ชอบไม่ชอบแล้วแต่คนครับ
ไม่ชอบไม่ได้แปลว่าเรียนไม่ได้
ชอบก็ไม่ได้แปลว่าจะอยากเรียนจนจบ
ชีวิตมหาลัย แตกต่างจากม.ปลายมากๆ
ไม่ว่าน้องจะเรียนคณะไหน น้องเค้าก็ต้องมีการปรับตัวใหม่อยู่ดี
คณะอื่นนอกจากหมอก็ไม่ใช่ว่าว่าง หรือเรียนสบายกว่ามากเท่าไหร่
มันก็หนักกันคนล่ะแบบอ่ะครับ
ความเครียดนี่ก็ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยเรื่องการเรียนอย่างเดียว นั่นเป็นเพียง environmental factor
แต่มันยังมี individual factor ก็คือตัวน้องๆเอง ว่ารับความกดดันได้ดีแค่ไหน เครียดกับเรื่องบางเรื่องแค่ไหน
เช่น ถ้าน้องคาดหวังว่า จะต้องได้ A หรือ B+ เท่านั้น พอเข้าไปแล้วทำได้แค่ B ก็อาจจะเครียดได้
ในขณะที่บางคน ที่เรียนแบบสบายๆไม่คิดอะไรมาก ได้เกรดอะไรก็ไม่ได้ซีเรียสมากเท่าไหร่ ก็แฮปปี้ได้ครับผม
ในชั้นปีผมนะ นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่เข้ามาเพราะสนองความคาดหวังของพ่อแม่
ไม่ก็เป็นเรื่องของค่านิยมที่ว่าสอบได้คะแนนดี ก็เลยเข้าหมอ ไม่ได้อยากเ็ป็นอะไรเป็นพิเศษ ไม่ก็ตามเพื่อนมา
มีส่วนน้อยจริงๆที่เข้ามาเพราะอยากเป็นหมอมากกกกก
แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเค้าเหล่านั้นจะเรียนไม่ได้ หรือไม่มีความสุขในการเรียน หรือจะจบมาเป็นหมอที่ไม่ดี
การเข้ามาเรียนทำให้ได้รับรู้ว่า สังคมคาดหวังกับหมอแค่ไหน ประชาชนนับถือหมอแค่ไหน
แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้หลายๆคนตั้งใจเรียน เพื่อจะจบไปเป็นหมอที่ดีในอนาคตแล้วครับ
ส่วนคนที่ไม่ชอบ
บางคนก็เรียนไม่จบ ไม่อยากเรียนต่อ ก็ซิ่วไม่ก็ดรอปไปค้นหาตัวเอง
บางคนก็เรียนจบ 4 ปี เอาวทบ.ออกไป
บางคนก็เรียนจบไปก็อาจจะไม่ทำอาชีพเป็นหมอ แล้วไปทำอย่างอื่นที่เค้าชอบแทน
ผมว่าก็ต้องลองคุยกับเจ้าตัวดีๆแหละครับ ยังไงก็ควรจะคุยให้เข้าใจกัน
ไม่ควรไปกดดันหรือคาดหวังสูงมากๆ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กเครียดแทนนะครับ
ถ้าคุณผู้ปกครองอยากให้น้องรับรู้ ก็ลองสมัครพวกค่ายอยากเป็นหมอดูก็ได้ครับ
ในค่ายจะให้น้องๆได้สัมผัสส่วนหนึ่งของชีวิตนิสิตนักศึกษาแพทย์
บางคนจากชอบ มาเข้าค่ายก็รู้สึกว่า เออ มันไม่ใช่ที่เราอยากเรียน
บางคนไม่อยากเข้าเล้ย แต้่โดนผู้ปกครองบังคับมา ไม่ก็อยากมีประสบการณ์ชีวิต แต่พอมาก็ดันชอบซะงั้น
ผมเขียนแบบไม่ค่อยเรียบเรียงเท่าไหร่ ถ้าอ่านแล้วงงๆก็ขออภัยด้วยครับ

ปล. ที่จุฬาเรียกผู้เข้าศึกษาว่า นิสิต
เพราะฉะนั้นอย่างพวกผมจะเรียกว่า นิสิตแพทย์ หรือย่อว่า นสพ. นะครับ
