สำหรับพี่... พี่อาศัยการตั้งใจเรียนในห้องอ่ะ
พี่เป็นคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเอามากๆ พี่เลยตั้งใจเรียนในห้อง ตั้งแต่ ม.4 (แต่ไม่ได้เรียนแบบบ้าคลั่งนะครับ) โดยคิดอยู่เสมอๆ ว่าจะเก็บในห้องให้หมด จะได้ไม่ต้องกลับไปอ่านเนื้อหาอย่างหนักหน่วงที่บ้าน ถึงเวลาใกล้สอบค่อยอ่าน(55+) จะได้มีเวลาไปเล่นไปชิว พอขึ้น ม.6 ก็จะไม่ต้องอ่านของ ม.6 มาก ที่เหลือก็แค่กลับไปทวนของ ม.4-5 ให้ปึ้กๆ (ถึงตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับน้องแล้วนะครับว่าตอนเรียน ม.4 - ม.5 ตั้งใจเรียนแค่ไหน และพื้นฐานแน่นแค่ไหน ถ้าน้องเรียนแบบฐานไม่แน่นล่ะก็ พี่ก็ขอเอาใจช่วยนะครับ เพราะมันจะเหนื่อยกว่าคนที่ฐานแน่นๆ มาแล้วพอสมควรเลยล่ะ) ส่วนเรื่องเรียนพิเศษพี่ก็เรียนนะ และก็ทุ่มให้กับมันเต็มที่เหมือนกัน เพราะไม่ชอบอ่านหนังสือ 55+
***แต่ในมหาลัยน้องจะมาทำแบบนี้ไม่ได้แล้วนะครับ มันต้องอ่านเองด้วยในห้องด้วย 50-50 เลยล่ะ (บางคนอาจบอกเลยว่า อ่านเอง 80 - ในห้อง 20 ด้วยซ้ำ) เพราะฉะนั้นใครถนัดแบบพี่ ตอนนี้ยังมีโอกาสทำ ก็ทำซะนะครับ
ทางด้านของวิชาอ่านวิชาท่อง... พี่แนะนำนะครับว่าให้อ่านบ้าง แต่ยังไม่ต้องเต็มที่กับมันมากนัก และให้อ่านแบบเต็มที่จริงๆ ช่วง 2-3 เดือนก่อนจะสอบอ่ะครับ ไม่อย่างนั้นถ้าไปอ่านก่อนช่วงนี้... พี่ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าจะลืมกันไปเกือบหมดซะก่อนอ่ะครับ
และช่วง 1-2 เดือน ก่อนสอบก็เป็นช่วงที่ควรจะเริ่มทำข้อสอบเก่าๆ ได้แล้วนะครับ ถ้าอ่านไม่ทันก็ขอให้ลองทำไปก่อน แล้วดูว่าเรื่องไหนทำไม่ได้ แล้วค่อยมาอุดรูรั่วทีหลัง (ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่แนะนำเท่าไร นอกจากจะไม่ไหวแล้วจริงๆ)
ส่วนเรื่องการทำข้อสอบพี่ก็ไม่ค่อยมีเทคนิคอะไรเท่าไร แต่อยากจะเตือนอะไรบางอย่างนิดหน่อย (ถ้าข้อสอบยังออกในแนวๆ เดิมนะครับ)
1. ข้อสอบเลข... พี่สังเกตเห็นว่าในช่วง 2 ปีหลังนี้มันยากขึ้นอย่างได้ใจมากๆ เลยน้อง เพราะฉะนั้นถ้าน้องทำคะแนนตั้งแต่ปี 48 ลงไปได้มาก อย่าเพิ่งตายใจนะครับ (คือว่ามันก็ดีแล้วแหละ แต่อย่าประมาทนะครับ) และ
ขอให้น้องๆ ตั้งใจเรียนที่โรงเรียนให้มากเรื่องสถิติกับความน่าจะเป็นนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องที่ง่ายและออกข้อสอบปรนัยรวมกันถึงประมาณ 5 ข้อ ถ้าโรงเรียนน้องเค้าสอนเรื่องพวกนี้ตอน ม.6 ก็เต็มที่กับมันเลยครับ ถ้าน้องแม่นๆ ละก็ ข้อหลังๆ (ประมาณ 21-25) น้องจะใช้เวลากับมันน่าจะไม่เกิน 10 นาที จะประหยัดเวลาไปคิดข้ออื่นได้อีกเยอะ และเรื่องเวคเตอร์ ปี 50-51 มันเป็น 3 มิติ ไม่เหมือนกับปีก่อนๆ (แค่ 2 มิติ) (ซึ่งพี่ก็คิดไม่ได้ 55+
)
2. ข้อสอบวิทยาศาสตร์... พยายามทำชีวะให้เสร็จก่อนเวลานะครับน้อง ไม่อย่างนั้นเคมีน้องจะทำไม่ทัน (พี่เป็นมาแล้ว ดิ่งเกือบ 10 ข้อ
)
3. ข้อสอบภาษาไทย... ถ้าน้องเหลือเวลาก็อย่าลืมไปทวนวรรณคดีวิจักษ์นะครับ เพราะมันก็ออกเยอะเหมือนกันและก็เน้นจำด้วย (ส่วนมากจะถามว่าคนที่พูดถึงในกลอนหมายถึงใคร หรือว่าคำในบทกวีหมายถึงอะไร ทำนองนี้อ่ะครับ ซึ่งพี่คิดว่าอาจารย์ที่โรงเรียนของน้องๆ ก็เน้นๆ ช่วงนี้มาแล้วทั้งนั้น)
ส่วนสังคม... พี่ไม่เก่งอ่ะ เหอๆๆ ภาษาอังกฤษ พี่ก็ไม่รู้จะพูดว่าไงดี เอาเป็นว่าขอพูดแค่พาร์ทแรกของอังกฤษ มันจะเป็นพวกบทสนทนา และมี Idiom บ้าง ตรงนี้จะเป็นกำไรของพวกที่ชอบดูหนัง subtitle กะฟังเพลงภาษาอังกฤษบ่อยๆ เพราะมันเป็นส่วนที่จะรู้ก็รู้เลย จะไม่รู้ก็คือไม่รู้ (ถ้าน้องไม่ค่อยได้ฟัง พี่ก็ขอบอกเลยว่ามันไม่ทันแล้วล่ะ ให้ลองหาหนังสืออ่านดีกว่า อ่านผ่านๆ จำได้ก็จำ จำไม่ได้ก็อย่าฝืน อย่าพยายามไปจำทั้งหมด เพราะพี่คิดว่ามันไม่ค่อยคุ้มเท่าไร เอาเวลาไปอ่านอย่างอื่นดีกว่า ไปดู grammar กะ vocab น่าจะเวิร์กกว่านะ)
ส่วนสุดท้าย... เรื่องข้อสอบความถนัด... มันก็ขึ้นอยู่กับวิธีและความคิดของน้องด้วยอ่ะครับ พี่ก็ได้คะแนนความถนัดไม่มาก (ได้ 18% เทียบกับเพื่อนๆ ที่ได้กัน 20% อัพ) ซึ่งถือว่าห่างกันพอควรเลยนะ แต่อย่าไปเครียดมากนะครับ พี่ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าถึงแม้คะแนนความถนัดน้อย มันก็ทำได้ (แต่ถ้าได้มากมันก็จะอุ่นใจกว่าเยอะ) ในทางกลับกัน คะแนนความถนัดสูงๆ แล้วก็อย่าคิดว่าจะสบายนะครับ (มีมาหลายรายแล้ว คะแนน 20% อัพ แต่ไม่ติดซักที่) แต่ที่อยากจะเน้นคือ พาร์มเชื่อมโยงอ่ะครับ พยายามทำให้ได้เต็ม (ปีที่แล้วมีเต็มหลายร้อยคน คนได้ศูนย์ก็มี) เพราะพาร์ทนี้แหละที่จะทำให้คะแนนมันต่างกันเยอะ
ส่วนเรื่องของอิทธิพลของคะแนนความถนัดนั้น... ถ้าปีไหนข้อสอบมันยาก คะแนนความถนัดมันจะมีผลเยอะ ถ้าข้อสอบไม่ยากมาก คะแนนส่วนนี้จะมีผลน้อย
555+ คราวนี้พล่ามมาซะเยอะ ยังไงก็คิดว่าคงจะพอเป็นประโยชน์หรือแนวทางให้น้องๆ ได้นะครับ พี่ๆ เอาใจช่วยให้น้องๆ ผ่านเวลานี้ไปให้ได้นะครับ อดทนหน่อยนะครับ อีกไม่กี่เดือนเอง...