อืม ..แต่ผมอาจจะสอบตกวิชานี้ก็ได้ครับ
โอ๊ะ ระดับพี่กันสบายๆ อยู่แล้ว
แต่ประโยคนี้เหมือนเป็นลาง ได้เสียวสันหลังกันเป็นแถบๆแน่
แค่คุณคิดจะคิด และคิดจะแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลของคุณ
ก็ไม่ตกแน่ๆอยู่แล้วครับ
ปล. สิ่งที่คุณresponseมา เรื่องอาจารย์คุณที่ญึ่ปุ่นไม่ตรงกับประเด็นที่ผมคุยเรื่องความสามัคคีนะครับ
ปล.อีก ตอนนี้ผมอ่านนี่อยู่ครับ สนุกมาก ท่านสนใจดราม่าระดับชาติเชิญไปดูได้
http://www.economist.com/world/asia/displayStory.cfm?story_id=15755845&source=hptextfeature
อ่านแล้วตามดู reader's comments ต่อ ยิ่งมันส์เป็นสามสี่เท่า....
ครับ มาแสดงความเห็นต่อครับ.. เรื่องความสามัคคี ..
ที่ว่า ยังไงเสียก็ขอให้สงบๆไว้ อย่าโจมตีอีกฝ่าย เพราะจะทำให้คนภายนอกมองว่า
วงการแพทย์เราแตกสามัคคี เด๋วเสื่อมศรัทธา จะไม่มีผู้มาใช้บริการ
แบบนี้จะสามัคคี(หรือเพราะพริ้งกว่านั้นคือ สมานฉันท์) ดีไหม
ตอบว่า..ไม่ดีแน่ๆครับ ถ้าไม่ทำอะไรเลย
ผมเห็นว่าตัวอย่างที่อาจารย์ยกมานี้ เป็นแนวคิดที่จะเอาตัวรอดเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า มากกว่าที่จะเป็นการแก้ปัญหาจริงๆ
เพราะการปล่อยให้คนในกลุ่มทำตามใจชอบ ไม่เห็นเกี่ยวกับความสามัคคีตรงไหนเลย
ถ้าปล่อยไว้ คนในวงการแพทย์ก็จะเสื่อมศรัทธากันเองก่อน (นำไปสู่การไม่ไว้ใจกัน ..อาจแบ่งพรรคแบ่งพวก)
แล้วต่อมา คนภายนอกทราบเรื่อง ก็จะเสื่อมศรัทธาตามไปด้วย โดยคิดว่า วงการแพทย์ ไม่มีใครสักคนคิดยับยั้งการทำผิดดังกล่าวเลยหรือ
ผมเห็นว่าความสามัคคีคือ
1. ให้กำลังใจเมื่อเขาทำงาน และเมื่อเขาทำผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ
2. ถ้าเขาทำผิดโดยตั้งใจ ก็ต้องพยายามหยุดเขาไว้ โดยไม่โจมตีให้กลายเป็นเรื่องส่วนตัว และไม่โวยวายให้คนภายนอกรู้
3. ควรมีกลไกหรือค่านิยมที่ยอมให้โอกาสคนผิดแก้ไขตัวเองได้ โดยไม่คิดพยาบาทกันไม่รู้จบ
4.
ถ้าทำผิดก็ต้องยอมรับผิด