Docchula Community

แพทย์ชนบท กับ ปริญญา

Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #15 on: July 05, 2009, 10:46:14 pm »
ส่วนเรื่อง ท่านอาจารย์ 48 นี่ จะทักเป็นพี่ก็ได้มั้งครับ
ถ้าเจออาจารย์เค้าแบบไม่รู้จักมาก่อน  คุณก็คงนึกว่าเป็นรุ่นพี่ห่างกันไม่กี่รุ่น
หรือบางทีอาจจะคิดว่าน้องด้วยซ้ำเพราะ หน้าเค้าอ่อนเยาว์แบ่บว่า  baby face มั่กๆๆๆ

เข้ามารับข้อมูล & เห็นด้วยกับข้อความนี่มาก ๆ ค่ะ
วันนั้นอาจารย์ใส่ชุดไปรเวท เห็นเพื่อน ๆ เดินผ่านไปไม่สังเกตเห็น+ยกมือไหว้กันสักคน(ไม่ใช่ไม่เคารพนะคะ เดินไปถามเพื่อนเขายังบอกไม่เห็นรู้เลยว่าอาจารย์ผ่านไป  :-X)

"I'm just a small man. My heart is moved by what's in front of me, rather than what the world as a whole needs
Walker Allen

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #16 on: July 06, 2009, 03:40:48 pm »
บางทีก็เผลอเรียกพี่ดนัยอยู่บ่อยๆ :P


แล้วโครงการ mega project ล่ะครับอ. ???

1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย

    ได้ข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือว่า
    เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีแพทย์จุฬาฯ รุ่น 59 คนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นผู้ชายละกัน) พอรู้ว่าตัวเองสอบติดแพทย์จุฬาฯ ได้
    ก็ไปสะกิดคุณพ่อ/คุณแม่ของตนเองที่เป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่น XX (ขอสงวนรุ่น)
    แล้วก็พูดว่า "ว่าไง พี่ ผมจะมาเป็นรุ่นน้องพี่แล้วนะ"  ;D

2. โครงการ Mega Project มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการผลิตแพทย์เพิ่มตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข
    โดยสรุปก็ต้องบอกว่า เป็นโครงการ CPIRD ที่มีแหล่งเงินมาจากงบประมาณพิเศษของรัฐบาล ไม่ใช่งบผลิตแพทย์เพิ่มตามปกติ
    แต่รายละเอียดอื่นๆ จะเหมือนกับ CPIRD ครับ
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

Offline Topo

  • *****
  • 2276
  • 54
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #17 on: July 06, 2009, 03:58:40 pm »
จริงๆครับ

ผมอยู่อุบล อ.ที่นี่ก็แทนตัวเองว่า "พี่" ตลอดเลย
I N T E R N ตั ว เ ล็ ก ๆ

Offline pipe64

  • *****
  • 3481
  • 604
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #18 on: July 06, 2009, 09:53:01 pm »

1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย

    ได้ข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือว่า
    เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีแพทย์จุฬาฯ รุ่น 59 คนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นผู้ชายละกัน) พอรู้ว่าตัวเองสอบติดแพทย์จุฬาฯ ได้
    ก็ไปสะกิดคุณพ่อ/คุณแม่ของตนเองที่เป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่น XX (ขอสงวนรุ่น)
    แล้วก็พูดว่า "ว่าไง พี่ ผมจะมาเป็นรุ่นน้องพี่แล้วนะ"  ;D


ทำไมต้องสมมติตรงเพศด้วยครับ  :D

Offline Tiploidy

  • *
  • 345
  • 13
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #19 on: July 06, 2009, 10:02:11 pm »
บางทีก็เผลอเรียกพี่ดนัยอยู่บ่อยๆ :P



1. ยินดีให้เรียกพี่ครับ  :D
    ถ้าน้องมีโอกาสได้ไปสังเกตการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์จะอยู่กันอย่างพี่น้อง  :)
    แพทย์ที่เกษียณไปแล้วก็ยังยินดีให้แพทย์จบใหม่เรียก "พี่" อยู่เลย


หนูก็ชอบเวลาอาจารย์แทนตัวท่านว่าพี่ค่ะ  :)

ให้ความรู้สึกคุ้นเคย สนิทสนม และ รัก เหมือนว่า นอกจากจะเป็นครูศิษย์กันแล้ว ยังเป็นพี่น้องด้วย

ส่วนเรื่องแพทย์ชนบทจะมีโอกาสเรียนต่อน้อยกว่า กสพท.นั้น เข้าใจว่า เป็นเพราะว่า แพทย์ชนบทถูกกำหนดให้ไปใช้ทุนที่รพ.ชุมชน
แต่กสพท.ไม่จำเป็น ทำให้เลือกที่จะใช้ทุนใน รพ.ที่เป็นรร.แพทย์ได้
และทำให้มีโอกาสได้รับเลือกให้เรียนต่อมากกว่า รึเปล่าคะ อาจารย์? (เรียกอาจารย์ดีกว่านะคะ
หนูรุ่น 64 แน่ะ)

บางที หมอที่ไปใช้ทุนรพ.ชุมชนอาจจะติดใจ ไม่กลับมาเรียนแล้ว เป็นไปได้รึเปล่า?
Be Patient for Patient

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #20 on: July 07, 2009, 02:16:50 pm »

    เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีแพทย์จุฬาฯ รุ่น 59 คนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นผู้ชายละกัน) พอรู้ว่าตัวเองสอบติดแพทย์จุฬาฯ ได้
    ก็ไปสะกิดคุณพ่อ/คุณแม่ของตนเองที่เป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่น XX (ขอสงวนรุ่น)
    แล้วก็พูดว่า "ว่าไง พี่ ผมจะมาเป็นรุ่นน้องพี่แล้วนะ"  ;D


ทำไมต้องสมมติตรงเพศด้วยครับ  :D

เพื่อปกปิด identity ที่แท้จริงของครอบครัวของพี่คนนี้ครับ  :)
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #21 on: July 07, 2009, 02:42:51 pm »
ขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติม (เท่าที่รู้) นะครับ

1.  พี่ไม่คิดว่า "การเป็นแพทย์ชนบทจะมีโอกาสเรียนต่อน้อยกว่า กสพท." ครับ
     ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านนั้นมีอะไรบ้าง

     การใช้ทุนในภาควิชา pre-clinic ของโรงเรียนแพทย์ ไม่ได้แปลว่า จะมีโอกาสเรียนต่อแพทย์ประจำบ้านมากกว่านะครับ

2.  สำหรับการไปปฏิับัติงานใช้ทุนนั้น
     กลุ่ม ODOD และ CPIRD จะทราบตั้งแต่เซ็นสัญญาตอนปี 1 แล้วว่าจะต้องไปใช้ทุนที่จังหวัดใด ซึ่งหลายคนก็มองว่าเป็นข้อดี
     ในขณะที่กลุ่ม กสพท. และ Olympics จะมีช่องทางให้ไปใช้ทุนมากกว่า ซึ่งมองในอีกมุมหนึ่งก็คือ มีความไม่แน่นอนมากกว่า
     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาต้องจับฉลากเลือกสถานที่ใช้ทุนของกระทรวงสาธารณสุข ที่ชีวิตต้องขึ้นอยู่กับ "ดวง"

     แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ODOD, CPIRD หรือ กสพท. ที่ไปใช้ทุนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
     ก็มีโอกาสไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนทั้งสิ้น ไม่แตกต่างกันมากนัก

     นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของ "โครงการเพิ่มพูนทักษะ" อีก ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้จาก www.tmc.or.th/file_download/05.doc

การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

Offline victory

  • *****
  • 565
  • 40
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #22 on: July 07, 2009, 05:55:55 pm »
ส่วนเรื่องแพทย์ชนบทจะมีโอกาสเรียนต่อน้อยกว่า กสพท.นั้น เข้าใจว่า เป็นเพราะว่า แพทย์ชนบทถูกกำหนดให้ไปใช้ทุนที่รพ.ชุมชน
แต่กสพท.ไม่จำเป็น ทำให้เลือกที่จะใช้ทุนใน รพ.ที่เป็นรร.แพทย์ได้
และทำให้มีโอกาสได้รับเลือกให้เรียนต่อมากกว่า รึเปล่าคะ อาจารย์? (เรียกอาจารย์ดีกว่านะคะ
หนูรุ่น 64 แน่ะ)

บางที หมอที่ไปใช้ทุนรพ.ชุมชนอาจจะติดใจ ไม่กลับมาเรียนแล้ว เป็นไปได้รึเปล่า?

ขอมาตอบเสริมจากอาจารย์ดนัยบ้างนะครับ

1.อย่างที่อ.และน้องๆบางคนพูดถึงแล้ว โครงการ CPIRD ODOD จะรู้ที่ไปใช้ทุนหลังจบแล้ว ส่วนใหญ่ก็มีความมั่นคงเรื่องที่ทำงานมากกว่า กสพท ที่ไม่รู้ว่าจะได้ไปอยู่ที่ไหน (ร.ร.แพทย์  แพทย์พี่เลี้ยงในศูนย์แพทย์  โควตาปกติ(จับฉลาก) รพ.ทหาร ฯลฯ)

2.จะมีอยู่ไม่กี่กลุ่มที่ไม่ได้ไป รพช.เวลาไปใช้ทุน (หมายถึงไม่ได้ออกเลยระหว่างการใช้ทุน) ได้แก่ กลุ่มที่เพิ่มพูนทักษะและใช้ทุนอยู่ในร.ร.แพทย์ในภูมิภาค (มช มข มอ) รพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา กลุ่ม preclinic ที่ไม่เพิ่มพูนทักษะ แล้วก็กลุ่มพิเศษ(เช่น ส่งเข้าโปรแกรม traiiningเลย)

 ที่เหลือถ้าไปเพิ่มพูนทักษะกับรพ.สังกัด สป สธ ก็ต้องออก รพช ในปีแรก (2-3เดือนในปีแรก) ถ้าสังกัด สป สธ น้องก็จะได้อยู่ รพช อีกในปี 2-3 แต่ถ้ามาฝากฝึกเฉยๆก้กลับต้นสังกัด

มีเรื่องเล่าขำขัน ก็มีแพทย์ท่านหนึ่งตอนจบมาก็ไป fixed ....ที่ รพศ...... โดยสังกัดมหาวิทยาลัย....... หลังใช้ทุนมา 1 ปีเปลี่ยนใจจะไปอยู่ รพช (ไม่รู้ติดใจอะไร...) ก็เลยต้องทำเรื่องย้ายสังกัดจากมหาวิทยาลัย...ไปอยู่ กระทรวงฯ (ดีที่เขาไม่ไล่ออก) ตออนนี้ก็ happy มากๆ กะบการเป็นหมอ รพช.

3.กระบวนการ สมัคร resident มันมีหลายขั้นตอน หลายเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าน้องรู้จัก อ.....แล้วจะได้ train บางที่กำหนดว่าต้องมีทุนมาถึงจะรับ (ถ้าคนที่ใช้ทุนใน สปสธ ก็มีโอกาสที่จะเอาทุนกระทรวงฯมาได้ แต่ถ้าน้องอยู่ ร.ร.แพทย์ก็อาจไม่มีทุนมาเรียนต่อก้ได้ (ในกรณีที่ ร.ร.แพทย์นั้นไม่สามารถ training ได้เอง)

Offline Tiploidy

  • *
  • 345
  • 13
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #23 on: July 07, 2009, 09:30:32 pm »
ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P
Be Patient for Patient

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #24 on: July 08, 2009, 03:13:26 pm »
ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P

เชิญพี่วิน 58 ช่วยตอบแทนทีละกันครับ ข้อมูลของพี่วิน 58 จะทันสมัยและถูกต้องกว่าของพี่
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

Offline victory

  • *****
  • 565
  • 40
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #25 on: July 09, 2009, 12:13:11 am »
ขอบคุณค่ะ  :)

อยากทราบว่า
1. นอกจากการเรียนต่อเฉพาะทางแล้ว ยังมีทางเลือกการต่อยอดแบบไหนอีกไหมคะ??
2. มีหมอทั่วประเทศเยอะไหมที่ไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง

ขอบคุณอีกครั้งค้า

ปล.ไปค่ายแนะแนวม.ปลายแล้วเด็กๆชอบถามมาค่ะ  :P

1.ต่อเฉพาะทางที่น้องๆเขียนคงหมายถึง board ต่างๆ ที่จบมาแล้วจะได้วุฒิบัตร(ว.ว.) หรืออนุมัติบัตร(อ.ว.) ของแพทยสภา เช่น internal medicine, surgery, OB-GYN, paediatrics, etc.
ส่วนต่อยอดอื่นๆ ที่เป็นไปได้ยังมีอีกมากครับ โดยไปศึกษาต่อเพื่อรับปริญญาโท-เอก หรือเป็นวุฒิบัตรของสถาบนที่จัดอบรมนั้นๆ ในสาขาต่างๆ เช่น
- clinical epidemiology (ระบาดวิทยาคลินิก)
- forensic psychiatry (นิติจิตเวช) อันนี้ยังไม่มีบอร์ดในเมืองไทย หลายปีก่อนมีรุ่นพี่เรารับทุนไปเรียนที่ UK
- tropical medicine อันนี้ก็ไม่มีบอร์ด มีสอนที่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล
- medical education (แพทยศาสตรศึกษา) 
- medical anthropology มานุษยวิทยาการแพทย์
- สาขาทาง preclinic เช่น physiology, clinical pharmacology, medical microbiology, medical parasitology, medical entomology, Immunology, neuroscience ฯลฯ
- สาขา alternative medicine เช่น acupuncture (ฝังเข็ม), Chinese medicine, Thai traditional medicine
- สาขาที่เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ เช่น Bioinformatics, Biomedical engineering, medical nanotechnology ฯลฯ
- frontier medicine เช่น stem cell, pharmacogenetics ฯลฯ
- anti-aging & aesthetic medicine (เวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชสำอางค์) อันนี้มีคนนิยมเยอะเนื่องจากการเป็น resident skin ยากเต็มที

นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดที่แทบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมา 6 ปี (อาจมีเอี่ยวเล็กๆน้อยๆ)
-นิติศาสตร์ + เนติบัณฑิต
-บริหารธุรกิจ
-นิเทศศาสตร์.....(ไม่เกี่ยวเลยแหละ)
-นักบิน

2.ตัวเลขนี้พี่จำไม่ได้แล้วขอไปหาก่อน แต่ก็เยอะนะ เพราะหลายคนเป็น GP ก็รู้สึกอิ่มตัวแล้ว

Offline 125 66

  • *****
  • 3244
  • 64
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #26 on: July 09, 2009, 09:33:53 pm »
-ขอถามนอกเรื่องครับพี่วิน

internal medicine คืออายุรศาสตร์
แล้วมี external medicine ไหมครับ

แล้ว extern กับ intern เกี่ยวข้องยังไงไหมครับ
แล้วมีที่มาเกี่ยวอะไรกับ extenal internal ไหมครับ

Offline Topo

  • *****
  • 2276
  • 54
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #27 on: July 09, 2009, 10:36:15 pm »
extern ในปัจจุบันคือนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติครับ

ส่วน intern จะหมายถึงแพทย์ใช้ทุน


เท่าที่รู้ เมื่อก่อนจะไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ เมื่อก่อนเรียน 7 ปี

ปีสุดท้ายจะเป็น intern ออกไปอยู่ต่างจังหวัดตลอดปี โดยที่ยังไม่ได้ใบพบ.และใบว. :P

จบ intern แล้วถึงจะมีสิทธิได้ใบว.


ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับผม :)
I N T E R N ตั ว เ ล็ ก ๆ

Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #28 on: July 16, 2009, 01:37:34 am »
extern ในปัจจุบันคือนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติครับ

ส่วน intern จะหมายถึงแพทย์ใช้ทุน

เท่าที่รู้ เมื่อก่อนจะไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ เมื่อก่อนเรียน 7 ปี

ปีสุดท้ายจะเป็น intern ออกไปอยู่ต่างจังหวัดตลอดปี โดยที่ยังไม่ได้ใบพบ.และใบว. :P

จบ intern แล้วถึงจะมีสิทธิได้ใบว.

ผิดถูกประการใดชี้แนะด้วยครับผม :)

ไม่กล้าตอบกระทู้นี้เท่าไหร่ เพราะรอผู้รู้ตัวจริง (พี่วิน) มาตอบ  :D

แต่เห็นหลายวันผ่านไป พี่วินยังไม่มา พี่ก็จะขอตอบไปพลางๆ ก่อนละกัน
(แล้วพี่วินคงมาเพิ่ม/แก้ไขให้อีกที)


เมื่อครั้งที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการก่อตั้งขึ้น ระบบการศึกษาแพทยศาสตร์ในขณะนั้นเป็นระบบ 2-2-2  ::)
คือ เรียน Premed 2 ปี Preclinic 2 ปี และก็ clinic 2 ปี (Flexerian System)


ต่อมาในปี 2504 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ 2-2-2-1  ::)
คือ มีการเริ่มระบบ internship ขึ้น นั่นคือ เรียนจบ 6 ปีได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต
และเมื่อผ่าน internship 1 ปี แล้วก็จะได้ใบประกอบโรคศิลป์


ปี 2511 มีพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมเกิดขึ้น
ใบประกอบโรคศิลป์ --> ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม


ปี 2522 เปลี่ยนจาก 2-2-2-1 เป็น 1-2-3  ::)
คือ ลด Premed เหลือ 1 ปี Preclinic เหมือนเดิม และก็ยกเลิก internship
Clinic จาก 2 กลายเป็น 3 ปี โดยปีุสุดท้ายเรียกว่า externship
เมื่อจบ 6 ปีก็จะได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม


ปี 2537 เกิดโครงการเพิ่มพูนทักษะขึ้น (แต่ดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2538)
การศึกษาแพทยศาสตร์กลับมาเป็น 1-2-3-1
แต่แพทย์ก็ัยังคงได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตั้งแต่จบการศึกษาปี 6
และบัณฑิตบางคนก็ยังสามารถเป็นแพทย์ได้ และ/หรือเรียนต่อเฉพาะทางบางสาขาได้ โดยที่ไม่ต้องเข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะ

ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านจะไม่ยินดีเรียกแพทย์ที่เข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะนี้ว่า intern
เพราะ intern ในความหมายของท่านคือ ได้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว แต่ยังไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
แต่ปัจจุบันคำว่า intern ในประเทศไทย ก็เป็นคำที่ใช้เรียก "แพทย์ใช้ทุน" กันอย่างแพร่หลายแล้ว

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเพิ่มพูนทักษะไปหาอ่านได้จาก
http://www.tmc.or.th/file_download/03.doc นะครับ
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

Offline ake-aek

  • *
  • 64
  • 2
Re: แพทย์ชนบท กับ ปริญญา
« Reply #29 on: August 06, 2009, 01:36:34 pm »
แพทย์เฉพาะทางบางสาขาที่ขาดแคลน เรียนจบ 6 ปีแล้วเรียนต่อได้เลย ปีนี้เป็นปีแรกที่เค้าเริ่มโครงการผลิตอาจารย์แพทย์นักวิจัยมั้ง  ก็น่าสนใจน่ะสำหรับคนอยากเข้าแพทย์จุฬา  ส่วนแพทย์ชนบทมาเรียนแล้วไม่มีการจำกัดเงื่อนไขเรียนต่อเฉพาะทางที่อยากกว่าหมอที่จบจาก กสพท  น่ะเท่าที่รู้มา                                   
ปล. สุดท้ายขึ้นกับอาจารย์ว่าเข้าจาตั้งเกณฑ์ยังไง  8)