วยงานด้านการเรียนการสอนของคณะเภสัชศาสตร์ของ 2 สถาบันนะครับ)
ในปัจจุบันหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตจะแบ่งเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ clinical pharmacy กับ pharmaceutical science
ถ้าเป็น pharmaceutical science จะเน้นเกี่ยวกับกระบวนการผลิตยา
(แต่ก็ต้องรู้เกี่ยวกับ clinical pharmacy บ้าง)
ถ้าเป็นทางด้าน clinical pharmacy จะเรียนคล้ายๆ กับหมอ
คือ เรียนเพื่อเป็นเภสัชกรที่คอยจ่ายยา/ให้คำแนะนำเรื่องยาให้กับผู้ป่วย
ในสาขานี้เภสัชกรจะเรียนรู้เกี่ยวกับ "โรค" อยู่บ้าง (แต่ไม่มาก/ละเอียดเท่าหมอ)
แต่ควรจะต้องรู้เรื่องยาละเอียดกว่าหมอ เช่น การคำนวณขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ เภสัชกร บุคลากรด้านสาธารณสุข ตลอดจนบุคคลทั่วไป
ก็สามารถมีความรู้เกี่ยวกับยาได้ไม่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสืบค้นข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล การเข้าถึงแหล่งข้อมูล
และการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลของแต่ละบุคคลครับ