Docchula Community

ผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 ในช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบการรับเข้าศึกษ

Offline rainy season's lover

  • *
  • 3869
  • 35
  • cogito ergo sum
พอดีผมไปเจอบทความเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจใน วิชาการ.คอม เลยอยากเอามาให้อ่านกันครับ (ยาวหน่อยนะครับ...แต่ควรค่าแก่การอ่านน้า  ;D)

ผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ ระดับมหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 ในช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบการรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

แนวความคิดเบื้องต้น

           วิชาฟิสิกส์สำหรับนิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เป็นวิชาที่มีความท้าทายสำหรับผู้สอนมากจากหลากหลายสาเหตุ แต่ประเด็นหลักเห็นจะหนีไม่พ้น คือ การที่ผู้เรียนไม่อยากเรียนวิชานี้ ผลสอบที่ออกมาก็ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับทุกฝ่าย เมื่อมีการพูดคุยกับนิสิตจำนวนมาก พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่าที่ผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ของตัวเองตกต่ำเป็นเพราะอาจารย์ออกข้อสอบยากมากจนนิสิตทำไม่ได้ โดยเฉพาะความยากเกี่ยวกับการใช้แคลคูลัสในการทำโจทย์ฟิสิกส์ ในมุมมองที่กลับกันอาจารย์ผู้สอนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าข้อสอบไม่ได้ยากเกินไปจนนิสิตไม่สามารถทำได้ในปีการศึกษา 2549 อาจารย์ผู้สอนฟิสิกส์ปี 1 กลุ่มหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ชั้นปีที่ 1 โดยต้องการทำความเข้าใจถึงสาเหตุและหาทางแก้ไขปัญหาที่ผลการเรียนฟิสิกส์ของนิสิตปี 1 ต่ำลง ทั้งนี้เป็นการหาทางแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิมแล้วและยังไม่ได้คำนึงถึงระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนในปีการศึกษา 2549 พอดี ในการศึกษานี้มีประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์หลายข้อดังต่อไปนี้ คือ

ประเด็นจากฝ่ายนิสิต
           • เนื้อหามากจนเรียนไม่ไหว โดยเฉพาะสำหรับสอบกลางภาคในภาคการศึกษาแรก
           • ข้อสอบยากมากจนกระทั่งนิสิตที่ไม่รู้อะไรเลยและนิสิตที่มีความเข้าใจพอประมาณทำไม่ได้
           • ข้อสอบใช้แคลคูลัสมากทำให้นิสิตที่เข้าใจฟิสิกส์แต่อ่อนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้

ประเด็นจากฝ่ายอาจารย์
           • นิสิตขาดความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาจากมัธยมศึกษาทำให้เรียนไม่เข้าใจ
           • นิสิตไม่ได้พยายามทำความเข้าใจแต่ใช้วิธีท่องโจทย์ตัวอย่างและโจทย์จากสถาบันกวดวิชา
           • นิสิตไม่สนใจเรียนเพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง และน่าเบื่อ

           นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากคณาจารย์จำนวนมากกว่านิสิตปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้ ยังติด
อยู่กับการเรียนแบบมัธยมศึกษาที่มีอาจารย์ดูแลใกล้ชิด เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยมาพบกับห้องเรียนขนาด 200-300 คน ไม่มีการ
ตรวจสอบการเข้าห้องเรียน ไม่มีคะแนนจากการบ้านมาเสริม ต้องศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อที่อาจารย์มอบหมายให้อ่านนอกเวลาเรียน
รวมถึงกิจกรรมรับน้องและกีฬาต่าง ๆ ทำให้นิสิตปี 1 ส่วนใหญ่ละเลยการเข้าห้องเรียนและการอ่านหนังสือ เมื่อรู้ตัวอีกทีว่าใกล้
สอบกลางภาคก็มีเนื้อหามากมายจากทุกวิชามารออยู่ทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน

แนวการปรับกระบวนการสอนและข้อสอบ

           เพื่อทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น กลุ่มผู้สอน 6 คน ได้ร่วมกันจัดทีมสอนวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 สำหรับนิสิตคณะ
วิทยาศาสตร์ในกลุ่มภาควิชากายภาพ ได้แก่ ภาควิชาคณิตศาสตร์ภาควิชาคณิตศาสตร์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ภาควิชาเคมี ภาควิชา
ฟิสิกส์ ภาควิชาเคมีวิศวกรรม ภาควิชาธรณีวิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีทาง
ภาพและการพิมพ์ และภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร (นิสิตคณะวิทยาศาสตร์กลุ่มภาควิชาชีวภาพเรียนคนละรหัสวิชา) ซึ่งมีนิสิต
ลงทะเบียนประมาณ 650 คน แบ่งเป็น 3 ห้องเรียน ใช้ผู้สอน 6 คนแต่ละห้องเรียนมีผู้สอน 2 คน สอนคนละครึ่งภาคการศึกษา โจทย์
ตัวอย่างส่วนใหญ่ที่สอนในแต่ละห้องจะเหมือนกัน โดยได้วางแนวทางการสอนและการออกข้อสอบเพื่อทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น ดังนี้

           • ย้ายเนื้อหาส่วนหนึ่งจากครึ่งภาคการศึกษาแรกไปไว้หลังการสอบกลางภาค
           • มีข้อสอบจำนวนหนึ่งที่ง่ายมากและใช้ความรู้ระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น
           • ข้อสอบทั้งหมดที่ใช้ในครึ่งภาคการศึกษาแรกจะไม่เน้นแคลคูลัส
           • ข้อสอบส่วนใหญ่จะมีแนวคล้ายตัวอย่างที่สอนในห้อง ถ้านิสิตเข้าใจสิ่งที่เรียนในห้องเรียนควรทำข้อสอบได้ แต่ข้อสอบจะไม่ ซ้ำกับตัวอย่างตรง ๆ เพื่อตัดเรื่องการท่องจำ
           • นำสื่อการสอนมาประกอบเพื่อให้นิสิตเห็นความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับปรากฏการณ์จริง


รายละเอียดข้อสอบและผลการสอบ (สำหรับการสอบกลางภาคแรก)
           ปี 2549 ปรับข้อสอบซึ่งแต่เดิมเป็นข้อสอบข้อใหญ่ให้เขียนตอบอย่างละเอียดทั้งหมดเต็ม 100 คะแนน เป็นข้อสอบซึ่งแบ่ง
ออกเป็น 3 ส่วนคือ

           1. ข้อสอบเติมคำตอบ (20 คะแนน) ซึ่งเป็นข้อสอบง่ายมากเพื่อวัดความรู้ระดับมัธยมปลายหรือสูตรพื้นฐานเพียง
สูตรเดียว โดยใช้ข้อมูลจากโจทย์แทนค่าในสูตรแล้วได้คำตอบเลย
           2. ข้อสอบเขียนตอบ (60 คะแนน) เป็นข้อสอบข้อใหญ่ลักษณะเดิม วัดกระบวนการคิด แก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์และแสดงการคำนวณอย่างละเอียด
           3. ข้อสอบเลือกตอบ (30 คะแนน) เป็นข้อสอบที่เน้นความเข้าใจในหลักการทางฟิสิกส์โดยไม่มีการคำนวณคะแนนรวมทั้งหมด 110 คะแนน

ตารางที่ 1


ตัวอย่างข้อสอบเติมคำตอบ (คะแนนเต็มข้อละ 2 คะแนน)
           1. การเคลื่อนที่เป็นวงกลม กำหนดรัศมีและขนาดความเร็วให้ จงหาความเร่งสู่ศูนย์กลางและความเร่งตามแนวเส้นสัมผัส
           2. ให้รูปแสดงตำแหน่งอนุภาค 3 ตัวที่พิกัดต่าง ๆ ใน 2 มิติโดยระบุมวลของแต่ละอนุภาค ให้หาตำแหน่งศูนย์กลางมวล
           3. ให้รูปแสดงเวกเตอร์แรง 3 แรง ซึ่งมีขนาดเท่ากัน ทำมุมกัน 60 องศา ให้หาแรงลัพธ์


          ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้เป็นข้อสอบที่ถือได้ว่าง่ายมากและคาดหวังว่านิสิตเกือบทุกคนควรทำได้ แต่ผลคะแนนที่ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ  ผลสรุปแสดงได้ดังตารางที่ 1 (จำนวนนิสิตที่เข้าสอบทั้งหมด 521 คน)

ตารางที่ 2


            สำหรับผลสรุปคะแนนทั้งหมดแสดงได้ดังตารางที่ 2 โดยส่วน 1 คือข้อสอบเติมคำตอบซึ่งเป็นเนื้อหาระดับมัธยมปลาย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 8.2 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน หรือคิดเป็น ร้อยละ 40 แสดงว่านักเรียนไม่มีความรู้ในส่วนนี้ ลืมไปแล้ว หรือ ไม่เคยเข้าใจเลย ส่วนที่ 2 คือข้อสอบเขียนตอบข้อใหญ่ที่วัดกระบวนการคิดลักษณะเดิม คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 19.7 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33 เมื่อรวมข้อสอบ 2 ส่วนแรกคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 35 ซึ่งนับว่าค่อนข้างต่ำ ทั้งที่ได้ย้ายเนื้อหาส่วนหนึ่งออกไป ข้อสอบง่ายลงและคณิตศาสตร์ที่ใช้ง่ายลงมากแล้วก็ตาม

           เนื่องจากในส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นข้อสอบเลือกตอบที่วัดความเข้าใจนั้น คะแนนต่ำมากและไม่ค่อยมีผลต่อร้อยละของคะแนนรวมของนิสิต ในปี 2550 จึงปรับข้อสอบให้เหลือเพียง 2 ส่วนแรกเท่านั้น คือข้อสอบเติมคำตอบ ซึ่งมีคะแนนเต็ม 30 คะแนน และข้อสอบเขียนตอบข้อใหญ่ คะแนนเต็ม 72 คะแนน ผลการสอบออกมาเป็นดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3



ตารางที่ 4


จะเห็นว่าคะแนนเฉลี่ยข้อสอบส่วนที่ 1 ลดลง จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 33 และคะแนนเฉลี่ยข้อสอบส่วนที่ 2 เป็นร้อยละ 30 ซึ่งก็ลดลงเช่นกัน ทำให้เห็นว่าผลการเรียนฟิสิกส์ของนิสิตทั้งสองรุ่นนี้ค่อนข้างต่ำ และไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น โดยผลนี้ไม่เกี่ยวกับความยากง่ายของข้อสอบเท่าใดนักเพราะข้อสอบที่ง่ายมาก (ส่วนที่1) ก็ยังมีคะแนนเฉลี่ยต่ำ โดยลดต่ำลงกว่าเดิม


ระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัย

           อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญมากที่กลุ่มอาจารย์ผู้ทำการศึกษาปัญหาผลการเรียนฟิสิกส์ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ได้มองข้ามไปในตอนเริ่มต้น คือปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อนิสิตที่เข้ามา นั่นคือการเปลี่ยนระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2549 พอดี ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากไม่ได้ติดตามรายละเอียดมากนัก เมื่อทำการปรับระบบการเรียนการสอนและข้อสอบในปี 2549 แล้วผลสอบยังต่ำมาก จึงได้มีการปรึกษาหารือและหันมาพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนระบบการรับเข้าจากระบบเอนทรานซ์เป็นระบบแอดมิชชัน เพื่อศึกษาว่านิสิตที่เข้าคณะวิทยาศาสตร์ด้วยระบบที่แตกต่างกันมีผลการเรียนที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราจึงทำการเปรียบเทียบผลการเรียนของนิสิตรุ่นก่อนเปลี่ยนระบบ (ปีการศึกษา 2547-2548) และหลังเปลี่ยนระบบ(ปีการศึกษา 2549-2550) โดยก่อนพิจารณาคะแนนของนิสิตแต่ละรุ่นนั้น ได้พิจารณาเปรียบเทียบลักษณะข้อสอบ โดยเลือกใช้ข้อสอบในบางหัวข้อที่มีการสอบทุกปี

           ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่เห็นชัดเจนคือหัวข้อการหาโมเมนต์ความเฉื่อย ซึ่งในปี 2547-2548 จะให้นิสิตใช้การอินทิเกรตหาโมเมนต์ความเฉื่อยของวัตถุเกร็ง พร้อมใช้หลัก superposition และทฤษฎีบทแกนขนานในการย้ายแกนหมุนด้วย ส่วนปี 2549-2550 นั้นจะกำหนดโมเมนต์ความเฉื่อยของรูปทรง มาตรฐาน (เช่น ทรงกลมตัน แผ่นกลมแบน) แล้วให้นิสิตใช้หลัก superposition และทฤษฎีบทแกนขนานเท่านั้น ส่วนข้อสอบหัวข้อการหางานนั้น ในปี 2547-2548 จะให้นิสิตอินทิเกรตตามเส้นเพื่อหางานของแรงไม่อนุรักษ์ (2 มิติ) ส่วนปี 2549-2550 ให้นิสิตเขียนกราฟระหว่างแรงกับตำแหน่ง (1 มิติ) แล้วหางานจากพื้นที่ใต้กราฟและอินทิเกรต (ไม่ต้องกำหนดเส้นทาง) หางานของแรงอนุรักษ์ โดยแรงที่กำหนดเป็นฟังก์ชันของตำแหน่งในลักษณะกราฟเส้นตรง

           โดยสรุปคือข้อสอบลักษณะเขียนตอบข้อใหญ่ของปี2549-2550 (ส่วนที่ 2) ทั้งหมดจะง่ายกว่าข้อสอบแบบเดียวกันของปี 2547-2548 โดยเฉพาะในแง่ของคณิตศาสตร์จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทั้ง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่าทั้งปี 2549 และ ปี 2550 คะแนนเฉลี่ยของนิสิตลดลงประมาณร้อยละ 10 จากคะแนนปี 2547-2548 ในขณะที่ค่าเบี่ยงเบนมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของคะแนนเฉลี่ย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้ของนิสิตทั้งระดับชั้นมีความแตกต่างกันมาก โดยมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2549 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบแอดมิชชัน ผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบกลางภาคแรกซึ่งมีคะแนนเต็มเป็น 100 คะแนนของนิสิตใน 4 รุ่นที่ผ่านมา (ดังตารางที่ 4) แสดงให้เห็นว่าผลการเรียนของนิสิต 2 ปีล่าสุดตกต่ำลงอย่างชัดเจนทั้งที่มีการปรับการสอนตามประเด็นที่เห็นว่าเป็นปัญหาและทำข้อสอบให้ง่ายลง

           ส่วนผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ทั้งภาคการศึกษานั้น ยิ่งแสดงความแตกต่างระหว่างนิสิตปี 2547-2548 และนิสิตปี 2549-
2550 อย่างชัดเจนมาก โดยการตัดเกรดนิสิตรุ่น 2 ปีหลังนี้ใช้ระบบอิงเกณฑ์เป็นหลักเนื่องจากกราฟแจกแจงคะแนนเป็นกราฟที่เอียง
จนไม่เหมาะที่จะใช้ระบบตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดเกรดนี้เป็นเกณฑ์ที่อ้างอิงมาจากการตัดเกรดปี 2547-2548
ผลการเปรียบเทียบเกรดนิสิต 4 รุ่นนี้แสดงอยู่ในตารางที่ 5 และ กราฟในรูปที่ 1





ระบบแอดมิชชัน

           เมื่อคะแนนของนิสิต 2 รุ่นหลัง (ระบบแอดมิชชัน) ต่ำกว่านิสิต 2 รุ่นก่อน (ระบบเอนทรานซ์) อย่างมาก การศึกษาปัญหาผลการเรียนฟิสิกส์ของนิสิตปี 1 คณะวิทยาศาสตร์จึงขยายออกไปเพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากระบบแอดมิชชันด้วย โดยยังคงใช้คะแนนวิชาฟิสิกส์ 1 ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ (กลุ่มภาควิชากายภาพ) เป็นตัวเปรียบเทียบ และได้นำข้อมูลอื่นที่มีผลในระบบแอดมิชชัน คือ เกรดเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียน ผลการศึกษาที่แสดงทั้งหมดในส่วนนี้เป็นของนิสิตรุ่นปี 2550
          
กราฟในรูปที่ 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ย (GPA) ของนิสิตจากตอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กับผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ในมหาวิทยาลัย



           จากกราฟจะเห็นได้ชัดเจนว่าเกรดเฉลี่ยจากโรงเรียนไม่ได้สะท้อนถึงความสามารถที่แท้จริงของนิสิตเลย แม้เมื่อนำเกรดเฉลี่ยของวิชาวิทยาศาสตร์มาคิดก็ยังไม่มีผล กล่าวคือเกรดเฉลี่ยทุกคนจะสูงมากจนอาจเรียกได้ว่าเฟ้อ ซึ่งจากกราฟในรูปที่ 3 จะเห็นว่านักเรียนที่เคยได้เกรดเฉลี่ยสูง (มากกว่า 3.5) มาแล้วจำนวนมาก แต่กลับได้คะแนนฟิสิกส์1 อยู่ในระดับต่ำจนต้องบอกเลิก (drop) รายวิชานี้



บทสรุป

           เป็นเรื่องน่าเสียดายที่การปรับระบบการสอนและข้อสอบเกิดขึ้นในช่วงที่ระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยเปลี่ยนพอดี ทำให้การ สรุปผลในแง่ของวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่อาจสรุปได้ชัดเจนแต่จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้รวบรวมมาเปรียบเทียบ จะเห็นได้ชัดเจนว่าระบบแอดมิชชันมีผลต่อความสามารถในการเรียนฟิสิกส์ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ (กลุ่มภาควิชากายภาพ) อย่างมาก เนื่องจากองค์ประกอบคะแนนในระบบนี้ใช้เกรดเฉลี่ยของนักเรียนในระดับมัธยมปลายซึ่งไม่สื่อถึงความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน นอกจากนั้นผลการศึกษานี้น่าจะชี้ได้ว่าการที่ผลการเรียนวิชาฟิสิกส์1 ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ (กลุ่มภาควิชากายภาพ) ไม่ดี ไม่น่าจะเป็นเพราะ ข้อสอบยากจนเกินไป เพราะเมื่อใช้ข้อสอบที่ง่ายมากนิสิตก็ยังทำไม่ได้ แต่น่าจะเป็นผลจากการที่นิสิตมีพื้นความรู้ระดับมัธยมศึกษาที่จำเป็นต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่ดีพอ ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าศึกษาต่อไปว่าเหตุใดความรู้พื้นฐานฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียนจึงไม่ดี




ขอขอบพระคุณท่านผู้เขียน: ผศ.ดร.ปัจฉา ฉัตราภรณ์ , ดร.นฤมล สุวรรณจันทร์ดี และ ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ

อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/38410  

Offline DanTrolene~*

  • สมาชิกอัครอมตะอภิมหาบรมดุษฎีกิตติมศักดิ์ทั่วหล้าประจักษ์ทุกแห่งหนสาธุชนเลื่องลือนามระ
  • *
  • 4671
  • 123


Offline Taiyakikung

  • *
  • 1505
  • 10
So long...
2คนข้างบนนี่อ่านมั่งป่าวเนี่ย :P
เห็นด้วยกับบทความมากครับ โรงเรียนปล่อยเกรดมากจนทุเรศ >:(นักเรียนพึ่งกวดวิชามากไป เข้ามหาลัยไม่มีใครมาช่วยสรุปประเด็นที่จะออกสอบให้อีกแล้วไม่มีใครมาช่วยจัดระเบียบวินัยให้ จะอ่านหนังสืออ่านtextหาความรู้เองก็ทำไม่ได้เพราะไม่เคยสนใจอยากศึกษาด้วยตนเองมาก่อนตอนม.ปลาย
ดังนั้นเกรดโรงเรียนใช้วัดความเก่งของคนไม่ได้เลย
+1ให้อู๋ครับ :-[
« Last Edit: March 10, 2009, 04:36:38 pm by Taiyakikung »



Offline 48

  • *****
  • 3324
  • 638
อ่านจบแล้วครับ

ขอบคุณ Fuji Syusuke ที่นำบทความดีๆ มาให้อ่านครับ

ปล. บทความนี้สอนให้รู้ว่า ...

นิสิต ... ยังติดอยู่กับการเรียนแบบมัธยมศึกษาที่มีอาจารย์ดูแลใกล้ชิด เมื่อเข้ามหาวิทยาลัย ...  ต้องศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อที่อาจารย์มอบหมายให้อ่านนอกเวลาเรียน ... ส่วนใหญ่ละเลยการเข้าห้องเรียนและการอ่านหนังสือ เมื่อรู้ตัวอีกทีว่าใกล้สอบกลางภาคก็มีเนื้อหามากมายจากทุกวิชามารออยู่ ทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน
การหัดคิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ แล้วยอมรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของตนเอง (ไม่ใช่คอยแต่จะคร่ำครวญ)
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง "ภูมิต้านทานชีวิต" เอาไว้รับมือกับความผิดหวังที่จะเข้ามาในอนาคต
เพื่อที่น้องจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง และสามารถเป็นที่พักพิงให้กับ "น้องรุ่นต่อๆ ไป" ได้

Offline kalikrik

  • *
  • 27
  • 1
บอกไม่ได้หรอกว่าเพราะระบบแอดมิดชั่นหรือเป่า
รู้แต่ว่า รุ่นหลังๆ รู้ฟิสิกส์น้อยลงจริงๆ หรือมองอีกอย่างว่าวิชาฟิสิกส์มันไม่ hot อีกต่อไป น้องๆ เลยไม่สนใจ คะแนนเลยไม่ดี

ว่าแต่คะแนนคณะแพทย์ล่ะ อยากรู้น่ะ

กกก

อย่าลืมว่า ปีหลังๆคณะแพทย์ ทันตะ เปิดรับมากขึ้น คณะวิทยา จึงได้เด็กเก่งน้อยลงรึเปล่า