เพิ่มเติมเรื่องหลักสูตรด้วยคนครับ
ในโฆษณามีการพูดแบบสวยหรูว่า ที่นี่เน้นสอนกันแบบ integration มีการบูรณาการระหว่างภาควิชา กว่าจะนัดอาจารย์แต่ละภาคมาสอนพร้อมกันนี่ทำได้ยากมาก แต่พอระดมสรรพอาจารย์มาจริง ๆ แล้ว กลับกลายเป็นมาต่างคนต่างพูดเนื้อหาของภาคตัวเอง แล้วก็ไป (เหมือนแย่งกันพูด) สุดท้ายไม่เห็นจะบูรณาการตรงไหน และรวม ๆ ชั่วโมงของทุกภาคทำให้ class เรียนหนึ่ง ๆ ยาวมาก คนฟังก็หลับไปกันครึ่งห้อง (รู้สึกตัวตื่นมาตอนไหน ก็ถือว่าได้ฟังของภาควิชานั้น) ไม่สามารถ get เนื้อหาในชั่วโมงนั้นได้ตลอดอยู่ดี
ส่วนการเน้น discussion (คล้าย ๆ ให้ผู้เรียนไปหาข้อมูล แล้วมา present หน้าห้อง เหมือนที่หลาย รร.มัธยมชอบให้ทำกัน) จนเกินไป นั้น ก็เห็นว่าเป็นการเดินผิดทาง อย่างมาก ของหลักสูตร จริงอยู่ว่าควรมีการ discussion จะได้ฝึกค้นหาข้อมูล แต่เรื่องทางการแพทย์เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่เรื่องที่ชาวบ้านทั่วไปอยากไปหาก็ไปหา ควรจะสอนเนื้อหาให้แน่น ๆ ก่อนที่จะให้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม เช่น ในปีแรก ๆ ปี 1,2 ยังไม่ค่อยรู้อะไรก็สอนกันไปก่อน ไม่ใช่ให้มา discuss กันแบบสมองโล่ง ๆ ไม่มี basic ใด ๆ คนเรียนก็งง ไม่รู้จะไปทางไหน และชั่วโมงพวกนี้ยังกินเวลาอย่างมาก เทียบกับให้อาจารย์มาสอนให้รู้เรื่องไปเลย พอมีพื้นที่จะไปต่อได้ ค่อยไป discuss กันในปีหลัง ๆ ตอนไปดูคนไข้จริง ๆ ก็ยังทัน
สุดท้าย อยากชี้ข้อเท็จจริงอย่างนึงครับ
คะแนนสอบเข้า ของคณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ในแต่ละปีนั้นสูง... สูงมาก......
กระทั่งคะแนนต่ำสุดของที่นี่ ยังสูงกว่าคะแนนสูงสุดของหลาย ๆ สถาบัน
แปลว่า เด็กนักเรียนที่เข้ามาเรียนนั้น เป็นระดับแนวหน้าของประเทศ
แต่คะแนนสอบออก (สอบ ศรว., ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา)
เป็นข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศ ที่สอบตอนจบปี 3 ปี 5 และปี 6 กลับไม่แตกต่างกับสถาบันอื่น
อยู่แค่ในขั้น average เท่านั้น
ดังนั้น
เรามี input ระดับ hi-end --->

? ---> แต่ output แค่ระดับกลาง ๆ
สิ่งที่อยู่ตรงกลางคืออะไร อะไรเป็นตัวแปร ไปคิดกันเอาเองแล้วกันครับ