Docchula Community

ของฝากจากค่ายสติ

ของฝากจากค่ายสติ
« on: July 06, 2009, 11:47:02 pm »
สวัสดีครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ

เพิ่งกลับมาจากค่ายสติ  เลยเอามาฝากกันหน่อย 

เห็นว่าใกล้วันอาสาฬหบูชาแล้ว  เรื่องที่ทุกคนใส่ใจสงสัยจะไม่พ้น วันหยุดยาว (ที่สำหรับปีสองขึ้นไปแล้ว ช่างเหมือนกับปิดเทอมเสียนี่กะไร)

แต่ไหนๆ เราก็เป็นเมืองพุทธ  ก็ขอเอาข้อธรรมมะ ที่ได้มาจากค่ายสติ  ทั้งคราวนี้  คราวที่แล้ว มาฝากกันก็แล้วกันนะครับ

พูดถึงวันอาสาฬหบูชา หัวข้อธรรมที่เห็นจะเกี่ยวข้องกับวันนี้มากที่สุด  ก็คงไม่พ้น " ธัมมจักกัปปวัตนสูตร"   ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาบทแรกที่พระพุทเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ เรื่องเกี่ยวกับอริยสัจจ์ ๔ ประการ เรื่องนี้คงเรียนกันมาตั้งแต่ประถมแล้ว  (แต่ก็ต้องเรียนมาทุกปี  เค้าไม่เบื่อกันรึไงก็ไม่รู้)

สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้กัน คือจริงๆแล้ว สิ่งแรกที่แสดง ไม่ใช่อริยสัจ์  แต่กลับทรงเรียกสติของพระปัญจวัคคีย์ก่อนเลย

ประโยคแรกที่ทรงกล่าว (ซึ่งก็ถือเป็นประโยคแรกในการเผยแผ่พระศาสนาด้วย) คือ 
" ที่สุดสองอย่างนี้ ภิกษุไม่ควรดำเนินเลย  หนึ่งคือ หลงสุขในกาม เป็นของต่ำ เป็นของผู้ครองเรือน  เป็นของปุถุชน  ไม่เป็นอริยชน  ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เลย  หนึ่งคือ ทรมานกายใจให้ได้รับความลำบาก เป็นทุกข์ ไม่เป็นอริยชน ไม่เป็นไปเพื่อประโยช์เลย"

ทรงแสดงเช่นนี้  เพราะตอนนั้น พระปัญจวัคีย์ยังคงแสวงหาหนทางอยู่  ทรงชี้ว่า  ทางที่พระปัญจวัคคีย์ดำเนินนั้น  เป็นสิ่งไม่ควร แล้วทรงแสดงสิ่งที่เราเรียกกันว่า  "ทางสายกลาง" หรือ มัชฌิมาปฏิปทา แก่พระปัญจวัคคีย์ ว่าคือ อริมรรค์มี ๘ ประการ

จากนั้นทรงแสดงอริยสัจจ์  อย่างที่พวกเราเคยได้เรียนกันมา  มี ๔ ประการ  คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค  ซึ่งเราก็เรียนกันมาอย่างท่องจำว่า  นั่นทุกข์ เหตุแห่งทุกคือสมุทัย ดับทุกได้คือนิโรธ มรรคคือทางดับทุกข์  แต่เราได้ไปฟังคุณแม่อมรา  ที่สวนพุทธธรรม ค่ายสติ  ท่านเอริยสัจจ์ให้ฟังแบบสวยงามมาก  เลยเอามาเล่าต่อแล้วกัน

ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ เกิดมาก็ทุกข์ แก่ขึ้นก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ ไม่พอใจก็ทุกข์ เสียของที่ตนรักกทุกข์ พอเคยมีความสุข  แล้วความสุขหมดไป ก็ทุข์ ที่จริงมนก็ทุกข์ทั้งนั้นแหละ  มีกายมีใจเมื่อไหร่ มันก็ทุกข์  เพราะเราไปยึดว่า  กายใจนี้ดีเนอะ  ทำให้เราได้เห็นสิ่งสวยงาม แม้บางครั้งอาจจะนานๆที แต่ก้ไม่เป็นไร  เพราะเราได้พบสิ่งสวยงามที่เราพอใจ เราเลยยึดกายยึดใจไว้  จึงเกิดมีเราขึ้น แล้วก็มีทุกข์ตามมา ทุกนั้นควรรู้ รู้ว่า นี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งนั้น  เห็นความทุกข์เป็นธรรมดาอยู่ในกายใจของเรานี่เอง

สมุทัย   คือเหตุแห่งทุกข์ คือความคิดสามอย่าง  คือ อยากได้อยากมี  กังวล และ ไม่พอใจ  ความคิดเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้น  ก็จะพาใจให้หลงไป  ย้อมใจให้คิดตาม  ทำให้เกิดความทุกข์  ความคิดอย่างนี้ๆ  ควรดำริออก  คือ ควรเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ควรเลย เมื่อเห็นว่าไม่ควรแล้ว เวลาที่เกิดความคิดขึ้นแล้วมีสติรู้ตัว ย่อมละวางลงได้

นิโรธ  คือความดับลงของทุกข์ ซึ่งก็คือ เมื่อจิตออกมาจากความคิดสามอย่าง ไม่พัวพันแล้ว จิตก็จะไม่ยึดพอนตัวตน  เป็นกลางๆ แล้วก็จะไม่เกิดทุกข์อีก

มรรค อันนี้ มี ๘ ข้อย่อย (ซึ่งสำคัญพอๆกับหัวข้อใหญ่) ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ เห็นถูก คือเห็นว่า อะไรคือหลง อะไรคือบังคับ (เหมือนที่ท่านได้แสดงเป็นประโยคแรก) เห็นถูกว่าการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเป็นอย่างไร เมื่อตั้งสัมมาทิฏฐิได้ จึงเกิดสัมมาสังกัปปะ ดำริถูก คือ ดำริออกจากความคิดสามอย่าง (ภาษาบาลีท่านว่า “ตัณหา”) เมื่อดำริออกจากความคิดที่ไม่ควรสามอย่างแล้ว  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ( วาจาชอบ การกระทำชอบ ตั้งตนชอบ) พวกนี้จึงเกิดพร้อมกัน เป็นส่วนของการกระทำ ทั้งทางกาย วาจา ใจ  เรียกว่าสำรวมก็ได้ (พูดให้เพราะๆก็ อินทรียสังวรศีล)  มีความเพียรอยู่  คือทำอยู่เนืองๆ เรียก สัมมาวายามะ  ทำอย่างนี้ สิ่งที่ตามมาคือ สัมมาสติ ความรู้ถูก  ที่จริง ก่อนหน้านี้ก็มีสติ รู้ถูกด้วย แต่ไม่ตลอด เป็นช่วงของการเรียนรู้ ต้องใช้ความเพียรทำอยู่เนืองๆ  จนจิตจำสภาวะได้ เกิดสัมมาสติ  ประกอบกับจิตที่ตั้งมั่นในสัมมาสตินั้น เรียก สัมมาสมาธิ  รู้เห็นความเป็นไปของกายของใจ  ตามที่เป็นจริง  จิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย  แล้วไม่ข้องแวะกับตัณหาอีก  ไม่เกิดทุกข์   เหล่านี้ควรทำให้เจริญ

(แอบยาวนะเนี่ย)  ก็  ไม่ยาวต่อไปกว่านี้แล้วกัน  สำคัญคือ สัมมาสติ  ตั้งต้นถูกก็ไปต่อได้ถูก 

Happy อาสาฬหบูชานะคร้าบ
เย ธมฺมา  เหตุปฺปภวา    เตสํ เหตุ ตถาคโต
เตสญฺจ  โย นิโรโธ จ    เอวํ วาที มหาสมโณ
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
พระตถาคตแสดงเหตุและความดับของธรรมนั้น
นี้คือคำของพระมหาสมณะ

Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #1 on: July 06, 2009, 11:51:36 pm »
ขอบคุณครับพี่

Offline Topo

  • *****
  • 2276
  • 54
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #2 on: July 06, 2009, 11:53:38 pm »
สาธุ . . .
I N T E R N ตั ว เ ล็ ก ๆ

Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #3 on: July 07, 2009, 12:24:22 am »
ขอบคุณค้าบ
ค่ายสติดีมากมาย ขนมอร่อย :D :D

Offline hAdEz

  • *
  • 1556
  • 9
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #4 on: July 07, 2009, 11:36:30 am »
ขอบคุณคร้าบ

Offline jew

  • *
  • 65
  • 10
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #5 on: July 07, 2009, 08:23:01 pm »
อนุโมทนา สาธุ

^^
ค่ายสติปีนี้ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกก
เห้นภาพเลย

Offline SomeTimes

  • *
  • 300
  • 6
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #6 on: July 07, 2009, 09:08:10 pm »
การฝึกสติ สามารถฝึกได้ด้วยการรู้ใจตัวเอง  ไม่ใช่คิดไปว่าเรารู้นะครับ  เพียงแค่ให้รู้ถึงสภาพ ณ ขณะจิตนั้น โดยอย่าเพ่งไปที่จิตนะครับ
แต่เพียงแค่ระลึกรู้  โดยทุกการระลึกรู้ไปเรื่อย ๆ นั้น จะก่อให้เกิด สัญญา หรือความจำได้ของจิต  ว่าเราเคยได้พบกับสัญญานี้มาแล้วว
จะทำให้เราสามารถนำจิตกลับมาสู่ตัวเราได้เร็ว  และได้รับกุศลหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน ใจจะสงบขึ้นนะ  และถ้าหากทำแล้วใจยังรู้สึกร้อนๆ
ก็อย่าเผลอไปคิดล่ะ ว่า ทำไมทำแล้วใจไม่สงบ จะทำให้เกิดความไม่พอใจ และสงสัย จนก่อเกิดเป็นความคิดที่วนเวียน หลงไปในอกุศลนั้น
แต่เพียงรู้ว่า 'ตอนนี้ ใจเราหลงไปในอกุศลแล้วนะ' บุญกุศล จะเกิดขึ้นใจ  ทำให้จิตใจมีความสงบ พร้อมประกอบกรรมดี  โดยปกติขณะที่เราโกรธ

เราอาจไม่เคยรู้ตัว จนกระทั่งเราได้เผลอให้ความโกรธครอบงำจิตใจ กลายเป็นอกุศล สั่งการให้เราทำชั่วในหลาย ๆ อย่าง
จนเราหายโกรธ เราถึงเพิ่งจาได้กลับมาเห็นจิตตัวเองว่า ตอนนั้นเราโกรธไป เราทำอะไรไม่ดีไปตั้งหลายอย่าง ในเวลาที่จิตใจหายโกรธ
ใจจะรับรู้ได้ว่า การกระทำที่เราได้ทำไปขณะจิตถูกความโกรธครอบงำนั้น เป็นการกระทำที่แย่ และไม่ดี

แต่หากเราฝึกสติของตัวเองด้วยการระลึกรู้อย่างสม่ำเสมอ จิตใจที่จดจำความโกรธได้แล้วนั้น จะสามารถระลึกได้เร็ว ว่า เราโกรธไปแล้วนะ แล้วจะกลับ
คืนมาสู่ ภาวะจิตที่เป็นกลาง ภายในเวลาที่ไม่ยาวนานนัก

พูดไปยาวมาก แต่อาจจะยังไม่เห็นภาพ แต่ลองฝึกกันดูนะ....
เราก็ฝึกอยู่อ่ะ  เราคิดว่า ยากเหมือนกันอ่ะ  แต่ก็ระลึกรู้อยู่เสมอว่า เราคิดว่ายาก  ทำให้ใจเรากลับสู่ใจที่เปนกลาง และฝึกฝนต่อไป ^^ 

ก็ เนื้อหานี้ เราก็เพียงแค่ถ่ายทอด สิ่งที่เราได้เรียนรู้มาจาก ค่ายฝึกสติที่สวนพุทธธรรม อยุธยานะ
เพื่อให้เพื่อน ๆ ที่ไม่ได้ไป ได้รู้ แลก็อาจเป็นประโยชน์ นะ  :)


Offline 125 66

  • *****
  • 3244
  • 64
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #7 on: July 08, 2009, 07:13:26 pm »
อนุโมทนาครับ

คุณแม่อมราได้อ่านคงชื่นใจ

Offline sassy

  • *
  • 21
  • 0
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #8 on: July 08, 2009, 08:15:08 pm »
ขออนุโมทนาด้วยนะคะ
และขอขอบคุณทุกๆคนนะคะที่ทำให้ค่ายนี้เป็นค่ายที่ดีมากๆ ::)

ประทับใจมากค่ะ :)

Offline Relativity

  • *
  • 274
  • 16
  • - Publicity is a whore -
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #9 on: July 08, 2009, 08:29:55 pm »

การฝึกสติ สามารถฝึกได้ด้วยการรู้ใจตัวเอง  ไม่ใช่คิดไปว่าเรารู้นะครับ  เพียงแค่ให้รู้ถึงสภาพ ณ ขณะจิตนั้น โดยอย่าเพ่งไปที่จิตนะครับ
แต่เพียงแค่ระลึกรู้ 
  โดยทุกการระลึกรู้ไปเรื่อย ๆ นั้น จะก่อให้เกิด สัญญา หรือความจำได้ของจิต  ว่าเราเคยได้พบกับสัญญานี้มาแล้วว
จะทำให้เราสามารถนำจิตกลับมาสู่ตัวเราได้เร็ว  และได้รับกุศลหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน ใจจะสงบขึ้นนะ  และถ้าหากทำแล้วใจยังรู้สึกร้อนๆ
ก็อย่าเผลอไปคิดล่ะ ว่า ทำไมทำแล้วใจไม่สงบ จะทำให้เกิดความไม่พอใจ และสงสัย จนก่อเกิดเป็นความคิดที่วนเวียน หลงไปในอกุศลนั้น

แต่เพียงรู้ว่า 'ตอนนี้ ใจเราหลงไปในอกุศลแล้วนะ' บุญกุศล จะเกิดขึ้นใจ  ทำให้จิตใจมีความสงบ พร้อมประกอบกรรมดี  โดยปกติขณะที่เราโกรธ


ขอเพิ่มเติมหน่อยนะครับ

1. โดยอย่าเพ่งไปที่จิตนะครับ แต่เพียงแค่ระลึกรู้    : หมายความว่า เราไม่ได้จงใจที่จะเพ่ง หรือ พยายามที่จะเพ่ง
แต่ถ้าเกิดไปเพ่งเข้า ก็ให้รู้ลงไปเลยว่า เมื่อขณะจิตก่อนหน้านี้ เพ่งไปแล้ว ขณะที่รู้สึกตัวเนี่ย ไม่ได้เพ่งแล้ว นี่ถือว่าปฏิบัติเสร็จแล้ว ส่วนต่อจาก
ขณะจิตนี้ จิตก็อาจจะเพ่งต่อไปก็ได้ หรืออาจจะแส่ส่ายออกไปหาเรื่องตามประสาของมันก็สุดแล้วแต่ หน้าที่ของเรา มีเพียงอย่างเดียว คือ ระลึกรู้
จิตใจลงปัจจุบัน กล่าวโดยย่อ คือ การปฏิบัตินั้น ไม่มีคำว่า ห้ามทำอย่างนี้ ต้องทำอย่างนั้น ขอเพียงให้รู้ตาม (ไม่ใช่รู้เท่าทัน : เพราะบางคนอาจ
เข้าใจผิดว่า ต้องรู้ให้ทัน ก็ดักสังเกตเอาไว้ แน่นอนว่า นี่เป็นการเพ่ง) สภาวะที่ปรากฏขึ้น รู้แล้วไม่แทรกแซง รู้แล้ว ก็จบแค่นั้น (แต่ก็ไม่ใช่ไปจงใจ
ให้มันจบนะ คือมันเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ว่าเป็นอย่างนั้น) สิ่งใดเกิดขึ้น ให้รู้ว่า มีบางสิ่งบางอย่าง เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น รู้ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น

2. และถ้าหากทำแล้วใจยังรู้สึกร้อนๆ ก็อย่าเผลอไปคิดล่ะ ว่า ทำไมทำแล้วใจไม่สงบ จะทำให้เกิดความไม่พอใจ และสงสัย จนก่อ
เกิดเป็นความคิดที่วนเวียน หลงไปในอกุศลนั้น
  : อันที่จริงแล้ว เผลอไปคิด ก็ให้รู้ว่าเผลอไปคิดแล้ว ใจไม่สงบก็ให้รู้ว่าใจไม่สงบ เกิด
ความไม่พอใจก็ให้รู้ว่าไม่พอใจ สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย จิตมันนะ มีหน้าที่คิด จะไปห้ามได้อย่างไรกัน ก็ที่เราไปห้ามไม่ให้จิตคิด ก็เป็นการบังคับจิตให้
สำรวม อยู่นิ่งๆ นี่เป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นหนึ่งในทางสุดโต่งสองทาง ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการรู้เห็นตามความเป็นจริง และอย่างเช่น ทำไมเราถึง
ไม่พอใจ ก็เพราะเราอยากให้มันสงบ นี่เป็นกิเลสตัวหนึ่ง ชื่อว่า ราคะ หรือที่บางคนเรียก โลภะ นี่แหละเรารู้ตามลงไปเลยว่า มีกิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจแล้ว
แค่นี้ก็ปฏิบัติเสร็จแล้ว

* ในทางวิทยาศาสตร์ มีแนวความคิดหนึ่งที่กล่าวว่า การสังเกตการณ์จะเข้าไปแทรกแซงปรากฏการณ์ ไม่รู้ว่า สัมพันธ์กับการเจริญวิปัสสนาหรือเปล่า ?

   ใครพอทราบบ้างไหมเอ่ย ? ชี้แนะหน่อยครับ      :-*

** ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวเพิ่มเติมมาข้างต้น เป็นเพียง สิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้มา (เป็นเพียงสุตมยปัญญา) หวังว่าจะช่วยเพิ่มความกระจ่างให้แก่ผู้ที่สนใจ
     เริ่มต้นในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย หากแม้นว่า มีข้อผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว และขอความกรุณาผู้ที่มีความเข้าใจ ช่วย

     ชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณครับ      :-*

*** ขออนุโมทนาบุญ ผู้ปฏิบัติธรรม ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วย      :)
"If you will not fight for the right when you can easily win without bloodshed; if you will not fight when your victory will be sure and not too costly; you may come to the moment when you will have to fight with all the odds against you and only a small chance of survival. There may even be a worse case: you may have to fight when there is no hope of victory, because it is better to perish than to live as slaves."
----- Winston Churchill

Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #10 on: July 08, 2009, 11:41:05 pm »
ตอบข้างบน

เอาจากประสบการณ์นะ  ได้ยินได้ฟังหลักการปฏิบัติอย่างนี้มานาน ตั้งแต่ ม.๕ แต่ไม่เข้าใจ
เพราะงงว่า  อะไรคือรู้  อะไรคือคิดว่ารู้  เถียงกันในใจตัวเองมาตั้งแต่นั้น  จนบัดนี้

คราวนี้พอไปค่าย  เลยตั้งคำถามให้น้อง  แล้วน้องก็ถามคุณแม่  ที่จริงพี่ก็เคยถาม  แต่ก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่ดี
ค่ายนี้  คุณแม่ กะอาจารย์จากรามาฯ มาเฉลยให้  เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว  แต่อาจจะยังถ่ายทอดได้ไม่ดีนักนะ  ขออภัยพี่น้องมา ณ ที่นี้

การรู้  เป็นสภาวะของจิต  ที่เห็นสภาวะมาปรากฏ ไม่มีการปรุงแต่ง(คิด)  เอาง่ายๆ คือ เหมือนลืมตาขึ้นมา  แล้วเห็นอะไร  ก็แค่นั้น คือแค่เห็นเท่านั้น
มันจะยากนิดนึงในการรู้ใจ  เพราะ จิตที่คิดต้องดับลงก่อนที่จิตที่รู้จะเกิด  แต่อันนี้มันฟุ้งฝอยพระอภิธรรม  เราไม่ต้องใส่ใจมาก  เอาเป็นว่า การคิดก็เป็นอาการของจิต  เมื่อจิตจะไปรู้ มันก็ต้องคิดก่อนอยู่ดี แต่รู้ ต้องรู้ว่าคิด ไม่ใช่รู้เรื่องที่คิด การรู้เรื่องที่คิด  แมวข้างบ้านก็ทำได้  แต่รู้ว่าคิดเนี่ย พวกเราถึงทำได้

เพ่ง  กด  บังคับ  ไม่ใช่เรื่องไม่ดี  แต่เป็นสภาพธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่จิตที่ผ่านเรื่องแบบนี้มา  จะเข้าไปข้องแวะบ่อยๆ (พวกเราเคยชินกะการกด เพ่ง บังคับอยู่แล้ว) แต่ก็เป็นธรรมดาจิต อย่าไปเกลียดกลัวมัน  รู้ลงว่ากด ว่าเพ่ง ก็พอ  คำว่าอัตตกิลมถานุโยค เนี่ย คือการบังคับทรมานตนเองให้เป็นทุกข์ เพราะคิดว่านำสุขมาให้  ซึ่งเราส่วนใหญ่เป็นกัน  เพราะติดดี ติดว่า ดี ต้องทำ  แต่การปฏิบัติอย่างนี้  ไม่ได้ปฏิบัติเอาดี ไม่ได้ปฏิบัติเอาสุข  แต่เป็นการปฏิบัติเพื่อความพ้น  พ้นจากการยึดติดทั้งปวง

ตอนนี้ที่ควรทำคือ  ทำความรู้จักกับสภาพธรรม  ให้คุ้นชิน คือ รู้อยู่บ่อยๆ ให้จิตได้เห็นสภาพธรรมบ่อยๆ  จะได้จำได้  แล้วเมื่อจิตจำได้ จะเกิดสติ ( จิตจำสภาวะได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ) มีสติ ก็จะเห็นสภาพธรรมนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป  เห็นไตรลักษณ์ในธรรมทั้งหลาย เอาเท่านี้ก่อน  หลังจากนี้ไป มันจะเกิดเอง  ไม่ต้องรู้ดีกว่า  เดี๋ยวจะพาลคิดเอา   แต่ท้ายสุด ตรงนี้จะเริ่มได้จิตของพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้ว
(ล่อไว้หน่อย :D)

ส่วนที่ว่า  การสังเกต จะเข้าไปแทรกแซง ( แมวของชโรดิงเจอร์ปะ)  คงไม่น่าใช่   เพราะเราไม่ได้ดูในขณะนั้นเลย  อันนี้ต้องไปเปิดพระอภิธรรมตอบว่า  จิตที่รู้รูป (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ใช้จิตในขณะเดียวกันเลย เจ็ดดวง  ส่วนจิตที่ไปรู้อารมณ์ ให้รู้อดีตจิต  คือหลังจากอารมณ์ปรากฏเจ็ดดวง อันนี้ตอบแบบงูๆปลาๆนะ  แต่ข้องสังเกตคือ  เราจะไปนั่งนับ  นั่งท่องทำไม  แค่เราค่อยๆทำความรู้จักสภาพธรรมไปเรื่อยๆ  อะไรเข้ามาก็รู้แค่นี้ก็น่าจะพอแล้ว
เย ธมฺมา  เหตุปฺปภวา    เตสํ เหตุ ตถาคโต
เตสญฺจ  โย นิโรโธ จ    เอวํ วาที มหาสมโณ
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
พระตถาคตแสดงเหตุและความดับของธรรมนั้น
นี้คือคำของพระมหาสมณะ

Offline Relativity

  • *
  • 274
  • 16
  • - Publicity is a whore -
Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #11 on: July 09, 2009, 05:07:16 pm »

การรู้  เป็นสภาวะของจิต  ที่เห็นสภาวะมาปรากฏ ไม่มีการปรุงแต่ง(คิด)  เอาง่ายๆ คือ เหมือนลืมตาขึ้นมา  แล้วเห็นอะไร  ก็แค่นั้น คือแค่เห็นเท่านั้น
มันจะยากนิดนึงในการรู้ใจ  เพราะ จิตที่คิดต้องดับลงก่อนที่จิตที่รู้จะเกิด  แต่อันนี้มันฟุ้งฝอยพระอภิธรรม  เราไม่ต้องใส่ใจมาก  เอาเป็นว่า การคิดก็เป็นอาการของจิต  เมื่อจิตจะไปรู้ มันก็ต้องคิดก่อนอยู่ดี แต่รู้ ต้องรู้ว่าคิด ไม่ใช่รู้เรื่องที่คิด การรู้เรื่องที่คิด  แมวข้างบ้านก็ทำได้  แต่รู้ว่าคิดเนี่ย พวกเราถึงทำได้

เพ่ง  กด  บังคับ  ไม่ใช่เรื่องไม่ดี  แต่เป็นสภาพธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่จิตที่ผ่านเรื่องแบบนี้มา  จะเข้าไปข้องแวะบ่อยๆ (พวกเราเคยชินกะการกด เพ่ง บังคับอยู่แล้ว) แต่ก็เป็นธรรมดาจิต อย่าไปเกลียดกลัวมัน  รู้ลงว่ากด ว่าเพ่ง ก็พอ  คำว่าอัตตกิลมถานุโยค เนี่ย คือการบังคับทรมานตนเองให้เป็นทุกข์ เพราะคิดว่านำสุขมาให้  ซึ่งเราส่วนใหญ่เป็นกัน  เพราะติดดี ติดว่า ดี ต้องทำ  แต่การปฏิบัติอย่างนี้  ไม่ได้ปฏิบัติเอาดี ไม่ได้ปฏิบัติเอาสุข  แต่เป็นการปฏิบัติเพื่อความพ้น  พ้นจากการยึดติดทั้งปวง

ตอนนี้ที่ควรทำคือ  ทำความรู้จักกับสภาพธรรม  ให้คุ้นชิน คือ รู้อยู่บ่อยๆ ให้จิตได้เห็นสภาพธรรมบ่อยๆ  จะได้จำได้  แล้วเมื่อจิตจำได้ จะเกิดสติ ( จิตจำสภาวะได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ) มีสติ ก็จะเห็นสภาพธรรมนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป  เห็นไตรลักษณ์ในธรรมทั้งหลาย เอาเท่านี้ก่อน  หลังจากนี้ไป มันจะเกิดเอง  ไม่ต้องรู้ดีกว่า  เดี๋ยวจะพาลคิดเอา   แต่ท้ายสุด ตรงนี้จะเริ่มได้จิตของพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้ว
(ล่อไว้หน่อย :D)

ส่วนที่ว่า  การสังเกต จะเข้าไปแทรกแซง ( แมวของชโรดิงเจอร์ปะ)  คงไม่น่าใช่   เพราะเราไม่ได้ดูในขณะนั้นเลย  อันนี้ต้องไปเปิดพระอภิธรรมตอบว่า  จิตที่รู้รูป (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ใช้จิตในขณะเดียวกันเลย เจ็ดดวง  ส่วนจิตที่ไปรู้อารมณ์ ให้รู้อดีตจิต  คือหลังจากอารมณ์ปรากฏเจ็ดดวง อันนี้ตอบแบบงูๆปลาๆนะ  แต่ข้องสังเกตคือ  เราจะไปนั่งนับ  นั่งท่องทำไม  แค่เราค่อยๆทำความรู้จักสภาพธรรมไปเรื่อยๆ  อะไรเข้ามาก็รู้แค่นี้ก็น่าจะพอแล้ว


ชอบมากครับ ที่พี่บอกว่า รู้ มันก็เหมือนกับการ เห็น ใช่ มันก็คือการเห็นนั่นแหละ แต่ถ้าพูดแบบนี้แล้ว เกรงว่า จะมีคนถามอีกว่า เห็นอะไร เห็นได้อย่างไร ในทำนองนี้ และเอาอะไรไปดู ไปมองให้เห็น เห็นแล้วเป็นรูปเป็นร่างอย่างไร สวยงามไหม สารพัดสารเพ (จริงๆ มันก็อธิบายได้อยู่ เราใช้จิตนี่แหละเป็นเครื่องมือในการสังเกต แล้วก็อาจมีคนถาม จิตเป็นอนัตตา เราจะใช้จิตเป็นเครื่องมือได้เหรอ วุ่นวายแน่ๆ ไม่ขอต่อยาวละกัน คิดว่าที่พี่ตอบไว้ก่อนหน้าก็พอ จะทำความเข้าใจได้แล้ว) แล้วถ้าอธิบายไม่ดี คุยกันไม่รู้เรื่อง คุยกันคนละเรื่อง จะพากันเข้ารกเข้าพง ออกทะเล ออกมหาสมุทร ไปไกลกันใหญ่ ฉะนั้น พูดแบบค่อนข้างธรรมดาๆ เลย ก็ใช้ว่า รู้สึกตัว นี่แหละ น่าจะพอรับได้ ไม่ไถลไกลจนน่าเป็นห่วง

การอธิบายสิ่งที่ยากและแยบคาย ไม่ควรจะพยายามแสดงให้เห็นง่ายๆ แล้วทำให้แก่นสารที่แท้จริงบิดเบือน เพราะมันไม่ได้ช่วยให้เกิดปัญญาใดๆ เลย และอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม เสียเวลาที่จะเรียนรู้มากขึ้น แต่ก็จริงอยู่ว่า มันเป็นเรื่องยากมากที่คนอย่างพวกเราๆ ที่ทำอะไรด้วยเหตุด้วยผล ด้วยหลักการมาทั้งชีวิต เรียนรู้หลักการวิทยาศาสตร์มามากมาย จะไม่ให้สงสัย ไม่ให้ถามว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ พวกเราคงยากจะทนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าใจถึงๆ หน่อย ทำตัวเหมือนเด็กๆ ที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เราก็จะเรียนรู้และรับรู้อะไรได้ง่ายขึ้น

*** คือจริงๆ ก็เรื่อง แมวของชโรดิงเจอร์ นั่นแหละครับ เหมือนกับว่า ถ้าเรายังไม่สังเกต ปรากฏการณ์อาจจะไม่เป็นดังที่พบเห็นหลังจากสังเกตการณ์แล้ว อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน แค่รู้สึกว่า มันกำลังตอกย้ำความจริงอยู่ว่า ทุกสิ่งเกิดและดับไปอยู่ตลอดเวลา (อันนี้แค่คิดเล่นๆ นะครับ 555)
"If you will not fight for the right when you can easily win without bloodshed; if you will not fight when your victory will be sure and not too costly; you may come to the moment when you will have to fight with all the odds against you and only a small chance of survival. There may even be a worse case: you may have to fight when there is no hope of victory, because it is better to perish than to live as slaves."
----- Winston Churchill

Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #12 on: July 09, 2009, 08:54:35 pm »
บุญรักษาครับน้อง  น่ายินดีจัง ที่มีคนใส่ใจในการพระศาสนาเช่นนี้

อ่า  มาตอบต่อ  (ดูเหมือนคุยกันสองคน)  จิต มีการหลงเป็นกิจ  ยังไงจิตมันก็ต้องหลง เป็นธรรมดา เรื่องจะออกทะเลนั้น  เป็นเรื่องธรรมดา  แต่เมื่อไหร่เราไปกั้นใจ  ไม่ให้มันธรรมดา  มันก็เหนือมนุษย์ แต่ก็ไม่พ้นทุกข์  ไม่พ้นสังสารวัฏ  ฉะนั้นถ้าใครเขาจะคิดต่ออย่างไร ช่างเขาเถิด  เอาเราให้รู้ใจเราเป็นพอ 

เอาอะไรรู้  ต้องถามว่า  น้องเอาหูไปชิมข้าวหมกไก่ อปร. ได้มั้ย  ไม่ได้ใช่มั้ยล่ะ  ;D  ถ้าพูดอย่างนี้ (วิชาการสุดๆ)  " โลกปรากฎจำเพาะต่อวิญญาณ อายตนะย่อมจำเพาะต่อกัน"  น่าจะเข้าใจยาก  แต่มันก็มีความหมายเดียวกับประโยคแรก  สภาวะปรากฏแก่ใจ  ก็รู้ที่ใจ  ปรากฏแก่ตา  ก็รู้ที่ตา  เอาจิตไปรู้ เพราะจิตเป็นตัวรู้ ตาเป็นตัวรับ (จักขุวิญญาณเป็นตัวรับ)  ดูวุ่นวายมะ  ไม่ต้องห่วงหรอก  ง่ายๆ  เหมือนที่ว่า เมื่อรู้อะไรก็รู้ลงไปเท่านั้น  รู้ลงปัจจุบัน อะไรปรากฏในปัจจุบัน ก็รู้ แค่นั้นเอง

ดีใจที่น้องมาได้ถึงขั้นนี้ ศึกษามามาก  ดีๆๆ :)  เรือ  แบกมาตั้งไกล  เอามาข้ามแม่น้ำใหญ่  เมื่อถึงแม่น้ำ  เราจะแบกเรือนั้นต่อไป  แล้วลุยว่ายน้ำทั้งๆที่แบกเรือ  หรือเพียงวางเรือลง  แล้วขึ้นเรือ พายข้ามฝั่งไปเล่า  ฝากไปคิดนะ

ธรรมที่นำมาบรรยายทั้งหมดเนี่ย  เป็นปรมัตถ์นะ  ที่จริงพูดไม่ได้  ต้องรู้ด้วยใจ   จะใช้คำสูงส่งอย่างไร  หรือคำพื้นบ้าน  ก็ไม่ถูกอยู่ดี  เพราะเป็นสิ่งที่ต้องรู้ด้วยใจ  ไม่ใช่รู้ด้วยหู ด้วยตา ฟังเอา หรืออ่านเอา ที่เอามาพูดง่ายๆ  เพราะพยายามสื่อภาษาใจ  ให้ใจคนอ่าน ได้เข้าใจ  อีกอย่าง  ธรรมชาติเป็นของเรียบง่ายอยู่แล้ว  แม้แต่ในภาษาบาลีเอง  คำที่ใช้ก็เป็นคำง่ายๆ  แต่ลึกซึ้ง  ซึ่งหวังว่าน้องจะได้มีโอกาสศึกษาต่อไป

 ยังไงก็ดีหนักหนาแล้วที่น้องมาได้ขนาดนี้  ชื่นใจๆๆ  ขอชื่นชม  ต้องอาศัยศรัทธามากนะ  ที่จะศึกษาเรื่องนี้  ในสังคมยุคใหม่อย่างนี้  ชื่นชมๆๆ :-*
เย ธมฺมา  เหตุปฺปภวา    เตสํ เหตุ ตถาคโต
เตสญฺจ  โย นิโรโธ จ    เอวํ วาที มหาสมโณ
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
พระตถาคตแสดงเหตุและความดับของธรรมนั้น
นี้คือคำของพระมหาสมณะ

Re: ของฝากจากค่ายสติ
« Reply #13 on: July 09, 2009, 09:44:58 pm »
มีสติ  และ ชิวววว   ;D