Docchula Community

เกี่ยวกับการฟ้องร้องแพทย์(เล็กน้อยแต่สำคัญ)

จ๊อป

ผมไม่ใช้หมอนะครับแต่ผมเองก็เป็นคนที่อยากจะเป็นแพทย์คนหนึ่ง แต่เมื่อผมได้ทราบคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องแพทย์หลายครั้ง ทำให้ผมเกิด ลังเลใจอะครับ ว่าตัวเองจะเข้าแพทย์ดีไหม

พวกพี่หมอก็อาจจะบอกประมาณว่า "จะต้องกลัวอะไรละ ในเมื่อถ้าเรารักษาเขาอย่างรอบครอบ ด้วยความตั้งใจ แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นได้"

ผมขอตอบได้ทันทีครับว่ามีสิทธิ์เกิดครับ เพราะยังมีเหตุการณ์ที่แพทย์ ทำคลอดโดยถูกต้องตามหลักสูตินารีเวช ทุกอย่าง แต่ยังมีตาย โดยที่แพทย์ไม่

ได้ตั้งใจแม้แต่น้อย http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9490000001311 :o เหตุการณ์อย่างนี้ยังมีเกิดขึ้นมาแล้ว และ

ยัง

มีอีกหลายเหตุการณ์ครับ ที่แพทย์ตั้งใจที่จะรักษาคน แต่ดันทำคนตาย จะไม่รักษาก็ไม่ได้ ผมอยากจะถามพวกพี่อยู่สองข้อครับคือ

1.ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ ผมอยากเป็นแพทย์รักษาคนแต่ก็กลัวทำคนตาย แล้วญาติคนไขมาฟ้องร้อง

2.พวกพี่หมอจะมีวิธีในการที่จะรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างไรครับถ้าเกิดว่าเกิดขึ้นกับตัวพวกพี่เอง

สุดท้ายนี้ ผมอยากจะบอกว่าผมเองก็เป็นคนคนหนึ่งที่มีจิตใจที่อยากจะเป็นหมอทุกประการ อันนี้ผมได้ได้น้ำเน่านะครับ แต่ผมพูดออกมาจากใจจริง แม้ว่ามันจะเหนื่อแค่ไหนก็ตาม แต่ผมมั่นใจแน่ๆว่าผมจะมีความสุขจากการที่ผมจะต้องเหนื่อย ในการที่จะต้องช่วยเหลือคนในพ้นจากความทุกข์
แต่การที่มีเหตุการณ์ดั่งกล่าวเกิดขึ้น มันทำให้ผมลังเล ว่าผมควรที่จะวิ่งเข้าไปหาความสุขที่อาจเจือปนด้วยความทุกข์ตรงนั่นดีไหม และขอขอบคุณพี่หมอทุกคนครังที่ตอบคำถามของผม

Offline chanon

  • *
  • 20
  • 0
ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ส่วนใหญไม่ได้เกิดจากการที่แพทย์ทำผิด แต่มีสาเหตุมาจากการสื่อสารที่ไม่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเช่นแพทย์ไม่แจ้งรายละเอียดของแนวทางในการรักษาและความเสี่ยงอันเกิดจากการรักษาต่างๆให้ผู้ปวยและญาติฟัง หรือแจ้งแล้วเขาไม่เข้าใจหรือไม่รับรู้ถึงสิ่งที่แพทย์แจ้ง เมื่อเกิดปัญหาเขาจึงโทษว่าแพทย์รักษาไม่ดี หรือไม่ยอมรักษา ข้อนี้แก้ได้โดยการให้เวลากับการอธิบายรายละเอียดของโรค การดำเนินของโรค แนวทางรักษา และความเสี่ยงต่างๆให้ผู้ป่วยฟังทั้งก่อนการรักษา และระหว่างการรักษา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเขาเข้าใจสิ่งที่เราบอก และลงบันทึกว่าเราได้ให้คำแนะนำอย่างไร เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
  สาเหตุอื่นได้แก่
 แพทย์ทำพลาด ซึ่งพบได้บ่อยในแพทย์จบใหม่ แก้ได้โดย ตอนเป็นนักเรียนก็ให้ตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด จบไปก็ขยันหาความรู้ตลอดเวลา  ไม่ว่าอย่างไรก็ตามความรู้ทางการแพทย์มีความกว้างขวางลึกซึ้งมาก เวลา6 ปีไม่สามารถเรียนรู้ทุกอย่างได้หมด แต่อย่างน้อยถ้าเราทำดีที่สุดแล้วเกิดความผิดพลาดก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  และเมื่อเกิดความผิดพลาดก็อย่าปิดบังคนไข้ ให้บอกเขาดีๆ โดยอาจปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ที่อาวุโสกว่าด้วย
 สาเหตุอีกประการคือการที่สังคมเรามีความเปลี่ยนแปลงจากแต่ก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยก็เปลี่ยนไปด้วย ความเคารพ และความศักดิ์สิทธิของวิชาชีพนี้ลดลง  มีคนจำนวนหนึ่งเห็นว่าแพทย์เป็นเพียงลูกจ้างรัฐบาลที่มีหน้าที่รักษาพวกเขาให้หาย และไม่เข้าใจถึงความซับซ้อนของร่างกายมนุษย์ว่าแตกต่างจากเครื่องจักรอย่างมาก และการแพทย์ไม่ใช่การเป็นช่างซ่อมเครื่องยนต์ ไม่ใช่การท่องหนังสือหรือสูตรมารักษาคนไข้ แต่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลปะ  ปัญหานี้แก้ยาก
 สาเหตุสุดท้ายคือแพทย์ทำผิด เกิดจากการที่แพทย์ขาดสติ แก้โดยที่เราต้องระลึกอยู่เสมอเวลาทำงานว่าเราเป็นใคร กำลังทำอะไร เพื่อใคร ยึดพระราชดำรัสของพระราชบิดาไว้เสมอ อย่าเห็นสิ่งอื่นใดสำคัญกว่าผลประโยชน์ของผู้ป่วย


Offline *Jobby

  • *
  • 36
  • 4
เรื่องแพทย์ทำผิด ทำถูก บางทีก็พูดยากว่าอะไรผิดอะไรถูก
เพราะ medicine ไม่ 100%

โรคหนึ่งๆอาจรักษาได้หลายแบบ แม้แต่ guideline ออกมาก็ไม่ตรงกันของหลายสำนัก และยังเปลี่ยนแปลงได้ตามผลวิจัยใหม่ๆ
บางโรคก็มีโรคจริงๆ แต่ไม่มี standard treatment ไม่มี guideline เป็น expert opinion only

สำหรับบ้านเรายังมีปัญหาเรื่องทรัพยากรอีก เช่นเมื่อไหร่ควร refer ? ต้องส่ง lab หรือไม่ เช่นคนไข้ปวดหัว มีลักษณะเข้าได้กับไมเกรนทุกอย่าง แต่ก็คงบอกได้เพียงว่า 99.99% มันเหมือนไมเกรน คงไม่มีใครกล้าฟันธงได้ว่า คนไข้จะไม่มีโรคอะไรซ่อนในหัวอยู่เลย ก็อาจจะเกิดคำถามเช่น ต้องส่งเอ็กซ์เรย์สมองหรือไม่ ?
เรื่องความเป็นผู้เชี่ยวชาญก็เป็นปัญหา
เช่น คนไข้เป็น DM ชนิด poor control เกิด complication มากมาย ถ้าคนไข้คนนี้เกิด DKA(ภาวะเลือดเป็นกรด) แล้วแพทย์ทั่วไปทำการรักษา แต่ผู้ป่วยเสียชีวิต ถือว่าแพทย์รายนี้ได้ดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุดหรือยัง ? เพราะแพทย์ทั่วไปไม่ใช่พวกเชี่ยวชาญ หรือจะต้องส่งให้ แพทย์อายุรกรรม หรือต้องส่งให้แพทย์อายุรกรรมต่อมไร้ท่อ ? จึงจะถือว่าเป็น best care

โรงพยาบาลที่เป็น primary care ก็มีปัญหาอีกมาก เช่นเรื่องจำนวนคนไข้ ต้องตรวจเพียงคนละ 3-4 นาที ซึ่งเทียบกับมาตรฐานของอเมริกาที่อยู่ที่ 30 นาที - 1 ชม. เรื่องความผิดพลาดก็ย่อมจะมีมากขึ้นเป็นธรรมดา หรือแพทย์จะตรวจละเอียดตามอเมริกา ก็จะมีคนไข้ส่วนมากที่ไม่ได้ตรวจ ก็จะผิดต่อจรรยาบรรณ หรือไม่ ?

เรื่องอดนอน ที่อเมริกาถ้าแพทย์อยู่เวรจะได้กลับไม่เกินเที่ยงในวันรุ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยเรา ไม่ได้นอน 2-3 วันติดกัน ก็ยังเห็นได้ทั่วไป แม้แต่ในโรงเรียนแพทย์

ด้วยวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา แพทย์ในสายตาของสังคมเปลี่ยนกลายเป็นผู้ให้บริการ ประชาชนต้องรักษาสิทธิของตน

การสื่อสารที่ดีกับคนไข้ น่าจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินของศาลเองก็ต้องมีความเป็นธรรม ต้องใช้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ(อย่างที่กำลังเถียงกันในปัญหาเรื่อง พรบ. ในเรื่องกระบวนการตัดสิน) และผู้เชี่ยวชาญต้องตัดสินในบริบท ทรัพยากร สถานการณ์ ที่เอื่้ออำนวยต่อแพทย์นั้นๆด้วย เพราะการที่ผู้เชี่ยวชาญมานั่งพิจารณาเคสย้อนหลังคอยหาจุดผิด มันก็ย่อมง่ายกว่าในสถานการณ์จริงๆที่แพทย์ต้องตัดสินใจในทันทีอยู่แล้ว

ทุกอาชีพก็มีความเสี่ยงละครับ

เป็นวิศวกร คุมการสร้างตึก ตึกก็อาจร้าว ถล่ม ถูกฟ้องร้อง

เรียนเศรษฐศาสตร์ การเงิน จบมาบริหารกองทุน ก็อาจขาดทุน ถูกฟ้องร้อง

เป็นทหาร นี่ยิ่งแล้วใหญ่ อาจถึงตายทั้งตัวเองและคนอื่นๆอีกมากมาย

คุณอาจแย้งว่า แต่อาชีพอื่น ความเสียหาไม่ถึงกับชีวิตคนเหมือนแพทย์

ก็จริงครับ  ความรับผิดชอบมันก็ตามบทบาท


The great power comes from the great responsibility...

ถ้าความอยากเป็นหมอ น้อยกว่าความกลัว  ก็อยาเรียนเลยครับ ไม่มีความสุข

ถ้าในความกลัว อยากมีความหายกลัว

ก็จงกล้าที่จะยอมรับ "ความเสี่ยง" ในชีวิตเถิด

...

ผมคิดว่า ความเสี่ยงทางการแพทย์ยุคนี้ไม่ได้ถูกเพิ่ม แต่ถูกทำให้ชัดเจนขึ้น เท่านั้นเอง


เออ ..เขียนแล้วอ่านเองรู้สึกมึนๆ  (เมื่อคืนนอนน้อย)

นิสิตท่านใดอ่านที่ผมเขียนแล้วแปร่งๆไหมครับ  ช่วยcommentและเชิญแย้งได้ถ้าเห็นว่า หารใช้เหตุผลยังไม่รัดกุม
ขอบคุณมาก