ได้รับ personal message จาก moderator ให้มาตอบคำถามในกระทู้นี้ครับ
อยากสอบถามพวกพี่ๆว่าโครงการแพทย์ชนบท หรือ cpird นั้น เวลาได้ปริญญา มีเขียนกำกับว่าเปง โครงการชนบทด้วยเหรอ ยังงี้ก้อไม่ใช่ปริญญาบัณฑิตเดียวกับพวก กสพท หรือเป่า
ใบปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะระบุแต่เพียงชื่อ-นามสกุลและระบุว่าได้รับ
1. แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1)
2. แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
3. แพทยศาสตรบัณฑิต
ไม่มีการระบุว่าบัณฑิตผู้นั้นผ่านกระบวนการรับเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิธีใดอีกเรืองคือยากสอบถาม โครงการชนบทนั้น มีข้อเสียคือต่อเฉพาะทางได้ยากกว่า กสพท จิงหรือ? ขอพวกพี่ๆๆ อธิบายเกี่ยวกับการต่อเฉพาะทางด้วยครับ (อ่านจากกระทู้ที่แล้วๆ ไม่รู้เรืองครับ)
เกณฑ์การคัดเลือกแพทย์ในการเรียนต่อเฉพาะทางนั้นมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา และสถาบันที่เปิดรับฝึกอบรม
ปัจจัยที่หลายๆ สาขาวิชาและสถาบันนำมาใช้ประกอบการพิจารณา ได้แก่
- ผลการเรียนในระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต
- ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร (ได้จากใบ recommend และข้อมูลอื่นๆ ที่คณะกรรมการรวบรวมมา)
- ต้นสังกัดที่ส่งมาฝึกอบรม
- และผลการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ เป็นต้น
พี่จะบอกว่าไม่มีพี่ๆคนไหนรู้หรอกครับ
เพราะว่า CPIRD รุ่นแรกยังเรียนอยู่ปี 4 รึปี 5 หว่า ประมาณนี้แหละ
เอาเป็นว่าคนที่รู้ก็ต้องระดับสูงกว่าพี่ๆอยู่แล้ว
แต่ถ้าเป็นแพทย์ชนบทก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ CPIRD นั้น ก็รอพี่ๆเขามาตอบเหมือนกันครับ
ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลครับ
แพทย์ชนบท เริ่มขึ้นครั้งแรกโดยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์)
กับกระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลพระปกเกล้าและโรงพยาบาลชลบุรี)
เรียกว่า
MESRAP (Medical Education for Students in Rural Area Project)โครงการนี้เริ่มรับนิสิตรุ่นแรกในปี 2521 จนกระทั่งรุ่นสุดท้ายในปี 2545 (แพทย์จุฬาฯ รุ่น 58)
สำหรับ
CPIRD (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctors) นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2538
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น (คณะแพทยศาสตร์) และกระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลขอนแก่น)
ก่อนที่จะขยายความร่วมมือและมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกกว่า 30 แห่งทั่วประเทศในขณะนี้
สำหรับ CPIRD ที่จุฬาฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2540 จนถึงบัดนี้ก็รับนิสิตมา 13 รุ่นแล้ว
แต่ที่จุฬาฯจะเรียกเด็ก CPIRD ว่า NEO เพราะว่าในขณะนั้นเรามี Newtrack
ซึ่งเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโครงการความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับกองทัพอากาศ (โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช)
พอมี track ที่ใหม่กว่าอีก 1 track จึงเรียกว่า Neo (ซึ่งก็แปลว่า "ใหม่" เหมือนกัน)
สำหรับแพทย์ชนบทโครงการสุดท้ายที่เกิดขึ้น คือ
ODOD (One District One Doctor)มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่่งทุน
เริ่มรับนิสิตครั้งแรกในปี 2549 ขณะนี้รับนิสิตมาแล้ว 4 รุ่น