การฝึกสติ สามารถฝึกได้ด้วยการรู้ใจตัวเอง ไม่ใช่คิดไปว่าเรารู้นะครับ เพียงแค่ให้รู้ถึงสภาพ ณ ขณะจิตนั้น โดยอย่าเพ่งไปที่จิตนะครับ
แต่เพียงแค่ระลึกรู้ โดยทุกการระลึกรู้ไปเรื่อย ๆ นั้น จะก่อให้เกิด สัญญา หรือความจำได้ของจิต ว่าเราเคยได้พบกับสัญญานี้มาแล้วว
จะทำให้เราสามารถนำจิตกลับมาสู่ตัวเราได้เร็ว และได้รับกุศลหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน ใจจะสงบขึ้นนะ และถ้าหากทำแล้วใจยังรู้สึกร้อนๆ
ก็อย่าเผลอไปคิดล่ะ ว่า ทำไมทำแล้วใจไม่สงบ จะทำให้เกิดความไม่พอใจ และสงสัย จนก่อเกิดเป็นความคิดที่วนเวียน หลงไปในอกุศลนั้น
แต่เพียงรู้ว่า 'ตอนนี้ ใจเราหลงไปในอกุศลแล้วนะ' บุญกุศล จะเกิดขึ้นใจ ทำให้จิตใจมีความสงบ พร้อมประกอบกรรมดี โดยปกติขณะที่เราโกรธ
ขอเพิ่มเติมหน่อยนะครับ1.
โดยอย่าเพ่งไปที่จิตนะครับ แต่เพียงแค่ระลึกรู้ : หมายความว่า เราไม่ได้จงใจที่จะเพ่ง หรือ พยายามที่จะเพ่ง
แต่ถ้าเกิดไปเพ่งเข้า ก็ให้รู้ลงไปเลยว่า เมื่อขณะจิตก่อนหน้านี้ เพ่งไปแล้ว ขณะที่รู้สึกตัวเนี่ย ไม่ได้เพ่งแล้ว นี่ถือว่าปฏิบัติเสร็จแล้ว ส่วนต่อจาก
ขณะจิตนี้ จิตก็อาจจะเพ่งต่อไปก็ได้ หรืออาจจะแส่ส่ายออกไปหาเรื่องตามประสาของมันก็สุดแล้วแต่ หน้าที่ของเรา มีเพียงอย่างเดียว คือ ระลึกรู้
จิตใจลงปัจจุบัน กล่าวโดยย่อ คือ การปฏิบัตินั้น ไม่มีคำว่า ห้ามทำอย่างนี้ ต้องทำอย่างนั้น ขอเพียงให้รู้ตาม (ไม่ใช่รู้เท่าทัน : เพราะบางคนอาจ
เข้าใจผิดว่า ต้องรู้ให้ทัน ก็ดักสังเกตเอาไว้ แน่นอนว่า นี่เป็นการเพ่ง) สภาวะที่ปรากฏขึ้น รู้แล้วไม่แทรกแซง รู้แล้ว ก็จบแค่นั้น (แต่ก็ไม่ใช่ไปจงใจ
ให้มันจบนะ คือมันเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ว่าเป็นอย่างนั้น) สิ่งใดเกิดขึ้น ให้รู้ว่า
มีบางสิ่งบางอย่าง เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น รู้ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น
2.
และถ้าหากทำแล้วใจยังรู้สึกร้อนๆ ก็อย่าเผลอไปคิดล่ะ ว่า ทำไมทำแล้วใจไม่สงบ จะทำให้เกิดความไม่พอใจ และสงสัย จนก่อ
เกิดเป็นความคิดที่วนเวียน หลงไปในอกุศลนั้น : อันที่จริงแล้ว เผลอไปคิด ก็ให้รู้ว่าเผลอไปคิดแล้ว ใจไม่สงบก็ให้รู้ว่าใจไม่สงบ เกิด
ความไม่พอใจก็ให้รู้ว่าไม่พอใจ สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย จิตมันนะ มีหน้าที่คิด จะไปห้ามได้อย่างไรกัน ก็ที่เราไปห้ามไม่ให้จิตคิด ก็เป็นการบังคับจิตให้
สำรวม อยู่นิ่งๆ นี่เป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นหนึ่งในทางสุดโต่งสองทาง ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการรู้เห็นตามความเป็นจริง และอย่างเช่น ทำไมเราถึง
ไม่พอใจ ก็เพราะเราอยากให้มันสงบ นี่เป็นกิเลสตัวหนึ่ง ชื่อว่า ราคะ หรือที่บางคนเรียก โลภะ นี่แหละเรารู้ตามลงไปเลยว่า มีกิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจแล้ว
แค่นี้ก็ปฏิบัติเสร็จแล้ว
* ในทางวิทยาศาสตร์ มีแนวความคิดหนึ่งที่กล่าวว่า การสังเกตการณ์จะเข้าไปแทรกแซงปรากฏการณ์ ไม่รู้ว่า สัมพันธ์กับการเจริญวิปัสสนาหรือเปล่า ?
ใครพอทราบบ้างไหมเอ่ย ? ชี้แนะหน่อยครับ
** ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวเพิ่มเติมมาข้างต้น เป็นเพียง สิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้มา (เป็นเพียงสุตมยปัญญา) หวังว่าจะช่วยเพิ่มความกระจ่างให้แก่ผู้ที่สนใจ
เริ่มต้นในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย หากแม้นว่า มีข้อผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว และขอความกรุณาผู้ที่มีความเข้าใจ ช่วย
ชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
*** ขออนุโมทนาบุญ ผู้ปฏิบัติธรรม ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วย